ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน และร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยเกษตรและสหกรณ์ให้กำลังใจและมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ จำนวน 500 ชุด โดยมีนายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และหัวหน้าส่วนราชการ ให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวกในการลงพื้นที่ นอกจากนี้ ยังได้เยี่ยมชมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 22 นครศรีธรรมราช จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยน้ำท่วมอีกด้วย
สำหรับ อ.ปากพนัง เป็นพื้นที่รองรับน้ำจากตัวจังหวัดชั้นในก่อนไหลออกสู่แม่น้ำปากพนังและระบายออกสู่อ่าวไทย พบอุปสรรคในการระบายน้ำเนื่องจากมีน้ำทะเลหนุนสูงเป็นระยะ อย่างไรก็ตาม ทางจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และจัดเป็นศูนย์พักพิงชั่วคราวให้แก่ประชาชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมบ้านเรือนที่ขาดที่พักอาศัยชั่วคราว
หลังจากนั้น รมช.แรงงาน และ รมช.เกษตรฯ ได้เดินทางพบปะกลุ่มเกษตรที่ประสบภัยน้ำท่วม ณ ที่ว่าการอำเภอกาญจนดิษฐ์ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด (นายวิชวุทย์ จินโต) และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้การต้อนรับ พร้อมมอบถุงยังชีพแก่ผู้สบภัยอีก 500 ชุด เสร็จแล้วเดินทางต่อไปยัง ชุมชนคลองไทรพัฒนาและชุมชนเพิ่มทรัพย์ ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อเยี่ยมชมการบริหารจัดการพื้นที่ของชุมชน โดย รมช.เกษตรฯ ได้มอบนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ ส.ป.ก.ของชุมชนทั้ง 2 แห่ง ด้าน รมช.แรงงาน ได้กล่าวถึงการบูรณาการร่วมกันของกระทรวงแรงงานและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีแนวทางการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือ ต้องการแก้ปัญหาให้แรงงานหลุดพ้นจากความยากจน มีความรู้ไปประกอบอาชีพและไม่เป็นหนี้
รมช.แรงงาน กล่าวต่อว่า ในกรณีที่แรงงานภาคเกษตรมีความต้องการหาความรู้เพิ่มเติม หรือต่อยอดด้านอาชีพ สามารถติดต่อหน่วยงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ได้ ซึ่งมีหลายหลักสูตรที่เป็นด้านเทคโนโลยีและช่างฝีมือ รวมถึงงานศิลปะหัตกรรมที่สามารถต่อยอดองค์ความรู้ให้แก่แรงงานภาคการเกษตรได้ เช่น การขายสินค้าเกษตรผ่านออนไลน์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า สำหรับด้านช่างฝีมือที่สามารถนำไปประกอบอาชีพส่วนตัวช่วงว่างจากฤดูกาล เช่น ช่างไฟฟ้า ช่างเครื่องปรับอากาศ ช่างซ่อมเครื่องยนต์เล็กเพื่อการเกษตร เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายด้านแหล่งเงินทุน อาทิ ธนาคารออมสินที่จับมือกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ซึ่งทำหน้าที่ค้ำประกันการกู้ยืมอีกด้วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำทีมคณะเจ้าหน้าที่มอบถุงยังชีพกว่า 1,000 ชุด ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช และ จ.สุราษฎร์ธานี พร้อมรับฟังปัญหาและความต้องการความช่วยเหลือหลังน้ำลด โดยเดินทางไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว ต.หูล่อง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 22 นครศรีธรรมราช จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยน้ำท่วมอีกด้วย
สำหรับ อ.ปากพนัง เป็นพื้นที่รองรับน้ำจากตัวจังหวัดชั้นในก่อนไหลออกสู่แม่น้ำปากพนังและระบายออกสู่อ่าวไทย พบอุปสรรคในการระบายน้ำเนื่องจากมีน้ำทะเลหนุนสูงเป็นระยะ อย่างไรก็ตาม ทางจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และจัดเป็นศูนย์พักพิงชั่วคราวให้แก่ประชาชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมบ้านเรือนที่ขาดที่พักอาศัยชั่วคราว
หลังจากนั้น รมช.แรงงาน และ รมช.เกษตรฯ ได้เดินทางพบปะกลุ่มเกษตรที่ประสบภัยน้ำท่วม ณ ที่ว่าการอำเภอกาญจนดิษฐ์ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด (นายวิชวุทย์ จินโต) และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้การต้อนรับ พร้อมมอบถุงยังชีพแก่ผู้สบภัยอีก 500 ชุด เสร็จแล้วเดินทางต่อไปยัง ชุมชนคลองไทรพัฒนาและชุมชนเพิ่มทรัพย์ ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อเยี่ยมชมการบริหารจัดการพื้นที่ของชุมชน โดย รมช.เกษตรฯ ได้มอบนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ ส.ป.ก.ของชุมชนทั้ง 2 แห่ง ด้าน รมช.แรงงาน ได้กล่าวถึงการบูรณาการร่วมกันของกระทรวงแรงงานและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีแนวทางการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือ ต้องการแก้ปัญหาให้แรงงานหลุดพ้นจากความยากจน มีความรู้ไปประกอบอาชีพและไม่เป็นหนี้
รมช.แรงงาน กล่าวต่อว่า ในกรณีที่แรงงานภาคเกษตรมีความต้องการหาความรู้เพิ่มเติม หรือต่อยอดด้านอาชีพ สามารถติดต่อหน่วยงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ได้ ซึ่งมีหลายหลักสูตรที่เป็นด้านเทคโนโลยีและช่างฝีมือ รวมถึงงานศิลปะหัตกรรมที่สามารถต่อยอดองค์ความรู้ให้แก่แรงงานภาคการเกษตรได้ เช่น การขายสินค้าเกษตรผ่านออนไลน์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า สำหรับด้านช่างฝีมือที่สามารถนำไปประกอบอาชีพส่วนตัวช่วงว่างจากฤดูกาล เช่น ช่างไฟฟ้า ช่างเครื่องปรับอากาศ ช่างซ่อมเครื่องยนต์เล็กเพื่อการเกษตร เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายด้านแหล่งเงินทุน อาทิ ธนาคารออมสินที่จับมือกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ซึ่งทำหน้าที่ค้ำประกันการกู้ยืมอีกด้วย