ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
กฟผ. ลุยโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริดแห่งแรกในประเทศไทย เตรียมพร้อมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดกลางปี 64
16 พ.ย. 2563

กฟผ. ลุยโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริดเขื่อนสิรินธร เตรียมจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์กลางปี 2564 พร้อมเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดอุบลราชธานี

นายฉัตรชัย มาวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำและพลังงานหมุนเวียน (อพพ.) เปิดเผยว่า ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018) กฟผ. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ หรือ Hydro-floating Solar Hybrid Project ตามเขื่อนต่างๆ ของ กฟผ. กำลังผลิตรวม 2,725 เมกะวัตต์ โดยนำร่องโครงการแรก ณ เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี มีขนาดกำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ โดยขณะนี้ โครงการฯ อยู่ในขั้นตอนของการติดตั้งระบบยึดโยงทุ่นลอยน้ำกับแท่นคอนกรีตบริเวณพื้นท้องน้ำ และดำเนินการประกอบแผงโซลาร์เซลล์บนทุ่นลอยน้ำเพื่อเตรียมนำไปติดตั้งกับระบบยึดโยง ซึ่งคาดว่า จะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำของชุดแรกแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2563 จากทั้งหมด 7 ชุด และกำลังดำเนินการก่อสร้างฐานรากของอาคารสวิตช์เกียร์ (Switchgear) โดยโครงการฯ มีความก้าวหน้างานในภาพรวมอยู่ที่ร้อยละ 66 มีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date: COD) ประมาณกลางปี 2564 นอกจากนี้ โครงการฯ ยังมีการก่อสร้างเส้นทางเดินธรรมชาติ (Natural Walkway) ความยาวกว่า 415 เมตร เพื่อเป็นเส้นทางสำหรับเดินชมแผงโซลาร์เซลล์ลอยน้ำและเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดอุบลราชธานี

DSC 2394  DSC 2453 

สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร (Hydro-Floating Solar Hybrid) ถือเป็นโครงการโซลาร์เซลล์ทุ่นลอยน้ำแบบไฮบริดขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่บนพื้นที่ผิวน้ำของเขื่อนสิรินธร อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี โดยผลิตไฟฟ้าผสมผสานระหว่าง “พลังงานแสงอาทิตย์” และ “พลังน้ำ” จากเขื่อนสิรินธร ซึ่งโซลาร์เซลล์จะผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางวัน และนำพลังน้ำ ผลิตไฟฟ้าเสริมในช่วงเวลากลางคืนหรือในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้ามาก ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งพัฒนาระบบควบคุมและบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System: EMS) เพื่อนำมาควบคุมการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าทั้งสองชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความไม่แน่นอนของพลังงานหมุนเวียนที่มักขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ

DSC 2485  เขอนสรนธร 

โครงการฯ ยังให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม โดยเลือกใช้วัสดุของแผงโซลาร์เซลล์ชนิดดับเบิลกลาส (Double Glass) ซึ่งเหมาะกับการติดตั้งบนผิวน้ำ เป็นแผ่นกระจกทั้งด้านบนและด้านล่าง สามารถทนต่อความชื้นสูงได้ดี ทำให้ไม่มีสิ่งปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ จึงปลอดภัยต่อการใช้งาน มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าสูง นอกจากนี้ ทุ่นลอยน้ำยังใช้วัสดุชนิด HDPE (High Density Polyethylene) ซึ่งเป็นวัสดุชนิดเดียวกับ ท่อส่งน้ำประปา สามารถทนต่อการกัดกร่อนของแสงอัลตร้าไวโอเลต (UV) จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสัตว์น้ำ ที่สำคัญ โครงการยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนได้ประมาณ 47,000 ตัน/ปี โดยมีขอบเขตพื้นที่โครงการประมาณ 760 ไร่ ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และอุปกรณ์ต่างๆ บนพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 450 ไร่ คิดเป็นสัดส่วนพื้นที่ผิวน้ำไม่ถึงร้อยละ 1 ของพื้นที่อ่างเก็บน้ำทั้งหมด

S 25804899   

 natural walkway2 

"กฟผ. เตรียมเปิดโครงการฯ เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดอุบลราชธานี โดยก่อสร้าง เส้นทางเดินชมธรรมชาติ (Natural Walkway) ความยาวกว่า 415 เมตร และอาคารต้อนรับนักท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นและเศรษฐกิจของจังหวัดในภาพรวม รวมทั้งจะเป็นแหล่งเรียนรู้ และศึกษาดูงานด้านพลังงานหมุนเวียนแบบไฮบริดให้กับนักเรียน นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไปทั้งจาก ในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย" อพพ. กล่าวในที่สุด

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...