ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
รพ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์ คว้ารางวัลเลิศรัฐปี 63 ผลงานนวัตกรรมชุดนั่งเอกซเรย์ปรับระดับ
17 ต.ค. 2563

โรงพยาบาลหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับรางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ประเภทนวัตกรรมบริการระดับดี ประจำปี 2563 จากการพัฒนานวัตกรรมชุดนั่งเอกซเรย์ปรับระดับได้ ช่วยผู้ป่วยกลุ่มยืนเอกซเรย์ไม่ได้ เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยปวดท้องมาก ให้นั่งเอกซเรย์ได้ ภาพถ่ายรังสีตรงจุด แม่นยำ ช่วยให้การวินิจฉัยโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความเสี่ยงบุคลากรจากรังสี 
 

แพทย์หญิงพรรณประภา ยงค์ตระกูล โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า โรงพยาบาลหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับรางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ประเภทนวัตกรรมบริการระดับดี ประจำปี 2563 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ พัฒนานวัตกรรมชุดนั่งเอกซเรย์ปรับระดับ อำนวยความสะดวกผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยปวดท้องมาก ให้อยู่ในท่าที่เหมาะสมกับการเอกซเรย์ ได้ภาพถ่ายเอกซเรย์ในจุดที่ต้องการ ประกอบการวินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้น ช่วยลดโอกาสบาดเจ็บจากการเคลื่อนย้ายผิดท่า ลดความเสี่ยงบุคลากรจากรังสี เป็นไปตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ที่สนับสนุนให้โรงพยาบาลทุกระดับ คิดค้นนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วย  
แพทย์หญิงพรรณประภากล่าวต่อว่า การเอกซเรย์ช่องท้อง โดยเฉพาะช่องท้องส่วนล่าง ปกติจะต้องยืนถ่ายภาพเอกซเรย์จึงจะเห็นภาพอย่างชัดเจน แต่ผู้ป่วยบางกลุ่มที่ไม่สามารถยืนเอกซเรย์ได้ เช่น ผู้ป่วยที่ปวดท้องมาก จนไม่สามารถยืนตัวตรงได้ เช่น ผู้ป่วยสงสัยเป็นไส้ติ่งหรืออาหารเป็นพิษ ผู้ป่วยลำไส้อุดตันที่พบมากในผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียง ที่ผ่านมาต้องใช้บุคลากรห้องรังสี 3 คน ช่วยกันจัดท่าผู้ป่วยที่ต้องนั่งเอกซเรย์ แต่ภาพที่ได้ส่วนใหญ่ยังไม่ตรงจุดที่ต้องการ ส่งผลต่อการวินิจฉัยโรค โดยเฉพาะการเอกซเรย์ผู้ป่วยฉุกเฉินนอกเวลาราชการซึ่งมีบุคลากรเพียง 1 คน ก็ยิ่งประสบปัญหาในการจัดท่าผู้ป่วย จึงเป็นที่มาของการพัฒนานวัตกรรมชุดนั่งเอกซเรย์ปรับระดับได้
 

ด้านนายแพทย์อัครวัฒน์ เพียวพงภควัต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองกี่ กล่าวว่า ชุดนั่งเอกซเรย์ปรับระดับได้ทำจากสแตนเลส มีคุณสมบัติคงทน แข็งแรง รองรับน้ำหนักผู้ป่วยได้ถึง 130  กิโลกรัม โดยตัวชุดนั่งจะยกระดับสูงจากเตียง 2.5 นิ้ว มีช่องใส่แผ่นภาพรังสี ทำให้ผู้ป่วยถ่ายภาพรังสีในท่านั่ง (Upright) ได้ สามารถปรับระดับองศาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละคนได้ 4 ระดับ คือ 60 องศา 80 องศา 90 องศา และ 180 องศา รวมถึงปรับขนาดความกว้างและความสูงให้เหมาะสมกับตัวผู้ป่วยได้ ช่วยทำให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่ต้องการ โดยบุคลากรเพียงคนเดียวก็สามารถจัดท่าผู้ป่วยในการเอกซเรย์ได้ ทำให้การบริการมีคุณภาพตามมาตรฐาน สะดวก รวดเร็ว เกิดความพึงพอใจ ได้ภาพถ่ายที่มีคุณภาพช่วยประกอบการวินิจฉัยโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
 

นายแพทย์อัครวัฒน์กล่าวต่อว่า โรงพยาบาลหนองกี่มีผู้ป่วยเข้ารับบริการเอกซเรย์วันละ 45-50 ราย เป็นผู้ป่วยต้องอยู่ในท่านั่งเอกซเรย์ประมาณ 5 ราย ภาพรวมตลอดปีมีผู้เข้ารับบริการถ่ายภาพรังสีจำนวน 10,174 ราย ใช้ชุดนั่งเอกซเรย์ปรับระดับได้จำนวน 722 ราย แบ่งเป็น การถ่ายภาพเอกซเรย์ปอด 454 ราย และเอกซเรย์หน้าท้อง 268 ราย ผลการดำเนินงานถ่ายภาพรังสีได้ตรงจุดทุกครั้ง ใช้เวลาเอกซเรย์ลดลงเฉลี่ยรายละ 3 นาที ขณะนี้ได้จดสิทธิบัตรแล้ว อยู่ระหว่างการผลิตเพิ่มอีก 5 ตัว เพื่อสนับสนุนงานรังสีโรงพยาบาลโนนสุวรรณ โรงพยาบาลนางรอง และโรงพยาบาลหนองหง แห่งละ 1 ตัว และให้บริการในชุมชนอีก 2 ตัว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...