ประธานรัฐสภา เป็นประธานในการมอบรางวัล Anti-Corruption Award ประจำปี 2020 แก่ องค์กรและบุคคลที่ ได้รับการเสนอชื่อ และคัดเลือกให้เป็นองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ และประเภทบุคคล ที่จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวต่อต้านคอร์รัปชั่น ( ประเทศไทย )
นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล Anti-Corruption Award 2020 ส่งเสริมการต่อต้านคอร์รัปชั่นประจำปี 2563 ที่จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น ( ประเทศไทย ) ร่วมกับ บริษัทซีพี ออลล์ จํากัด ( มหาชน ) ณ โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพมหานคร
โดยนายมานิจ สุขสมจิตร ประธานคณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัล ได้กล่าวว่าสื่อมวลชนโดยเฉพาะสมาคมผู้สื่อข่าวต้าน คอร์รัปชั่น ( แห่งประเทศไทย ) ตระหนักถึงความสำคัญในการต้านคอร์รัปชั่นในทุกประเทศโดยเฉพาะในวงการสื่อสารมวลชน จึงเกิดแนวคิดในการจัดตั้งรางวัลดังกล่าว เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจต่อสื่อมวลชนและองค์กรต่างๆที่ร่วมใจการต่อต้านคอรัปชั่นอย่างเข้มงวด และ ที่ผ่านมาจากข้อมูลของ ป.ป.ช.พบว่า เน้นการต่อต้านคอร์รัปชันประเทศไทยยังถือว่าอยู่ในขั้นวิกฤตและยังคงพบการต่อต้านในหลายประเภท จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศไทยจะต้องหันมาต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นในทุกประเภทให้เข้มงวดกว่าเดิมเพื่อไม่ให้ประเทศไทยตกอยู่ในวิกฤตดังที่ผ่านมา
จากนั้นนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ได้ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ การเมืองสุจริต ทางรอบประเทศไทย ว่าการต่อต้านคอร์รัปชั่นของประเทศไทยเป็นตัวเลขที่สูงเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นตัวเลขที่สวนทางกับการที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการต่อต้านโรคระบาดโควิด-19
โดยการทุจริตเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานจนมาถึงปัจจุบัน และรัฐธรรมนูญที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไขในครั้งนี้ พยายามที่จะปรับปรุงแก้ไขให้ลดการทุจริต
ในทุกด้าน และทุกมาตรา
โดยประธานรัฐสภา กล่าวว่าแหล่งกำเนิดของการทุจริตที่พบเห็นเป็นส่วนมากในประเทศไทยคือหลักของความเกรงใจ ดังนั้นการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลทั้ง 6 ข้อแล้วส่วนตัวเห็นว่าควรเพิ่มหลักที่ 7 คือหลักความไม่เกรงใจ เพื่อลดทอนให้การทุจริตคอรัปชั่นลดลง
ขณะเดียวกันการป้องกันและปราบปรามการทุจริตนั้น นอกเหนือจากระเบียบและหลักการสำคัญต่างๆสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการลงมือปฏิบัติ จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งโครงการ การเมืองสุจริตขึ้นโดยมีมหาวิทยาลัยทั่วประเทศร่วมเป็นเครือข่ายในการบรรจุหลักสูตรการเมืองทุจริต ลงสู่บทเรียนเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้และตระหนักถึงการทุจริตคอรัปชั่น และเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนเติบโตมาด้วยความสุจริต
ทั้งนี้รางวัล Anti-Corruption Award ในปี 2020 ประกอบด้วย 4 ประเภท คือประเภทบุคคลจำนวน 4 รางวัล / ประเภทองค์กรจำนวน 4 รางวัล / ประเภทสื่อสารมวลชนจำนวน 4 รางวัล / และประเภทบุคคลเกียรติยศแห่งปีจำนวน 1 รางวัล / โดยในปี 2020 มีเพียงผู้ที่ผ่านการคัดเลือกได้รับรางวัล เพียง 4 รางวัล จาก 13 รางวัล เนื่องจากไม่มีองค์กรที่ผ่านการคัดเลือกในประเภทรางวัลดังกล่าว
โดยองค์กรที่ผ่านการคัดเลือกและได้รับรางวัล Anti-Corruption Award ในปี 2020 ประกอบด้วย รางวัลบุคคลส่งเสริมการต่อต้านคอร์รัปชัน ประเภทบุคคลทั่วไป ได้แก่ นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ / รางวัลประเภทองค์กรส่งเสริมการต่อต้านคอร์รัปชั่น ในสาขารัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ ประเภทสาขาภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ สาขาภาคเอกชน ได้แก่ มูลนิธิต่อต้านการทุจริต และ สาขาสื่อสารมวลชน องค์กรสื่อสารมวลชนที่ได้รับรางวัลได้แก่ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์