คำว่า “บางพลี” เป็นชื่ออำเภอ ในจังหวัดสมุทรปราการ มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เป็น 2 นัย คือ เมื่อ พ.ศ. 2041ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 \ได้โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองสำโรงขึ้นและได้พบเทวรูปสำริด 2 องค์ ที่คลองทับนาง มีจารึกชื่อว่า “พญาแสนตา” กับ “บาทสังขรณ์” พระองค์จึงได้จัดทำพิธีบวงสรวงเทวรูปนั้น โดยสถานที่ที่ทำพิธีบวงสรวงเรียกว่า “บัตรพลี” นานๆ เข้าจึงเพี้ยนเป็น “บางพลี”
ส่วนข้อสันนิษฐานอีกประเด็นหนึ่งคือ กล่าวกันว่า เมื่อ พ.ศ. 2136 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ยกทัพขับไล่ข้าศึกมาทางทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยามาถึงยังตำบลหนึ่งซึ่งไม่ปรากฎนาม ณ ที่แห่งนั้น พระองค์สั่งให้หยุดทัพพักไพร่พลและในช่วงเวลาพักนั้น พระองค์ได้ประหารฃีวิตทหารคนหนึ่งที่คิดคดทรยศต่อพระองค์ ได้จัดทำพิธีบวงสรวง ปลูกสร้างศาลเพียงตา พร้อมทั้งเครื่องเซ่นสังเวยประดามี และทรงตั้งจิตอธิษฐานต่อเทวาอารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายว่า ถ้าพระองค์มีบุญญาธิการสามารถปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินให้มีความสุขร่มเย็นแล้ว ขอให้พระองค์มีชัยชนะแก่อริราชศัตรูทั้งมวล แล้วจึงได้ประหารชีวิติทหารผู้นั้น ส่วนการศึกสงครามในครั้งนั้น พระองค์ก็ประสพชัยชนะอย่างเด็ดขาด สถานที่ที่พระองค์กระทำพิธีกรรมบวงสรวงนั้น ชาวบ้านจึงเรียกว่า “บางพลี”
ชุมชนบ้านบางพลี ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ถือเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากมาย ชุมชนแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตผู้คนที่ใช้ชีวิตกันแบบเรียบง่าย และยังมีตลาดน้ำบางพลี ตลาดเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า 150 ปี ที่ยังคงรักษาสภาพดั้งเดิมไว้ได้ โดยมีพื้นตลาดเป็นพื้นไม้ สามารถเดินติดต่อกันได้ยาวประมาณ 500 เมตร หลังคามุงกระเบื้องรูปว่าว สะท้อนความสวยงาม และความรุ่งเรืองในอดีต ตลาดน้ำบางพลีแห่งนี้ ยังมีของอร่อยและหากินยาก ไม่ว่าจะเป็นปลาสลิด บางพลี ขนมกระยาสารท ขนมชั้นดอกไม้ที่มีเนื้อเนียน นุ่มบอกได้คำเดียวว่าอร่อยสุดๆ นอกจากนี้ ยังมีเรือให้เที่ยวชมคลองสำโรง ที่จะพาไปสัมผัสวิถีชีวิตสองฝั่งคลองของชาวบ้านบางพลี
สำหรับแหล่งท่องเที่ยวที่ประวัติศาสตร์ยาวนานอย่าง “ตลาดน้ำโบราณบางพลี” เป็นตลาดริมน้ำเก่าแก่อายุกว่า 140 ปี ตั้งอยู่ริมคลองสำโรง พื้นตลาดเป็นพื้นไม้ สามารถเดินติดต่อกันได้ มีความยาวกว่า 500 เมตร เดิมชื่อตลาด “ศิริโสภณ” สันนิษฐานว่า ชาวจีนเข้ามาเปิดร้านในตลาดนี้ราว พ.ศ. 2400 ตลาดนี้จึงน่าจะมีอายุประมาณ 149 ปี เป็นตลาดโบราณริมคลองสำโรงเพียงแห่งเดียวที่รอดพ้นจากไฟไหม้ และยังคงสภาพเดิมเหมือนแรกสร้าง ตลาดน้ำโบราณบางพลีเป็นชุมชนใหญ่ชุมชนหนึ่ง และมีความรุ่งเรืองมากในอดีต เป็นตลาดขนส่งสินค้าและผู้โดยสารจากภาคตะวันออกชายฝั่งทะเลสู่กรุงเทพมหานคร การเดินทางในสมัยก่อนใช้เรือเป็นพาหนะเดินทาง
ปัจจุบันตลาดโบราณบางพลียังคงค้าขายเหมือนในอดีต และถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้าน มาจนถึงปัจจุบัน เช่น ร้านขายขนมหวานไทย ร้านขายยาสมุนไพร ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านตัดผม ร้าน ตัดเสื้อ ร้านขายของที่ระลึกต่างๆ อีกทั้งชุมชนแห่งนี้ยังมีการผสมผสานกันระหว่างคนหลายเชื้อชาติ ทั้ง ไทย มอญ ลาว และจีน การนับถือศาสนาส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาส่วนใหญ่ทำที่วัด ส่วนชาวไทยเชื้อสายจีนจะประกอบพิธีกรรมที่ศาลเจ้าพ่อบางพลี และอีกส่วนหนึ่งยังคงมีความเชื่อในการทรงเจ้าเข้าผี การดูหมอทำนายดวง เป็นต้น ตลาดน้ำบางพลีถือเป็นตลาดน้ำประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งซึ่งมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีวัฒนธรรม ที่ดีงามสั่งสมอยู่มากมาย สมควรอนุรักษ์ฟื้นฟูให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาและหวงแหนวัฒนธรรมเก่าแก่ของบรรพบุรุษสืบต่อไป
ตลาดโบราณบางพลี เป็นตลาดโบราณริมคลองสำโรงเพียงแห่งเดียวที่รอดพ้นจากไฟไหม้ และยังคงสภาพเดิมเหมือนแรกสร้าง อีกทั้งยังเป็นชุมชนใหญ่และมีความรุ่งเรืองมากในอดีต เพราะเป็นตลาดขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร จากภาคตะวันออกชายฝั่งทะเลสู่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากการเดินทางในสมัยก่อนใช้เรือเป็นพาหนะเดินทาง โดยการเดินทางมาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจะอยู่ในคลองสำโรง จึงถือเป็นตลาดน้ำประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง ที่มีวิถีชีวิตเรียบง่าย มีวัฒนธรรมที่ดีงามสั่งสมอยู่มากมาย สมควรอนุรักษ์ฟื้นฟูให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษา และหวงแหนวัฒนธรรมเก่าแก่ของบรรพบุรุษสืบต่อไป
อีกจุดเด่นสำคัญของตลาดแห่งนี้คือ ตลาดขนส่งสินค้าและผู้โดยสารจากภาคตะวันออกชายฝั่งทะเลสู่กรุงเทพมหานคร ตลาดริมน้ำโบราณบางพลีเป็นชุมชนใหญ่ชุมชนหนึ่งและมีความรุ่งเรืองมากในอดีต การเดินทางในสมัยก่อน ใช้เรือเป็นพาหนะเดินทาง โดยการแจว พาย และแล่นใบ เดินทางมาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจะอยู่ในคลองสำโรง ตลาดน้ำบางพลีถือเป็นตลาดน้ำประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งที่สมควรอนุรักษ์ฟื้นฟูให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาและหวงแหนวัฒนธรรมเก่าแก่ของบรรพบุรุษสืบต่อไป
ระยะทางเกือบหนึ่งกิโลเมตร ตลอดแนว 2 ฝั่งทางเดินที่ขนานไปกับคลองสำโรงของตลาดน้ำโบราณบางพลี ถูกจับจองจากแม่ค้าพ่อค้าที่อาศัยอยู่มาแต่ดั้งเดิมจำหน่ายสินค้านานาชนิด ทั้งอาหารอร่อย ขนมหวาน ของใช้นานาชนิด ของตกแต่งบ้านเรือน ของฝาก ร้านเสริมสวย ร้านขายเสื้อผ้า ร้านขายสัตว์เลี้ยง ฯลฯ อิ่มตาด้วยทิวทัศน์ของคลองสำโรง ที่ประดับประดาไปด้วยเรือขายอาหาร ขนม ผลไม้ตามฤดูกาลของชาวบางพลีที่พายไปมา และเรือที่ชาวบ้านยังใช้สัญจรไปมาในชีวิตประจำวัน เดินเท้ามาถึงกลางตลาด ชาวชุมชนได้จัดเป็นนิทรรศการ “ภาพเก่าเล่าเรื่อง” จัดแสดงภาพถ่ายสมัยเก่าเมื่อเริ่มแรกตั้งตลาด และเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพการประมงและการเกษตร อุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาจัดในนิทรรศการได้รับบริจาคมาจากคนเก่าคนแก่ที่อยู่ในเหตุการณ์เมื่อครั้งอดีตและได้เก็บรักษาเป็นอย่างดี
วัดบางพลีใหญ่กลาง ตั้งอยู่บริเวณคลองสำโรงฝั่งเหนือ ตำบลบางพลีใหญ่ ห่างจากวัดบางพลีใหญ่เล็กน้อย สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2367 ชาวบ้านละแวกบางพลี เรียกว่า วัดกลาง คงเป็นเพราะตั้งอยู่ท่ามกลางระหว่างวัดบางพลีใหญ่ในกับวัดคงคาราม (วัดยายหนู) ซึ่งเป็นวัดร้างไปแล้ว เดิมที่ตั้งวัดเป็นที่ดินของนายช้าง หมื่นราษฎร์ โดยนายน้อย หมื่นราษฎร์ พี่ชายเป็นผู้สร้างขึ้น และได้ขนานนามวัดว่า "วัดน้อยปทุมคงคา" เพราะได้ขุดสระปลูกบัวหลวงไว้ด้วย ต่อมาเปลี่ยนนามวัดใหม่ว่า "วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม" และครั้งสุดท้ายเปลี่ยนเป็น "วัดบางพลีใหญ่กลาง" โดยมิปรากฏแน่ชัดว่าเปลี่ยนในสมัยเจ้าอาวาสรูปใด
วัดดบางพลีใหญ่กลางได้รับพระราชทานวิสุคามสีมา เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 เขตวิสุคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ในด้านการศึกษาทางวัดจัดให้มีการเรียนพระปริยัติธรรมตลอดมา นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนการศึกษาของชาติโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ ให้ที่วัดสร้างโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ด้วยเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2555) ทั้งหมด 8 รูป
วัดบางพลีใหญ่กลางเป็นที่ประดิษฐานสมเด็จพระศากยมุณีศรีสุเมธบพิตร พระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ยาวประมาณ 53 เมตร แล้วสร้างพระวิหารคลุมทีหลัง ความสูงของวิหารเท่าอาคาร 4 ชั้น ภายในองค์พระใหญ่พอที่จะแบ่งให้มีห้องปฏิบัติธรรม เสาและผนัง มีภาพเขียนเรื่องราวของเทวดา นรก สวรรค์ คติธรรม จำนวนมากมาย กว่า 100 รูป และมีห้องหัวใจพระซึ่งประชาชนนิยมมาปิดทองเพื่อเป็นศิริมงคล
ทั้งนี้ยั งมีอีกหนึ่งสถานที่สำคัญอย่าง วัดบางพลีใหญ่ใน วัดเก่าแก่ที่อยู่คู่กับชุมชนบางพลีมาอย่างยาวนาน ถือเป็นการท่องเที่ยวที่อิ่มทั้งบุญอิ่มทั้งใจ
สนใจโทรเบอร์ 08 9792 5280 ส่วนการเดินทาง วิ่งเส้นถนนบางนา-ตราด วิ่งเข้าถนนกิ่งแก้ว-บางพลี พอถึงบางพลีก็เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเทพารักษ์ จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าวัดบางพลีใหญ่