ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
(คลิป) พก. จับมือ ธ. กรุงไทย ลงทะเบียน “โครงการเราชนะ”
25 ก.พ. 2564

พก. จับมือ ธ. กรุงไทย ลงทะเบียน “โครงการเราชนะ”  แก่กลุ่มเปราะบางในพื้นที่ชุมชนลำชะล่า ย่านบางเขน ตามโครงการ 1 กรม 1 พื้นที่พัฒนา

วันนี้ (24 ก.พ. 64) เวลา 10.30 น. กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ร่วมกับธนาคารกรุงไทยสำนักงานเขตคันนายาว และสาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ ลงพื้นที่ให้บริการลงทะเบียนกลุ่มเปราะบาง “โครงการเราชนะ” ในชุมชนลำชะล่า (โคกบ่าวสาว) แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร จำนวน 31 ราย และบริเวณใกล้เคียง ในโครงการ 1 กรม 1 พื้นที่พัฒนา ตามนโยบายกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยมีนางณฐอร อินทร์ดีศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร สาขาสายไหม ผู้แทนชุมชน เจ้าหน้าที่ พก. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมลงพื้นที่

นางณฐอร กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) จัดโครงการ 1 กรม 1 พื้นที่พัฒนา โดยมีเป้าหมายใน 49 ชุมชนนำร่องในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินการในพื้นที่โครงการ พม. เราไม่ทิ้งกัน ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน โดยมีแนวทางในการดำเนินงานประกอบด้วย การสร้างความเข้าใจร่วมกันระดับกรม การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดอันดับความยากลำบากของประชากรในชุมชน การจัดทำสมุดพกครอบครัว การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตรายครัวเรือน การบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และการถอดบทเรียนการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน และแก้ไขปัญหาความยากจน รวมถึงปัญหาสังคม พร้อมจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวโดยบูรณาการการทำงานร่วมกัน ทั้งในระดับกระทรวงและต่างหน่วยงาน ทั้งนี้ พก. ได้รับมอบหมายในพื้นที่ชุมชนลำชะล่า (โคกบ่าวสาว) แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ 1 กรม 1 พื้นที่พัฒนาของ พก. ทั้งนี้ สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 อนุมัติให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ดำเนิน “โครงการเราชนะ” เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งเป็นการลดภาระค่าของชีพ เช่น ค่าอุปโภคบริโภค ค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทาง กระตุ้นการหมุนเวียนระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้บูรณาการความร่วมมือกับกระทรวง พม. ดำเนินการอำนวยความสะดวกลงทะเบียนให้กลุ่มคนเปราะบาง หรือกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน เป็นต้น ให้เข้าถึงสิทธิ์ตามโครงการเราชนะของรัฐบาล รวมทั้งประชาสัมพันธ์โครงการฯ ไปยังกลุ่มคนเปราะบางได้รับทราบ โดยมีผู้แทนชุมชน เครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในพื้นที่อำนวยความสะดวกเพื่อช่วยเหลือลงทะเบียนและจัดทำลำดับคิวให้แก่กลุ่มประชาชนเปราะบางที่ต้องการเข้าร่วมโครงการดังกล่าว นอกจากนี้ ยังได้มีการประสานจัดหน่วยเคลื่อนที่รับลงทะเบียนและอำนวยความสะดวก โดยร่วมกับธนาคารกรุงไทยสำนักงานเขตคันนายาว และสาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ ลงพื้นที่ให้บริการลงทะเบียนกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ชุมชนลำชะล่า จำนวน 31 ราย ภายในชุมชนและบริเวณใกล้เคียง 

ทั้งนี้ ในวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 พก. เตรียมจัดกิจกรรม Kick-off ปล่อยขบวนรถ จำนวน 10 คัน ไปยังชุมชนลำชะล่า (โคกบ่าวสาว) นำโดยนางสาวสราญภัทร อนุมัติราชกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่พก. เพื่อจัดกิจกรรมโครงการ “พก. ปันสุขสู่ชุมชน ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน พก. จะตามไปเยี่ยมชุมชนลำชะล่า” เพื่อพบปะเยี่ยมกลุ่มเปราะบางและผู้ประสบปัญหาทางสังคม พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภคในชุมชน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...