+ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ มีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่
+ แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มลดลง
+ ปริมาณน้ำใช้การ แหล่งน้ำทุกขนาด 23,033 ล้าน ลบ.ม. (40%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 17,376 ล้าน ลบ.ม. (36%) เฝ้าระวังน้ำน้อย จำนวน 12 แห่ง
+ คุณภาพน้ำ ณ จุดเฝ้าระวังน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี ค่าความเค็ม สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนน้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง ค่าความเค็ม อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
+ กอนช. ติดตามมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำฤดูแล้งปี 2563/64 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พ.ย.63 ทั้งนี้หน่วยงานได้มีการดำเนินการดังนี้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดปฏิบัติการฝนหลวงสู้ภัยแล้ง ประจำปี 2564 มอบหมายให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร โดยประกอบด้วย ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำ 5 ภูมิภาค จำนวน 7 ศูนย์ เร่งปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้แก่เกษตรกรและผู้ใช้น้ำทั่วทั้งประเทศรวมถึงเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ให้เร็วกว่าเดิมโดยเริ่มปฏิบัติการเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 จากปกติที่เริ่มปฏิบัติการในวันที่ 1 มีนาคมของทุกปี
กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการสั่งการทุกจังหวัดเตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2563/64 ดังนี้
- ติดตามสถานการณ์ บริหารจัดการน้ำและการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำภายใต้แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- สำรวจพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในระดับหมู่บ้านชุมชน เพื่อวางแผนบูรณาการและแก้ไขปัญหา
- จัดทำแผนเผชิญเหตุภัยแล้งของจังหวัดให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ
- ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกันควบคุมการจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรให้เป็น ไปตามแผน พร้อมกำหนดมาตรการรองรับในพื้นที่
- เฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้มีการปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำ คู คลอง หรือแหล่งน้ำต่าง ๆ
- ให้ฝ่ายปกครองร่วมกับฝ่ายทหารในพื้นที่ สร้างการรับรู้ถึงสถานการณ์น้ำและกำหนดมาตรการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน