ปากเสียงของ
คนท้องถิ่น
เพื่อการพัฒนาประเทศ
วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน 2568
หน้าแรก
อปท. นิวส์
เกี่ยวกับอปท. นิวส์
โปรไฟล์ผู้บริหาร
ข่าวสาร
ข่าวเด่น / ไฮไลท์
ความสัมพันธ์ไทย - จีน และ เศรษฐกิจเพื่อนบ้าน
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์
สังคม / บุคคล
ท้องถิ่นไทย
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
การเมือง / การปกครอง
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ธรรมาภิบาล
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
คุณภาพชีวิต
เศรษฐกิจชุมชน
เกษตรนำไทย
สื่อสาร - คมนาคม
ท่องเที่ยว
ข่าววงใน!!!
ปฏิทินข่าว
อปท.นิวส์โพล
ข่าวย้อนหลัง
วิดีโอ
ฉบับย้อนหลัง
สมัครสมาชิก
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
ย้อนกลับ
สทนช.ศึกษาการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลเพื่อรองรับความเสี่ยงการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ EEC
27 เม.ย. 2564
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุม Kick off Meeting โครงการศึกษาการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลเพื่อแก้ไขปัญหาความเสี่ยงของการขาดแคลนน้ำในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยมี นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการ สทนช. นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการ สทนช. นายทศพล วงศ์วาร ผู้ช่วยเลขาธิการ สทนช. ทีมที่ปรึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เข้าร่วมประชุม พร้อม VDO Conference ไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบสรุปผลการจ้างที่ปรึกษาฯ สัญญา ข้อกำหนด และขอบเขตของงาน รวมทั้งพิจารณาแผนปฏิบัติงานของที่ปรึกษาฯ ณ ห้องประชุมน้ำปิง ชั้น 4 อาคารจุฑามาศ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ประธานในที่ประชุมกล่าวว่า โครงการศึกษาการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลเพื่อแก้ไขปัญหาความเสี่ยงของการขาดแคลนน้ำในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นโครงการตามนโยบายของรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ที่เป็นกังวลต่อสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยเฉพาะพื้นที่อีอีซี ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่มีความสำคัญของประเทศ มีแนวโน้มการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว และมีความต้องการใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีผลต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และส่งผลกระทบต่อความแปรปรวนของปริมาณน้ำฝนน้ำท่า จึงต้องทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำน้ำทะเลมาผลิตเป็นน้ำจืด และต้องมีการศึกษาวิเคราะห์อย่างรอบด้าน เพื่อประเมินความเสี่ยงและปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความขาดแคลนน้ำทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยการศึกษาดังกล่าว จะทำการศึกษาในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง และเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ติดกับทะเล แต่มีรูปแบบการใช้น้ำ การใช้ที่ดินและกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน จึงต้องทำการศึกษาวิเคราะห์อย่างรอบด้านให้ครอบคลุมในทุกมิติที่เชื่อมโยงกันในแต่ละด้านของบริบทในพื้นที่ กฎระเบียบและข้อกฎหมายต่างๆ วิเคราะห์เปรียบเทียบเทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งการวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือกอื่นๆ ในการนำน้ำจากผิวดินมาใช้ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจสำหรับเอกชนที่ต้องการลงทุนสร้างโรงงานผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล นอกจากนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดที่จะส่งผลกระทบต่อการทำการศึกษาฯ จึงต้องปรับแนวทางในการลงพื้นที่สำรวจและมาตรการต่างๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น เพื่อให้โครงการศึกษาฯ สามารถขับเคลื่อนได้ตามแผนที่วางไว้ และให้ได้ผลการศึกษาที่มีความสมบูรณ์ มีข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อมตะ วีเอ็น ฉลอง 30 ปี ยกร...
27 ก.พ. 2568
ทส. ผนึกกำลัง 7 กระทรวง เพ...
25 ก.พ. 2568
รมว.นฤมล เยือนหนองคาย ลุยพ...
17 มี.ค. 2568
กปภ.รวมพลัง ราษฎร์ รัฐ ร่ว...
06 มี.ค. 2568
ปตท. ได้รับการรับรองระบบงา...
08 เม.ย. 2568
กัลฟ์” ชู 4 กลยุทธ์ยกระดับ...
05 มี.ค. 2568
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
ฉบับที่ 450 ปักษ์หลัง
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2568
อปท.นิวส์
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ดูทั้งหมด
มงคล วิมลรัตน์ อธิบดีกรมพลศึกษา (ป้ายแดง)
21 เม.ย. 2568
“กีฬา ... กีฬา ... เป็นยาวิเศษ” ส่วนหนึ่งของคำประพันธ์ที่นำมาร้องกันในสมัยก่อน หรืออาจจะร่วมถึงในยุคสมัยนี้ด้วยก็คงไม่ผิด และแน่นอนความหมายของนั้นก็คือ การเล่นกีฬา การออกกำลังกายนั้น มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเปรียบเสมือนเกราะป้องกันโรคภัยของเรานั่นเอ...