ปากเสียงของ
คนท้องถิ่น
เพื่อการพัฒนาประเทศ
วันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2568
หน้าแรก
อปท. นิวส์
เกี่ยวกับอปท. นิวส์
โปรไฟล์ผู้บริหาร
ข่าวสาร
ข่าวเด่น / ไฮไลท์
ความสัมพันธ์ไทย - จีน และ เศรษฐกิจเพื่อนบ้าน
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์
สังคม / บุคคล
ท้องถิ่นไทย
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
การเมือง / การปกครอง
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ธรรมาภิบาล
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
คุณภาพชีวิต
เศรษฐกิจชุมชน
เกษตรนำไทย
สื่อสาร - คมนาคม
ท่องเที่ยว
ข่าววงใน!!!
ปฏิทินข่าว
อปท.นิวส์โพล
ข่าวย้อนหลัง
วิดีโอ
ฉบับย้อนหลัง
สมัครสมาชิก
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
ย้อนกลับ
ประวิตร สั่ง กอนช.เร่งคุมน้ำเค็มเจ้าพระยา หลังประเมินภายในสิ้นมีนาฯ น้ำทะลุรุกสูงอีก 4 ครั้ง
09 ก.พ. 2564
“พลเอก ประวิตร” สั่ง กอนช. ติดตามสถานการณ์น้ำเค็มในลุ่มน้ำเจ้าพระยาป้องกระทบคุณภาพน้ำประปา จากภาวะน้ำทะเลหนุนสูง คาด ก.พ. - มี.ค. นี้ ระดับน้ำเพิ่มสูงสุดอีก 4 ครั้ง ก่อนกลับเข้าสู่ภาวะปกติ งัดมาตรการเร่งด่วนปรับเพิ่มการระบายน้ำเท่าที่จำเป็น พร้อมจัดรอบเวรการใช้น้ำ เข้มการสูบน้ำพื้นที่เกษตรนอกแผน เคร่งครัดเพื่อรักษาน้ำต้นทุน ควบคู่กับแผนระยะยาวที่ยั่งยืน ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานด้านประเมินสถานการณ์ กอนช. ว่า ที่ประชุมได้เร่งหารือแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำเค็มกระทบคุณภาพน้ำประปาในแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง และแม่กลอง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการ กอนช. สั่งการกำชับให้ต้องเร่งรัดแก้ไขเพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะในลุ่มเจ้าพระยาคาดการณ์ว่าในช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค. จะยังคงมีภาวะน้ำทะเลหนุนสูงอีก จำนวน 4 ครั้ง โดยสูงสุดในช่วงวันที่ 10 -19 ก.พ., 25-28 ก.พ., 9-12 มี.ค. และ 26-28 มี.ค. จากนั้นระดับน้ำมีแนวโน้มลดลงในเดือนเมษายนแต่จะยังมีสถานการณ์น้ำทะเลหนุนอยู่บ้าง แต่อยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ และคาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผู้ใช้น้ำในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ที่ประชุมมอบหมายกรมชลประทานปรับแผนการระบายน้ำจาก 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา และผันน้ำจาก 2 เขื่อนลุ่มน้ำแม่กลองไม่เกิน 500 ล้าน ลบ.ม. พร้อมประเมินน้ำต้นทุนที่จะต้องมีน้ำสำรองเพียงพอถึงต้นฤดูฝน ทั้งนี้ กอนช.เน้นย้ำทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องควบคุมติดตามการใช้น้ำ จัดรอบเวร รวมถึงกำหนดเวลาการเปิดปิดอาคารชลประทาน การสูบใช้น้ำทั้งพื้นที่ในและนอกเขตชลประทาน ให้เป็นไปตามแผนอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้กระทบปัญหาการผลักดันน้ำเค็มได้ไม่เป็นไปตามแผน และเกิดน้ำประปากร่อยบางช่วงเวลาอย่างที่ผ่านมาได้อีก โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการชี้แจงสร้างความเข้าใจร่วมกับท้องถิ่นและหน่วยปกครอง พร้อมทั้งกวดขันดูแลอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้กระทบน้ำต้นทุนที่ต้องสำรองไว้ให้เพียงพอต่อการใช้น้ำต่าง ๆ ด้วย ขณะเดียวกัน กอนช. ยังได้มีการวางแผนระยะยาว ซึ่งแก้ไขปัญหาน้ำเค็มได้อย่างยั่งยืน อาทิ การเพิ่มน้ำต้นทุนจากลุ่มน้ำแม่กลองให้เต็มศักยภาพ โดยการประปานครหลวง อยู่ระหว่างดำเนินแผนการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก เพื่อขยายกำลังการผลิตน้ำประปาของโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบส่งน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพในระบบสูบจ่ายน้ำส่งพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง จำนวน 0.8 ล้าน ลบ.ม./วัน รวมไปถึงการพิจารณาความเหมาะสมในการย้ายจุดสูบน้ำสำแล ขึ้นไปด้านเหนือน้ำ ให้พ้นระยะน้ำเค็มรุกล้ำ เช่น บริเวณ อ.บางไทร จ.อยุธยา และการใช้น้ำบางส่วนจากคลองเปรมประชากร เมื่อมีการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการรับน้ำและสามารถควบคุมคุณภาพน้ำได้ เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะเห็นผลในการแก้ไขปัญหาผลกระทบน้ำเค็มอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรมได้ภายในปี 2566 ดร.สมเกียรติ กล่าวต่อว่า แม้ว่าจะมีการเตรียมพร้อมและดำเนินการแก้ไขปัญหาตามแผนควบคุมน้ำเค็มที่สถานีสูบน้ำดิบสำแล จ.ปทุมธานี อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม โดยกรมชลประทานได้ระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 80-100 ลบ.ม./วินาที ตามจังหวะน้ำทะเลหนุน และ เขื่อนพระรามหก 25-35 ลบ.ม./วินาที ร่วมกับการปฏิบัติการกระแทกน้ำ (Water hammer) และ การบริหารปิด-เปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามจังหวะน้ำทะเลหนุน ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ประสบผลสำเร็จอย่างดีในปี 2563 แต่ด้วยสถานการณ์น้ำเค็มในปีนี้ที่รุนแรงกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันต้องมีการะบายน้ำมากกว่าในปีที่ผ่านมา ขณะที่น้ำต้นทุนใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยาไม่แตกต่างกันมากนัก แต่กลับพบว่ามีการสูญเสียน้ำระหว่างทางค่อนข้างมาก “อุปสรรคสำคัญในการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเค็มไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากพบว่า มีการดึงน้ำออกจากระบบระหว่างทางที่ส่งมาเพื่อรักษาระบบนิเวศ การอุปโภคบริโภค การปลูกพืชใช้น้ำน้อยและไม้ผลยืนต้น โดยเฉพาะพื้นที่การปลูกข้าวนาปรับนอกแผนไปจำนวนมาก ประมาณ 750 ล้าน ลบ.ม. จากแผนการจัดสรรน้ำฤดูแล้งจาก 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยาตั้งแต่ต้นฤดูกว่า 2,000 ล้าน ลบ.ม. ประกอบกับเป็นจังหวะระดับน้ำทะเลหนุนสูง รวมถึงเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm surge) จากลมสอบปากอ่าวไทย จึงส่งผลให้เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 64 เกิดความเค็มสูงเกินเกณฑ์อย่างรวดเร็วและรุนแรง ที่สถานีสูบน้ำสำแล ในเกณฑ์ 2.53 กรัม/ลิตร จึงได้มีการปรับเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนต่าง ๆ ได้แก่ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเขื่อนพระราม 6 และขณะนี้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการเตรียมรับมือกับระดับน้ำทะเลที่จะขึ้นสูงในช่วงฤดูแล้งนี้ตามที่คาดการณ์ไว้ ควบคู่ไปกับการดำเนินการตามแผนการระยะยาวเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำเค็มในอนาคตได้อย่างยั่งยืน” ดร.สมเกียรติ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมชลฯ ลุย..เพิ่มแหล่งน้ำ ...
18 มี.ค. 2568
กปภ. ร่วมสืบสานประเพณีสงกร...
12 เม.ย. 2568
ฝุ่นพิษพุ่งเมืองเชียงใหม่ ...
16 มี.ค. 2568
เอสซีจี ผนึกเครือโตโยต้า เ...
26 มี.ค. 2568
เฉลิมชัย MOUกัมพูชาร่วมมือ...
23 เม.ย. 2568
รมช.อัคราฯ เร่งรัดงานก่อสร...
07 มี.ค. 2568
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
ฉบับที่ 450 ปักษ์หลัง
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2568
อปท.นิวส์
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ดูทั้งหมด
มงคล วิมลรัตน์ อธิบดีกรมพลศึกษา (ป้ายแดง)
21 เม.ย. 2568
“กีฬา ... กีฬา ... เป็นยาวิเศษ” ส่วนหนึ่งของคำประพันธ์ที่นำมาร้องกันในสมัยก่อน หรืออาจจะร่วมถึงในยุคสมัยนี้ด้วยก็คงไม่ผิด และแน่นอนความหมายของนั้นก็คือ การเล่นกีฬา การออกกำลังกายนั้น มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเปรียบเสมือนเกราะป้องกันโรคภัยของเรานั่นเอ...