ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
ปลัดฯ ทส. ติวเข้ม 17 จังหวัดภาคเหนือ ลดจุดความร้อน คุมสถานการณ์ไฟป่า
13 มี.ค. 2564

ปลัดฯ ทส. ติวเข้ม 17 จังหวัดภาคเหนือ ลดจุดความร้อน คุมสถานการณ์ไฟป่า โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง แม่ฮ่องสอน ตาก เชียงใหม่ กำชับเน้นการสื่อสารสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจให้กับประชาชน

 นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์การแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ร่วมกับหน่วยราชการในสังกัดกระทรวงฯ ทั้ง 17 จังหวัด กรมควบคุมมลพิษ กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference System) 

นายจตุพร กล่าวว่า โดยภาพรวมการแก้ไขปัญหา การเตรียมการรับมือ มาตรการการเฝ้าระวัง รวมไปถึงการบังคับใช้กฎหมายในปีนี้นั้นเป็นไปอย่างเข้มงวด มีการกำหนดแนวทางดำเนินงานและขอบเขตพื้นที่ในการรับผิดชอบอย่างชัดเจน และจังหวัดที่มีจุดความร้อนสูงสุด 6 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ตาก เชียงใหม่ ลำปาง เพชรบูรณ์ และลำพูน ได้มีการจัดกำลังเข้าไปเสริมในพื้นที่ และมีการสับเปลี่ยนกำลังคนเป็นระยะ รวมถึงมีการกำหนดตารางการปฏิบัติงานในแต่ละวันอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน กับ จ.เชียงใหม่ และได้ขอให้ทุกพื้นที่ที่เป็นจุดเสี่ยง ดำเนินการเฝ้าระวังอยู่ตลอด โดยได้มอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) เป็นหลักในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละเขตพื้นที่ ทั้งฝ่ายปกครองและท้องถิ่น 

ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงฯ ยังได้เน้นย้ำให้แต่ละจังหวัดเร่งสื่อสารทำความเข้าใจไปสู่ประชาชนถึงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่มีการดำเนินงานทั้งการเฝ้าระวัง และการลาดตระเวนในพื้นที่เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง ผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ รวมถึงการประชาสัมพันธ์การคาดการณ์สถานการณ์ พื้นที่ปลอดภัย (Safe zone) และการแจ้งเตือนประชาชนอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติ เพื่อให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตัวและการป้องกันทางด้านสุขภาพได้อย่างถูกต้อง

ในการประชุม ปลัดกระทรวงฯ ยังได้สั่งการให้จัดตั้งศูนย์ส่วนหน้าโดยได้มอบหมายให้หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ (นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์) และรองปลัดกระทรวงฯ (นายพงศ์บุณย์ ปองทอง) ลงไปติดตามและกำกับดูแลสถานการณ์ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด รวมถึงได้มอบหมายให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดตั้งสถานีดับไฟป่าชั่วคราวในพื้นที่ที่เป็นจุดรอยต่อสำคัญที่ติดกับเขตป่าอนุรักษ์ ซึ่งเป็นจุดที่มีความเสี่ยงสูง เช่น อ.ลี้ จ.ลำพูน และ อ.สามเงา จ.ตาก โดยให้เร่งจัดกำลังเสริมเข้าไปในพื้นที่ก่อนอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ ยังได้ติดตามความพร้อมของอุปกรณ์ อาทิ อากาศยาน รถพ่นน้ำ เครื่องเป่าลม ร่มบิน โดรน จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งจาก กรมทรัพยากรน้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กองทัพบก และกองทัพอากาศ เพื่อเสริมความพร้อมในการเข้าปฏิบัติภารกิจเมื่อเผชิญเหตุได้อย่างทันท่วงที

ในตอนท้ายของการประชุม นายจตุพร ยังได้กำชับให้ทุกหน่วยงานในระดับพื้นที่ ต้องวางกลยุทธ์ในการทำงานประสานงานกับทุกหน่วยงานในพื้นที่ให้ดี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดของการทำงาน และต้องมีความเข้าใจในกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้ง กฎหมายท้องถิ่น และกฎหมายของหน่วยงานต่าง ๆ ควบคู่กันไปด้วย รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับอาสาสมัครจากภาคส่วนต่าง ๆ ต้องมีการพูดคุยกันให้เข้าใจในการเข้าร่วมปฏิบัติงานกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะมีความพร้อมและความชำนาญ เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายในการเข้าไปในพื้นที่ “ขอขอบคุณประชาชนที่มีความตั้งใจดีที่ต้องการร่วมดูแลรักษาพื้นที่ป่า ซึ่งถือเป็นแรงบวกที่สำคัญที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ แต่การเข้าไปในพื้นที่แต่ละแห่งนั้นมีความอันตราย จึงขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนให้เข้าไปพร้อมกับเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครที่ต้องการเข้าช่วยในด้านต่าง ๆ ขอให้ดำเนินการติดต่อผ่านทางจังหวัดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ซึ่งทางหน่วยงานจะมีการจัดชุดลงพื้นที่ และเข้าไปช่วยดูแลเพื่อความปลอดภัย”

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...