ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
นักศึกษา วชช.ยะลา เรียนรู้การปลูกข้าววิถีไทย กลางสายฝน
08 พ.ย. 2563

นายอัมราน เลาะหะมะ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาเทคโนโลยีการเกษตร วชช.ยะลา บอกว่า กิจกรรมการเรียนรู้การดำนาเกิดจากการที่ตนเองเป็นนักศึกษารุ่นพี่ ปี 3 ได้ไปฝึกงานการทำนามา ก็อยากจะถ่ายทอดให้กับรุ่นน้อง และได้ไปพูดคุยกับอาจารย์ จนเกิดกิจกรรมในการดำนา และถอนกล้าขึ้น เพื่อเป็นการปลูกฝังให้เพื่อนๆ ได้รู้สึกเกี่ยวกับชาวนาว่าจะต้องเหนื่อยขนาดไหน กว่าจะได้ข้าวแต่ละเมล็ดมา หากกินไม่หมดชาวนาจะรู้สึกอย่างไร ส่วนข้าวที่นำมาปลูกจะเป็นข้าวพื้นเมืองในพื้นที่บ้านบุดี เลือดปลาไหล หอมมือลอ โดยใช้ที่นาของตนเองเป็นแปลงสาธิตในการศึกษาเรียนรู้  ซึ่งตนเองก็ทำนาด้วย ปัจจุบันก็ได้เข้ากลุ่มนาแปลงใหญ่กับ หมู่ 8 บ้านบุดี หลังเก็บเกี่ยวข้าวก็จะปลูกข้าวโพด แตงโมด้วย

สำหรับช่วงนี้เป็นการทำนาปีของจังหวัดยะลา เนื่องจากที่นี่จะไม่มีชลประทาน ใช้น้ำฝนอย่างเดียว ส่วนข้าวที่ปักดำในครั้งนี้ก็จะได้เก็บเกี่ยวประมาณเดือนเมษายนในปีหน้า

 อาจารย์วรัญญู แก้วทอง หัวหน้าสาขาเทคโนโลยีการเกษตร วชช.ยะลา บอกว่า กิจกรรมการทำนา เป็นกิจกรรมในรายวิชาพันธุ์และการขยายพันธุ์พืช ซึ่งได้นำนักศึกษาเทคโนโลยีการเกษตรมาเรียนรู้การทำนา เพื่ออนุรักษ์วิถีการทำนา ภูมิปัญญาพื้นบ้านทั้งในเรื่องการไถนา ไถดะ ไถแปร ไถคราด รวมถึง ลองปักดำ ทำนาข้าว แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน  โดยใช้ข้าวพันธุ์พื้นเมือง 2  ชนิด คือ เลือดปลาไหล และหอมมือลอ ซึ่งเป็นข้าวประจำถิ่นของ จ.ยะลา ส่วนหลักการวิชา ก็ได้น้อมนำศาสตร์พระราชา ของในหลวง รัชกาลที่ 9 ในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำมาปลูกฝังเด็กๆ ทั้งความสามัคคี ความรับผิดชอบ การทำงานเป็นกลุ่มเป็นหมู่คณะ การรู้รักสามัคคี

ทั้งนี้ ต้องขอบคุณนักศึกษาชั้นปี 3 ที่ได้อนุเคราะห์แปลงนา พันธุ์ข้าวให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มาปักดำนา ในครั้งนี้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...