ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
สุพิศ พิทักษ์ธรรม ผู้อำนวยการ สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน
01 เม.ย. 2564

สัมภาษณ์พิเศษ

สุพิศ พิทักษ์ธรรม

ผู้อำนวยการ สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน

ที่ผ่านมา การเกษตรบ้านเรามักจะได้เห็นได้ยินอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมบ้าง น้ำแล้งบ้าง และหน่วยนงานหนึ่งที่เข้ามาดูแลในเรื่องนี้ก็คือ กรมชลประทาน อย่างไรก็ตาม ภายใต้กรมชลประทาน ยังมีหน่วยงานย่อยที่เรียกว่า “สำนักเครื่องจักรกล” เป็นตัวจักรที่สำคัญในการลงพื้นที่และแก้ปัญหาอยู่ทั่วประเทศตลอดมา และปัจจุบัน ผู้บริหารสำนักเครื่องจักรกล แห่งนี้คือ ผู้อำนวยการ สุพิศ พิทักษ์ธรรม โดยได้ให้สัมภาษณ์กับ อปท.นิวส์ ไว้ดังนี้

  • บทบาทแล้วหน้าที่ของสำนักเครื่องจักรกล มีอะไรบ้าง

สำนักเครื่องจักรกล มีหน้าที่ในการจัดหา เตรียมพร้อม เครื่องจักรเครื่องมือต่างๆ ทั้งทางด้านเครื่องกลและไฟฟ้า เช่น รถขุด รถแทรกเตอร์ เรือขุด เรือกำจัดวัชพืช เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ บานระบายน้ำ รถยก รถขนส่ง และเครื่องจักรอื่นๆ ในการเข้าร่วมภารกิจหลักของกรมชลประทาน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำ ทำอ่างเก็บน้ำ เขื่อนต่างๆ การบริหารจัดการน้ำ ทั้งงานขุดลอกหนองบึงต่างๆ ทำแก้มลิงเพื่อเพิ่มปริมาณการเก็บน้ำ ขุดร่องชักน้ำ ระบายน้ำ การกำจัดวัชพืชในแม่น้ำลำคลองต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ รวมทั้งการบรรเทาช่วยเหลือภัยที่เกิดจากน้ำ ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้งหรืออุทกภัย มีการสูบน้ำทั้งช่วงหน้าแล้งและช่วงน้ำหลาก การผลิตเครื่องกว้านบานระบายสำหรับประตูระบายน้ำต่างของกรมชลประทาน และยังมีหน้าที่ในการออกแบบระบบเครื่องกลและไฟฟ้า สำหรับงานก่อสร้างอาคารต่างๆ และสถานีสูบน้ำของกรมชลประทาน 

  • งบประมาณที่ได้รับแต่ละปีเป็นอย่างไรบ้าง

งบประมาณที่ได้รับสนับสนุนในแต่ละปีมีแตกต่างกันบ้าง ขึ้นกับสถานการณ์และภัยธรรมชาติในแต่ละปี เช่น ปีงบประมาณ 2564 ได้รับจัดสรรงบประมาณแล้วทั้งสิ้นประมาณ 2,200 ล้านบาท โดยเป็นเรื่องของงานจัดหาและซ่อมแซมครุภัณฑ์ ประมาณ 500 ล้านบาท และงบกิจกรรมในการพัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำ ป้องกันบรรเทาภัยจากน้ำ และสูบน้ำช่วยเหลือเกษตรกรอีกประมาณ 1,700 ล้านบาท ซึ่งอาจต่างจากปี 2563 ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณทั้งปีประมาณ 4,700 ล้านบาท และปี 2562 ได้รับการจัดสรรประมาณ ประมาณ 4,500 ล้านบาท และในปี 2564 นี้ ก็ยังขอจัดสรรงบประมาณเพิ่มอยู่อีกตามภาระกิจที่ได้รับในปีนี้

  • โครงการสำคัญที่ได้รับผิดชอบดำเนินการ มีโครงการไหนบ้าง

                1) โครงการหนองเล็งทราย เป็นแอ่งน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ในลุ่มน้ำโขงและยังเป็นพื้นที่ต้นน้ำก่อนที่จะไหลลงสู่กว๊านพะเยา และปัจจุบันสามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 5.0 ล้าน ลบ.ม แล้วหนองเล็งทรายมีปัญหาอะไร เกิดจากการตกจมของตะกอน ทำให้กักเก็บน้ำได้น้อยลงกว่าเดิม คิดเป็นร้อยละ 20 ของความจุเดิม จึงทำให้กักเก็บน้ำไม่พอในช่วยฤดูน้ำหลาก พอถึงช่วงเวลาที่ผู้คนต้องการใช้น้ำมากขึ้นก็ทำให้น้ำไม่เพียงพอต่อการผลิตน้ำประปา และส่งผลให้ภาคเกษตรขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง

                การพัฒนาหนองเล็งทราย ระยะที่ 1 ปรับปรุงและฟื้นฟูร่องน้ำเดิมให้มีขนาดกว้างขึ้น ระยะที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพกักเก็บน้ำก่อสร้างฝากพับได้ เพิ่มระดับกักเก็บน้ำได้อีก 1.00 ม. ระยะที่ 3 ฟื้นฟูแหล่งน้ำรอบหนองเล็งทราย เขตน้ำตื้นบริเวณด้านในและเขตน้ำลึกบริเวณหน้าอาคารบังคับน้ำ ระยะที่ 4  ปรับปรุงฟื้นฟูหนองเล็งทราย บริเวณหน้าฝ่ายหนองเล็งทราย พื้นที่ 600 ไร่ สูบน้ำด้วยระบบไฟฟ้า พร้อมระบบส่งน้ำ วังปลาก่อพื้นที่ที่ไดรับประโยชน์ 2,500 ไร่ แก้มลิงร่อยขุยพร้อมอาคารประกอบพื้นที่ รับประโยชน์ 1,000 ไร่ นอกจากนี้ ยังพัฒนาหนองเล็งทรายในแบบอย่างยั่งยืนด้วย โดยการปรับปรุงภูมิทัศน์ แหล่งท่องเที่ยวเกาะกลางน้ำ และยังเป็นสวนสาธารณะ เป็นแหล่งออกกำลังกาย ปั่นจักรยานหรือวิ่ง และยังตั้งใจให้แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของกว๊านพะเยาด้วย

                2) โครงการฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ เกิดจากการที่ผ่านมา มีปัญหามีปัญหาเรื่องการระบายน้ำการบริหารจัดการน้ำไม่เป็นเอกภาพ จึงทำให้เกิดน้ำท่วมน้ำแล้งอยู่บ่อยๆ รวมทั้งมีตะกอนตื้นเขินและเปิดปัญหาด้านคุณภาพน้ำ รัฐบาลจึงได้ทำโครงการฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดโดยการขุดบึง ขุดลอกตะกอนดิน มีการทำวังปลา รักษาระบบนิเวศน์ด้านการประมง ทำสระเก็บน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง และมีการปรับปรุงทางน้ำเข้าออก การชลอน้ำ เก็บกักเพื่อลดน้ำท่วม งานขุดบึงบอระเพ็ด ซึ่งมีลักษณะเป็น DEEP POOL เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด ซึ่งมีทั้งหมด 4 จุดเมื่อขุด DEEP POOL ครบทั้ง 4 จุด จะเพิ่มความจุเก็บกักน้ำในบึงได้ 12 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศด้านการประมงของบึงบอระเพ็ด

                3) งานเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำห้วยทรายขมิ้น ตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เนื่องจากสภาพอ่างเก็บน้ำมีสภาพตื้นเขินจากตะกอนดินจำนวนมากส่งผลให้ปริมาณเก็บกักน้ำในอ่างลดลงเกษตรกรในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 3 โดยฝ่ายเรือขุดและเรือกำจัดวัชพืชที่ 3 ได้ดำเนินการขุดลอกและกำจัดวัชพืชบริเวณอ่างฯ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำ ให้รองรับความต้องการใช้น้ำสำหรับอุปโภค บริโภครวมถึงน้ำเพื่อการเกษตร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ราษฎรได้รับประโยชน์ทั้งสิ้น 4 หมู่บ้าน  ได้แก่ บ้านพังขว้าง บ้านห้วยทราย  บ้านน้อยหัวคู และบ้านพานพัฒนารวม 1,472 ครัวเรือน เพิ่มปริมาณเก็บกัก 3.188 ล้านลูกบาศก์เมตร และสามารถระบายน้ำออกในช่วงน้ำหลากได้อย่างรวดเร็ว

                4) งานโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำทบ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 5 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน ระยะเวลาดำเนินงานรวม 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 ถึงปีงบประมาณพุ 2564 เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะมีความจุของอ่างเก็บน้ำ 7.43 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการอุปโภคบริโภคเพียงพอในเขต 7 หมู่บ้าน และช่วยบรรเทาอุทกภัยในเขตตัวอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย โดยอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำทบสามารถลดพื้นที่รับน้ำฝนที่ก่อให้เกิดน้ำหลากได้ประมาณร้อยละ 6.25 ของพื้นที่รับน้ำฝนที่ก่อให้เกิดน้ำหลากที่อำเภอวังสะพุง

5) โครงการแก้มลิงสระบัว หรืออ่างเก็บน้ำทุ่งกระจูด พร้อมระบบระบายน้ำ ระยะที่ 2 อยู่ในตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่เกิดปัญหาน้ำท่วมขังซ้ำซาก ทำให้บ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย อีกทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน ได้มีหนังสือขอให้กรมชลประทานสำรวจพื้นที่ โครงการแก้มลิงสระบัว พร้อมระบบระบายน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณ ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

6) งานกำจัดวัชพืชในลุ่มน้ำต่าง ๆ โดยเฉพาะ ลุ่มน้ำภาคกลาง

7) งานสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือด้านภัยแล้งให้ประชาชนมีน้ำในการอุปโภค บริโภค รวมทั้งสูบน้ำเพื่อบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ในช่วงฤดูน้ำหลาก เร่งระบายน้ำให้ลดลงโดยเร็วเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชน

  • การพัฒนาสำนักเครื่องจักรกล ภายใต้การบริหารของท่านมีทิศทางอย่างไร

สำนักเครื่องจักรกลในอดีตหลายสิบปี เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญลำดับต้นในการบริหารจัดการงานของกรมชลประทานในด้านเครื่องจักรกล เพราะจะเป็นหน่วยงานหลักหรือเป็นพระเอกที่ทำหน้าที่ก่อสร้างแหล่งน้ำ เช่น ทำนบดิน (เขื่อน) สำหรับอ่างเก็บน้ำ ด้วยเครื่องจักรกลก่อสร้างงานดินหรือที่เรียกว่า แทรกเตอร์ งานผลิตอุปกรณ์ บังคับน้ำ งานซ่อมแซมบำรุงรักษาแหล่งน้ำ เนื่องจากเป็นมีความพร้อมในด้านเครื่องจักร เครื่องมือ บุคลากร และองค์ความรู้

แต่ในช่วงระยะหลังประมาณ 10-20 ปี ที่ผ่านมา สำนักเครื่องจักรกลได้ถดถอยลง ด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น เครื่องจักรกลที่เสื่อมสภาพและไม่ได้รับการทดแทนมานาน บุคลากรที่ลดลงตามนโยบายภาครัฐ องค์ความรู้ขาดการถ่ายทอดอย่างจริงจัง หลังผมเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล ได้พัฒนาสำนักเครื่องจักรกลในหลายๆ ด้าน ได้แก่ การพัฒนาเครื่องจักรเครื่องมือ, จัดทำแผนความต้องการเครื่องจักร เครื่องมือใหม่โดยวิเคราะห์จากยุทธศาสตร์กรม ยุทธศาสตร์กระทรวง ยุทธศาสตร์ชาติ และสภาพปัญหาต่างๆ เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง เพื่อเป็นกำหนดกรอบความจำเป็นต้องใช้ เครื่องจักร เครื่องมือ และจัดทำแผนการจัดหาทดแทนและเพิ่มประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรม

ปัจจุบันในด้านเครื่องจักรกล กรมไว้วางใจมอบหมายงานให้ดำเนินการจำนวนมาก โดยเฉพาะที่เป็นงานเร่งด่วน เครื่องจักรที่ได้รับสามารถตอบสนองภารกิจของกรมได้อย่างทันท่วงที เช่น การก่อสร้างแก้มลิง การขุดลอกแหล่งน้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำการกำจัดวัชพืช รวมถึงแก้ไขปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง และการสนับสนุน การแก้ไขและป้องกันภัยอื่นๆ

มีการพัฒนาบุคลากรให้เข้าใจถึงคุณค่า เป้าหมาย วิสัยทัศน์ แนวคิด หรือจุดประสงค์ที่ชัดเจน สร้างความมีส่วนร่วม สร้างความผูกพันหรือ ความรู้สึกมีส่วนร่วมให้กับเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนา จัดอบรมหรือการส่งเสริม เรียนรู้ทักษะ โดยเน้นย้ำให้มีแผนการจัดอบรมประจำปี ด้านเครื่องจักรกลและด้านอื่นๆ การฝึกงานของข้าราชการบรรจุใหม่ และจัดให้ปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ เครื่องจักรกล เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเครื่องจักรกลขึ้น โดยกำหนดเป้าหมายให้เป็นศูนย์เรียนรู้ในระดับประเทศ และสร้างความต่อเนื่องในการจัดอบรม ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ชัดเจน สามารถประเมินผลได้ และได้รับผลลัพธ์ที่ คุ้มค่าตอบแทนกลับมาอย่างเป็นรูปธรรม

กำหนดนโยบายให้ดำเนินการงานภาคสนาม เช่น งานก่อสร้าง งานขุดลอก งานกำจัดวัชพืช อย่างมีคุณภาพ รวดเร็ว ทันเวลา มีการตรวจสอบ ติดตามอย่างต่อเนื่อง มีการเปรียบเทียบคุณภาพงานของแต่ละส่วนงานเพื่อ การปรับปรุง พัฒนาในส่วนที่ด้อยกว่า โดยบทบาทที่สำนักเครื่องจักรกลจะต้อง เป็นส่วนหลักในการขับเคลื่อนให้กรมชลประทานบรรลุเป้าหมายคือ

1. มีเครื่องจักรกลและเครื่องมือ บุคลากรที่มีองค์ความรู้ พร้อมดำเนินกำรอย่างมีประสิทธิภาพทั้งใน เชิงคุณภาพ ความรวดเร็ว และต้นทุน สำหรับงานด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามศักยภาพ ลักษณะลุ่มน้ำ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ ตามวัตถุประสงค์การใช้น้ำ เช่น การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ แก้มลิง ระบบผันน้ำ ระบบส่งน้ำ ได้ไม่น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ของแผนดำเนินการในภาพรวม

2. มีเครื่องจักรกลและเครื่องมือ บุคลากรที่มีองค์ความรู้ พร้อมเผชิญเหตุอย่างรวดเร็วทันต่อ เหตุการณ์ ปฏิบัติงานแบบเชิงรุกเพื่อการป้องกัน มีประสิทธิภาพทั้งในเชิงความคุ้มค่ำ สำหรับมีการป้องกันความ เสียหายและสนับสนุนการบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ เช่น งานสูบน้ำ ผันน้ำ เพื่อป้องกันและบรรเทาภัยแล้ง การผลักดันน้ำเพื่อเร่งการระบายในน้ำหลาก การสูบน้ำ ผลักดันน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศหรือป้องกันน้ำเค็ม การขุดลอก แหล่งน้ำ คลองระบายน้ำ การกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ การกำจัดวัชพืช เป็นต้น

3. ปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงาน โดยให้มีส่วนวิจัยและพัฒนาเครื่องกล และมีเป้าหมายองค์กร อัจฉริยะ มีระบบควบคุม ติดตามและบริหารเครื่องจักรกลแบบ Online และ Realtime เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...