นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รับข้อเรียกร้องวันแรงงาน นำเสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อช่วยเหลือพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงานให้ได้รับการคุ้มครอง ปลอดภัยในการทำงาน และมีหลักประกันทางสังคม
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน และผู้บริหารระดับสูงสังกัดกระทรวงแรงงาน รับข้อเรียกร้องในวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2564 จากนายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และนายชาลี ลอยสูง ที่ปรึกษาคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย นำเสนอต่อรัฐบาล มีจำนวน 12 ข้อ และข้อเสนอเร่งด่วนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 จำนวน 10 ข้อ โดยนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า เนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม เป็นประเพณีปฏิบัติที่ผู้นำแรงงานจะได้ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อให้รัฐบาลดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลและกำกับกระทรวงแรงงานตระหนักถึงความสำคัญของพี่น้องผู้ใช้แรงงาน โดยให้พิจารณาดำเนินการตามข้อเรียกร้องของผู้นำแรงงาน ซึ่งกระทรวงแรงงานมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาแรงงานให้มีศักยภาพสูงและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานและครอบครัว ให้มีความมั่นคงและสามารถดำรงชีพได้อย่างยั่งยืนและมีศักดิ์ศรี เกิดการพัฒนาทุกด้านอย่างสมดุลในทุกมิติ ทั้งในด้านการป้องกันและเเก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ความปลอดภัยในการทำงานการส่งเสริมการมีงานทำ การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวการสร้างหลักประกันทางสังคมแก่แรงงานนอกระบบและกลุ่มเปราะบาง การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน รวมถึงการยกระดับประกันสังคมเพื่อให้ผู้ใช้แรงงานได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นไปตามข้อเรียกร้องในปีที่ผ่านมา
สำหรับข้อเรียกร้องที่เสนอต่อรัฐบาล จำนวน 12 ข้อ ได้แก่ 1) รัฐต้องจัดสวัสดิการถ้วนหน้าที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชนทุกคนได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียม โดยไม่เลือกปฏิบัติ ดังนี้ 1.1) ด้านสาธารณสุข ประชาชนทุกคนต้องเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพและไม่มีค่าใช้จ่าย 1.2) ด้านการศึกษา ประชาชนทุกคนต้องเข้าถึงการศึกษาในทุกระดับ ทั้งในระบบและการศึกษาทางเลือกโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 2) รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน ดังนี้ 2.1) กำหนดนิยามค่าจ้างขั้นต่ำแรกเข้าให้มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพของตนเองและครอบครัว 2 คน ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และต้องเท่ากันทั้งประเทศ 2.2) กำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้างและมีการปรับค่าจ้างทุกปี 3) รัฐบาลต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ดังนี้ 3.1) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน 3.2) ฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง เพื่อสร้างหลักประกันในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง 3.3) ฉบับที่ 183 ว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นมารดา 4) รัฐต้องหยุดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในทุกรูปแบบ และให้มีการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพในการให้บริการที่ดี มีคุณภาพ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน ดังนี้ 4.1) ยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ 4.2) จัดตั้งกองทุนพัฒนารัฐวิสาหกิจ 4.3) ให้มีการบริหารจัดการที่โปร่งใส ตรวจสอบได้และการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ 5) รัฐบาลต้องยกเลิกนโยบายการจำกัดอัตรากำลังบุคลากรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และยกเลิกนโยบายการลดสิทธิประโยชน์ สวัสดิการของพนักงานและครอบครัว 6) รัฐต้องกำหนดให้ลูกจ้างภาครัฐในหน่วยงานราชการต่างๆ ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นรับค่าจ้างจากงบประมาณแผ่นดิน และต้องบรรจุเป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างประจำ 7) รัฐต้องปฏิรูปการประกันสังคม ดังนี้ 7.1) ปฏิรูปโครงสร้างสำนักงานประกันสังคมให้เป็นอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้ผู้ประกันตนมีส่วนร่วม 7.2) การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมต้องเป็นไปในสัดส่วนที่เท่ากันทั้งรัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตน 7.3) ดำเนินการบริหารจัดการให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 และมาตรา 33 ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เท่าเทียมกัน 7.4) เพิ่มสิทธิประโยชน์สำหรับผู้รับเงินชราภาพเป็นอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเดือนสุดท้าย 7.5) ให้สำนักงานประกันสังคมประกาศใช้อนุบัญญัติทั้ง 17 ฉบับ ที่ออกตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2558 7.6) ขยายกรอบเวลาในการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลของกองทุนเงินทดแทนจนสิ้นสุดการรักษาตามวินิจฉัยของแพทย์ 7.7) สนับสนุน ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสถาบันการเงินของผู้ใช้แรงงาน (ธนาคารแรงงาน) และจัดสร้างโรงพยาบาลในภูมิภาคต่างๆ ตามสัดส่วนผู้ประกันตนในพื้นที่ พร้อมกับผลิตแพทย์ พยาบาลและบุคลากรด้านอื่นๆ ของสำนักงานประกันสังคม รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างคนงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชย หรือจ่ายไม่ครบที่กฎหมายกำหนด เช่น การปิดกิจการ หรือการยุบเลิกกิจการในทุกรูปแบบ (ตามรัฐธรรมนูญ หมวด 5 มาตรา 53) 9) รัฐต้องจัดตั้งหองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุน โดยให้นายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุน เพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิของคนงาน เมื่อมีการเลิกจ้างหรือปิดกิจการ โดยนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย คนงานต้องได้สิทธิรับเงินจากกองทุนนี้ พร้อมทั้งการสนับสนุนค่าดำเนินการทางคดีระหว่างผู้ประกอบการกับคนงาน หรือรัฐกับผู้ประกอบการที่ทำผิดกฎหมาย 10) รัฐต้องพัฒนากลไกเข้าถึงสิทธิและการบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างจริงจัง และจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่สถาบันความปลอดภัยฯ ให้เพียงพอ สำหรับการบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพ และสร้างกลไก กติกา ภายใต้การมีส่วนร่วมของคนงานทุกภาคส่วน และยกเลิกการใช้แร่ใยหินทุกรูปแบบ 11) รัฐต้องยกเลิกการจ้างงานที่ไม่มั่นคง เช่น การจ้างงนแบบชั่วคราว รายวัน รายชั่วโมง เหมาค่าแรงงาน เหมางาน เหมาบริการ และการจ้างงานบางช่วงเวลา ทั้งภาครัฐและเอกชน 12) ข้อเสนอเพื่อคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ ด้งนี้ 12.1) รัฐบาลต้องสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับทุกคนโดยไม่คำนึงถึงสถานะและไม่เลือกปฏิบัติต่อชาติใดชาติหนึ่ง เพื่อประสิทธิภาพในการเข้าถึงการรักษาโรคและเยียวยาต่อแรงงานข้ามชาติโดยไม่เลือกปฏิบัติ 12.2) รัฐบาลต้องให้แรงงานข้ามชาติทุกคนเข้าถึงสิทธิเงินกองทุนทดแทน เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานไม่ว่ากรณีใด 12.3) รัฐบาลต้องให้โครงการเยียวยา “ม33 เรารักกัน” ช่วยเหลือเยียวยากับแรงงานข้ามชาติที่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยไม่เลือกปฏิบัติและยกเลิกเงื่อนไขว่าต้องมีสัญชาติไทยและให้การช่วยเหลือผู้ประกันตนมาตรา 38
ทั้งนี้ ข้อเสนอเร่งด่วน ให้รัฐบาลออกมาตารการใรการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและคนทำงานในช่วงโควิด – 19 จำนวน 10 ข้อ ได้แก่ 1) ให้เร่งฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนโดยเร็วและเปิดโอกาสให้ผู้มีความพร้อมในการนำเข้า และฉีดวัคซีนที่มีมาตรฐานผ่านการรับรองจากรัฐเพื่อฉีดให้แก่คนใกล้ชิดและพนักงาน ในสถานประกอบการของตนเองเพื่อลดภาระของรัฐ และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต้อง ครอบคลุมแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในประเทศไทย 2) กำหนดมาตรการดูแลที่ดีต่อบุคคลที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ เช่น บุคลากรทาง การแพทย์ สาธารณสุข พนักงานที่ให้บริการแก่ประชาชนในการบริการสาธารณะ ทั้งเรื่องวัคซีน เครื่องมืออุปกรณ์ การตรวจ การป้องกัน ให้เพียงพอ 3) ให้ประชาชน คนทำงาน ทุกกลุ่มสาขาอาชีพ รวมทั้งแรงงานข้ามชาติ เข้าถึงการบริการ การตรวจโรคอย่างทั่วถึง เท่าเทียมและเป็นธรรม 4) ให้รัฐบาลสนับสนุนค่าใช้จ่ายของประชาชน ในเรื่องสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น เพราะจะเกิดประโยชน์ กับทุกคน ทุกครอบครัว และการสนับสนุนนี้ต้องเป็นงบประมาณจากรัฐมิใช่ผลักภาระ ให้หน่วยงานบริการ 5) การเยียวยา ช่วยเหลือ หากมีความจำเป็น ต้องเท่าเทียม เป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติ ครอบคลุมคนยากจน คนรายได้น้อย และดูแลแรงงานข้ามชาติอย่างเหมาะสมในฐานะ มนุษย์ที่มีความทุกข์ยากเหมือนกัน 6) ยกเลิก หรือ ลด การเก็บค่าบำรุงการศึกษา (ค่าเทอม) เพราะรัฐบาลมีนโยบายให้มีการ เรียนผ่านระบบออนไลน์ 7) รัฐบาลต้องควบคุมราคาสินค้าไม่ให้มีราคาแพงและลงโทษกับผู้ที่ฉวยโอกาส บนความ ทุกข์ยากของประชาชน ???? รัฐต้องควบคุมการจัดการเรื่องโควิด 19 โดยเฉพาะเรื่องการจัดซื้อ จัดจ้าง การใช้จ่าย งบประมาณ เป็นไปด้วยความโปร่งใส ไม่ให้มีการทุจริตในทุกระดับขั้นตอน 9) รัฐต้องหาแนวทาง สร้างมาตรการให้หน่วยงาน สถานประกอบการทั้งภาครัฐและ เอกชนให้รักษาการจ้างงานเอาไว้ไม่ให้มีการเลิกจ้าง หรือใช้สถานการณ์โควิดเลิกจ้าง คนงานเพราะจะเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ให้วิกฤตเพิ่มมากขึ้น และ 10) รัฐบาลได้ประกาศให้โรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง ซึ่งมีผลกระทบต่อ คนทํางานที่เจ็บป่วยจากโรคดังกล่าว และในอนาคตเป็นไปได้ว่าอาจจะมีโรคระบาด ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีก ดังนั้น รัฐบาลจะต้องกำหนดระเบียบหรือมาตรการที่ชัดเจนในเรื่อง ของการคุ้มครอง การรักษาพยาบาล และสิทธิประโยชน์ค่าทดแทนให้กับคนงานที่อาจ จะเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคเหล่านี้