ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
“นายกฯ สั่งช่วยชาวนา แต่หน่วยงานรัฐยังเฉี่อยชา” “ปราโมทย์ เจริญศิลป์” นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย
01 เม.ย. 2564

สัมภาษณ์พิเศษ

“นายกฯ สั่งช่วยชาวนา แต่หน่วยงานรัฐยังเฉี่อยชา”

ปราโมทย์ เจริญศิลป์

นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย

สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย มีสำนักงานตั้งอยู่ที่อาคารวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว  ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับเกษตรกรและชาวนาไทย เพื่อยกระดับการผลิตข้าวไทยให้มีคุณภาพ สร้างเศรษฐกิจและรายได้ที่ดีให้กับเกษตรและชาวนา บทบาทสำคัญในปี 2564 คือหาทางแก้ปัญหาน้ำเพื่อการเกษตร และยกระดับพันธ์ข้าว ท่ามกลางปัญหาและอุปสรรคมากมาย

แต่แนวทางการการขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหาของเกษตรชาวนาไทยในขณะนี้ ทั้งเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการเกษตรและการยกระดับการผลิตข้าวคุณภาพ ยังเต็มไปก้วยขวากหนามจากระบบราชการไทย “อปท.นิวส์” จึงได้เข้าพบสัมภาษณ์ นายปราโมชย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ซึ่งจะมาบอกกล่าวถึงความคืบหน้า และปัญหาต่างๆ ที่พบเจอ จากการประสานความร่วมมือเพื่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ

 

  • ปัญหาหลักและเร่งด่วนของสมาชิกในช่วงนี้ คือปัญหาอะไร

ปีนี้เราได้ขอความช่วยเหลือในเรื่องแหล่งน้ำบาดาล แหล่งน้ำสาธารณะ ตามห้วย หนอง คลอง บึง ขอให้มีการขุดลอก และเจาะน้ำบาลเพื่อการเกษตรให้กับพี่น้องชาวนาที่ได้รับความเดือนจากปัญหาน้ำดิบ ในกลายพื้นที่แล้งซ้ำซากหรือไม่มีน้ำใช้  ไม่สามารถจะทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงปลา ได้เลย ซึ่งก่อนหน้านี้ ผมและคณะกรรมการของสมาคม จำนวน 7 คน ได้เข้าพบและยื่นเรื่องร้องเรียนโดยตรงกับท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี มาแล้ว

หลังจากนั้น ท่านนายกฯ ให้เราไปทำแผนยุทธศาสตร์หรือแนวทางแก้ปัญหาน้ำใน 12 จังหวัด เป้าหมาย โดยคณะกรรมการของสมาคมได้ไปสำรวจพื้นที่ และจัดทำแผนการขุดลอก ห้วย หนอง คลอง บึง รวมถึงพื้นที่ซึ่งต้องการแหล่งน้ำบาดาล น้ำใต้ดิน และโครงการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ผ่านมาสามารถดำเนินการไปได้ 2-3 จังหวัดแล้ว มีการขุดลอกคูคลองในเขตหนองจอก 98 คลอง โดยสำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดสรรงบลงไปดำเนินการ แต่ใน 2 – 3 ปีมานี้ มีปัญหาเรื่องภัยแล้ง เรื่องฝนทิ้งช่วง น้ำในเขื่อนไม่มี แล้วก็มามีเรื่องโควิด-19 อีก ชาวนาก็ย่ำแย่ลงไปมาก เพราะขาดน้ำ ทำนาก็ทำไม่ได้เต็มร้อย ”

 

  • การดำเนินการและการประสานงานกบบหน่วนงานรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร

เราเป็นคนชี้เป้า ให้กับหน่วยงานรัฐ ว่าจังหวัดนี้ขาดอะไร ต้องการอะไร เรามอบเรื่องดังกล่าวให้ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านก็สั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบแต่ละจังหวัดลงไปดำเนินการตามแผน ตามนโยบาย ตอนแรกก็ส่งไปที่สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะส่งต่อไปที่สภาพัฒน์ แล้วก็ยื่นเรื่องไปที่ สทนช.ที่ได้ส่งไปถึงจังหวัด แต่ปัญหาคือ ตอนนี้ก็ยังทำได้ไม่เต็มร้อย เราก็ต้องตามงานกันต่อไป ติดหน่วยงานไหน เราก็ไปตามต่อที่หน่วยงานนั้น ล่าสุดได้ไปกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อชี้แจงและสอบถามว่าได้ดำเนินการไปถึงไหน ติดขัดอะไร เพราะเดือนเมษายนนี้เราต้องทำนาแล้ว แต่ยังไม่มีน้ำเพียงพอ ดังนั้นเราต้องร้องขอให้เขาเข้าไปดำเนินการเร่งด่วนในแต่ละพื้นที่”

 

  • จากการประสานกับหน่วยงานภาครัฐ พอชี้ได้ไหมว่าปัญหาติดขัดอยู่ตรงไหน

ส่วนมากจะติดขัดในส่วนของราชการที่รับคำสั่งมา ไม่ค่อยตอบสนองกับคำสั่งจากเบื้องบน เบื้องบนก็คือนายกรัฐมนตรีสั่งการไป หลายหน่วยงานไม่ค่อยทำตามท่าน พูดง่ายๆ เลยว่าไม่ค่อยอยากจะทำ อ้างนู่นอ้างนี่มาโดยตลอด ซึ่งในเร็ววันนี้ผมก็จะปัญหาไปนำเรียนต่อท่านนายกรัฐมนตรีให้ทราบโดยตรงอีกครั้งว่าการทำงานของข้าราชการไม่ต่อยจะตอบสนองนโยบายของท่านเลย พวกเขาไม่ได้คิดคำนึงถึงเกษตรกรหรือว่าชาวไร่ชาวนาว่าเดือดร้อนกันขนาดไหน ท่านจะได้ทราบว่าการทำงานของภาครัฐไม่คืบหน้า ไม่ตอบสนองนโยบายของท่านที่สั่งการลงไป”

 

  • สาเหตุที่หน่วยงานรัฐไม่ค่อยตอบสนอง เป็นเพราะไม่มีงบ หรือทำไม่ทัน

มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถ้าในพื้นที่ก็ตั้งแต่ผู้ว่าราชการจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) กำนันผู้ ใหญ่บ้าน และหน่วยงานอื่นๆ คือเขาไม่ได้อยากจะทำงาน เหมือนกับว่าจะพยายามพลักภาระให้พ้นตัว ไม่ให้ความสำคัญ คำปฏิเสธแรกคือไม่มีงบ อ้างว่าไม่ได้ตั้งงบไว้ล่วงหน้า แบบนี้ตลอด ในฐานะที่ผมได้ไปเรียนกับท่านนายกรัฐมนตรีโดยตรง ท่านบอกเดี๋ยวท่านจะจัดการดำเนินการให้ทุกอย่าง ผลสุดท้ายบุคลากรระดับปฏิบัติไม่ทำงานเต็มที่ ไม่สนองนโยบายรัฐ อ้างโน้น อ้างนี้ ในการจะไม่ช่วยประชาชน และจะปัดไปให้หน่วยงานอื่น บางครั้งพอเราติดจาม ทวงถาม เขาก็หาว่าเราข้ามหน้าข้ามตาบ้าง ไม่รู้จักสมาคมของเราบ้าง ผมบอกเลยว่าขนาดนโยบายท่านนายกฯ เขายังไม่สนใจเลย ทั้งที่ข้าราชการควรจะตอบสนองนโยบายของภาครัฐ แต่กลับปัดไปให้พ้นตัวตลอด”

 

  • เรื่องเร่งด่วน นอกจากเรื่องน้ำเพื่อการการเกษตรแล้ว ยังมีเรื่องอื่นอีกไหม

สำคัญเร่งด่วนที่สุดคือเรื่องน้ำ แต่จริงๆ แล้วสมาคมของเราทำ 2 ส่วนพร้อม ๆ กัน อีกส่วนคือทำยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า คลัสเตอร์ข้าว ยกตัวอย่างที่จังหวัดกำแพงเพชร เราขอแพสูบน้ำแก้ภัยแล้ง ขณะเดียวกันเราได้ประสานกับกรมข้าวให้ช่วยส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ เพื่อมาทำข้าวพื้นนุ่ม แล้วจะสร้างโซนนิ่งข้าวพื้นนุ่ม เพราะเราต้องการทำข้าวคุณภาพ เรื่องนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชรก็เห็นด้วย มีการจัดประชุมหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทางเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรก็ให้การสนับสนุน เพราะเรื่องของการทำข้าวให้ได้คุณภาพสู้เวียดนาม มันต้องมีน้ำก่อน ทุกคนเข้าใจในระดับกระทรวง แต่ระดับจังหวัดมีปัญหา ไม่มีใครไปทำเรื่องน้ำ อ้างไม่มีงบ โยนไปให้กระทรวงเกษตร หน่วยงานอื่นในจังหวัดก็ไม่ได้เกี่ยวข้องอีก ก็เล่นมอญซ่อนผ้าในที่ประชุม ผู้ว่าฯเองก็พูดไม่ออก มี องค์การบริหารส่วนจังหวัดมาขานรับว่าจะทำตามภารกิจของอบจ.ให้ แต่ขอให้รัฐเพิ่มงบประมาณให้ แล้วจะทำเรื่องคลองส่งน้ำให้

 

  • สรุปว่าสมาคมฯ ได้ยื่นข้อเรียกร้องไปยังรัฐบาลกี่ข้อ

“หลักๆ ก็มีแค่เรื่องน้ำ แยกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1) น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ 2)น้ำจากใต้ดินที่เอามาเติมเพื่อจะสร้างระบบนิเวศให้กับคนในชุมชน เราเรียกร้องว่าในอนาคต ขอให้มีการบริหารจัดการน้ำของชุมชนแบบที่ชุมชนมีส่วนร่วม อันนี้คือหัวใจ ยุทธศาสตร์ตรงนี้ เราทำไว้ 48 แผน ใน 12 จังหวัด เน้นลงไปในพื้นที่ของสมาชิกสมาคมฯ และหากว่าในพื้นที่ตรงไหนที่ภาครัฐเขามีโครงการอยู่แล้ว เขาก็สามารถหยิบยกโครงการนั้นๆ ขึ้นมาทำได้เลย หมายถึงว่าถ้าเขาก็มีแผนอยู่แล้ว เขาก็ดำเนินการทันทีไม่ต้องรออะไรอีก

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม มีกรุงเทพที่เดียว ส่วนอีก 11 จังหวัด ยังเป็นนามธรรมอยู่เลยเราจึงเข้าไปพบ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. เพราะเราอยากรู้ว่าพวกท่านทั้งหลายจะทำอย่างไรกับอีก 11 จังหวัด เพื่อให้เป็นรูปธรรม เพราะเรื่องของการมอบหมายนโยบายอย่างไรเราไม่รู้หรอก พวกเราเป็นชาวนา เรารู้แค่ว่าถ้ามีน้ำแล้วเราสามารถทำข้าวให้มีคุณภาพได้อย่างไร เรารู้เพียงแค่นี้ เพราะฉะนั้นถ้าหน่วยงานภาครัฐไม่ช่วยเหลือ เราก็จะโวยเสียงดังไปเรื่อย ๆ ถ้าเฉยอีก เราก็จะโวยเสียงดังขึ้น เพราะเราจะเลือกเดินไปในแนวทางแบบนี้”

  • ช่วยขยายความในเรื่องการที่สมาคมฯ จะเน้นในเรื่องการพัฒนาพันธุ์ข้าว

ตอนนี้ สมาชิกของสมาคมฯพร้อมที่จะทำข้าวคุณภาพ โดยจะร่วมมือกันผลิตข้าวให้มีมาตรฐานตั้งแต่ GAP ยันออร์แกนิค ถามว่าภาครัฐพร้อมจะช่วยเขาอย่างไร คำตอบที่เป็นรูปธรรมเนี่ยแหละคือสิ่งที่เราต้องการ อย่างในจังหวัดกำแพงเพชร เราขอความช่วยเหลือไป 10 เรื่อง อาจจะได้รับการสนองตอบ 1- 2 เรื่อง ซึ่งก็มีทิศทางที่จะเดิน จึงอยากฝากให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อติดตามผลเรื่องการช่วยเหลือชาวนา อย่างเช่น 12 จังหวัด เราทำเป็นต้นแบบ เราแบ่งพื้นที่กันเอง ในจังหวัดอยุธยาเราทำข้าวนาปรัง ข้าวพื้นนุ่ม จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ ทำข้าวนาปี ข้าวพื้นนุ่ม เพื่อให้ผู้ส่งออกข้าวสามารถมีข้าวส่งออกได้ตลอดทั้งปี ตอนนี้เริ่มเป็นรูปธรรมแล้ว แต่เรากำลังมองว่ามันต้องขยายเป็นแสนไร่ ซึ่งต้องไปขยายพื้นที่ในภาคอีสาน อีก 10 กว่าจังหวัด เพื่อให้เห็นภาพชัดว่าชาวนาของเราได้ลุกขึ้นมาแล้ว พัฒนาข้าวแล้ว ในลักษณะโรงสีภาคเอกชนและเกษตรกรชาวนานำร่องไปก่อน จะได้ไม่ต้องมาว่าชาวนาดีแต่ขอ นี่คือพอยท์ของเรา ที่ทางราชการต้องหนุนเสริมให้ทัน

แต่ก็ต้องผิดหวังกับท่าทีของหน่วยงานรัฐ ในเรื่องน้ำ ขนาดท่านนายกรัฐมนตรีลงนาม ในหนังสือสั่งการไปที่จังหวัด จังหวัดยังไม่สานต่อ แล้วเราเป็นแค่ชาวนา จะบากหน้าไปขอความช่วยเหลือ เขาจะทำให้เราหรือ เพราะฉะนั้นเราก็จะไม่คุยมาก แต่เราก็จะกลับไปบอกท่านนายกรัฐมนตรีใหม่ เพราะท่านมีความจริงใจกับชาวนาและเกษตรกร บอกให้ท่านรู้ปัญหา ถ้าหน่วยรัฐยังไม่สนองนโยบายอีก เราก็จะบอกท่านนายกฯ ซ้ำไปเรื่อยๆ ให้มันรู้ไปว่ามันเป็นอย่างนั้นแหละ ระบบราชการไทย”

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...