ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
ก.ศึกษาทบทวนหลักสูตรลูกเสือ -โครงการหลวง-ประวัติศาสตร์ใหม่
04 พ.ย. 2563

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ กระทรวงศึกษาธิการ (อพ.ศธ.) ว่า ตนพบว่าที่ผ่านมาเรามีเรื่องที่ดี และสำคัญ หรือเรื่องที่ดีในปัจจุบัน เช่น เรื่องลูกเสือ โครงการตามพระราชดำริฯ ที่มีนับพันโครงการ และประวัติศาสตร์ เป็นต้น ไม่ได้ถูกนำมาขับเคลื่อนเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับเด็กและเยาวชน ซึ่งเรื่องเหล่านี้มีความจำเป็นที่ต้องถูกนำมาบรูณาการให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน อย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่ปัจจุบันยังให้อาจารย์พูดและเด็กจดและจำ ถือเป็นการบูรณาการการเรียนการสอนร่วมกันในหลายเรื่อง ตนมอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปคิดแนวทางต่างๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลมาจัดทำหลักสูตร และจัดรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ เช่น ประวัติศาสตร์ เด็กคงไม่อยากจำอย่างเดียวว่าปีไหนเกิดอะไรขึ้น แต่อยากเข้าใจถึงความสำคัญ ที่มาที่ไป และผลลัพธ์ของเหตุการณ์นั้นได้ส่งผลกระทบอะไรในทางบวกและลบกับประเทศบ้าง ตนคิดว่าเราต้องนำเอาความจริงมาขยายผล และทำความเข้าใจกับอดีตของเราเอง การที่รู้คุณแผ่นดิน มีระเบียบวินัย เป็นคนดีของสังคม เรื่องเหล่านี้ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญมาก ส่วนหลักสูตรก็มีความจำเป็นที่ต้องปรับเพื่อให้ทันต่อโลก ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ต่อต้องเรียนควบคู่กับการสร้างให้เด็กมีคุณธรรมและเป็นคนดีด้วย

“ส่วนการเรียนการสอนรูปแบบใหม่จะเป็นอย่างไรนั้น ผมมอบหมายให้คณะทำงานไปศึกษารูปแบบการเรียนการสอน โดยจะแยกศาสตร์ในเรื่องของวิชาต่างๆ ควรนำเสนอในรูปแบบไหน และมาตรฐานควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งต้องให้ทีมงานตกผลึกก่อน เพราะถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในการพลิกประวัติศาสตร์การศึกษาไทย เพื่อทำให้เด็กมีความสนุกสนานในการเรียน ในขณะเดียวกันก็มีความเข้าใจในหลักสูตรที่เรียน ซึ่งมีหลักสูตรอยู่แล้ว แต่รูปแบบการนำเสนอต้องปรับเปลี่ยน เช่น โครงการพระราชดำริฯ เรื่องแก้มลิง มีเด็กที่ได้เห็นโครงการนี้จริงมีจำนวนเท่าไหร่ จะปรับการสอนโดยให้นักเรียนไปทัศนศึกษา เป็นต้น”นายณัฏฐพล กล่าว

นายณัฏฐพล กล่าวต่อว่า ส่วนประวัติศาสตร์ที่เราพูดถึง ก็ต้องทำความเข้าใจกันอย่างชัดเจน หากอยากให้เด็กซึมซับเรื่องประวัติศาสตร์ ควรทำความเข้าใจถึงเหตุผลในวันสำคัญนั้นๆ ว่ามีความสำคัญมากกว่าอย่างไน วิชาประวัติศาสตร์มีอยู่ในหลักสูตรในการเรียนสอนอยู่แล้ว แต่ต้องยอมรับว่ามีบางเรื่องที่อาจจะไม่ได้รับความสนใจหรือไม่ถือเป็นประวัติศาสตร์ เช่น โครงการตามพระราชดำริฯ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ควรจะอยู่ในหลักสูตรประวัติศาสตร์ เพราะโครงการตามพระราชดำริฯ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ถือเป็นเป็นพื้นฐานในความสำเร็จของประเทศ ส่วนการนำเสนอโครงการพระราชดำริฯ จะอยู่ในส่วนไหนของวิชาสังคมศาสตร์นั้น ทางคณะทำงานจะทำเรื่องนี้ให้มีความชัดเจนมากขึ้น

“แต่อย่างไรก็ตามต้องมีการปรับเปลี่ยนในเรื่องของการนำเสนอข้อมูลแน่นอน เพราะผมคิดว่าปัจจุบันเด็กยังได้รับข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน เราต้องทำให้เด็กได้รับข้อมูลครบทุกด้าน เพื่อให้มีความเข้าใจและรักษาไว้ซึ่งความเป็นไทย ส่วนนักเรียนจะรับหรือไม่รับ ก็ไม่เป็นไร ถือเป็นสิทธิของนักเรียน แต่ ศธ.ขอโอกาสที่จะนำเสนอข้อมูลต่างๆให้ครบทุกด้าน”

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...