ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
รมว.สุชาติ ให้กำลังใจผู้ใช้แรงงาน ในวันแรงงานแห่งชาติ ยัน ก.แรงงาน มุ่งขับเคลื่อนนโยบายยกระดับคุณภาพชีวิต ดูแลแรงงานดุจคนในครอบครัว
01 พ.ค. 2564
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้กำลังใจผู้ใช้แรงงานเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ปี 2564 ก้าวข้ามวิกฤติโควิด-19 ไปด้วยกัน ยืนยัน รัฐบาลและกระทรวงแรงงานตระหนักถึงความสำคัญของพี่น้องผู้ใช้แรงงาน เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมมุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ดูแลแรงงานดุจคนในครอบครัว นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2564 รัฐบาล ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ตระหนักถึงความสำคัญของพี่น้องผู้ใช้แรงงาน จึงได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงานส่งความระลึกถึงและความปรารถนาดีมายังพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกสาขาอาชีพทั้งในและต่างประเทศ และเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติในปีนี้ ผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จึงถือโอกาสนี้ขอบคุณพี่น้องผู้ใช้แรงงานที่มีส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงให้แก่เศรษฐกิจและสังคมมาโดยตลอด และขออวยพรให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกท่านมีความสุข สุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 นายสุชาติ ยังกล่าวถึงนโยบายของกระทรวงแรงงาน ที่จะดำเนินการใน 5 ด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน พัฒนาทักษะฝีมือให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดย Up-Skills & RE-Skills และ New-Skills โดยเน้นอาชีพใหม่ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย จัดฝึกอบรมหลักสูตรออนไลน์เพื่อแรงงานทั้งในและนอกระบบ เช่น ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เทคนิคการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ เป็นต้น สนับสนุนเงินทุนจากกองทุนเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปพัฒนาทักษะฝีมือลูกจ้างในสถานประกอบการ 2) ด้านการหางานให้ทำ จัดหาตำแหน่งงานว่างทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันมีตำแหน่งงานว่างแล้วจำนวนกว่า 200,000 อัตรา รวมทั้ง สนับสนุนการจ้างงานในพื้นที่ เพื่อรักษาสภาพการจ้าง พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อรองรับการสมัครงาน โดยพัฒนาแอพพลิเคชั่นให้สามารถเชื่อมโยงระหว่างนายจ้าง แรงงาน และสถาบันฝึกอบรมได้อย่างง่าย สะดวก รวดเร็วมากขึ้น เพิ่มทักษะแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ โดยอบรมให้ความรู้แก่แรงงานไทยก่อนเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ เช่น ทักษะด้านภาษา เทคโนโลยี กฎหมาย วัฒนธรรมความเป็นอยู่แต่ละประเทศ เป็นต้น 3) ด้านสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานหลังเกษียณ ภายใต้โครงการ ‘แรงงานพันธุ์ดี’ โดยจะดำเนินการนำร่องในสถานประกอบการเพื่อเป็นต้นแบบ จำนวน 9 แห่ง เพื่อให้แรงงานที่เตรียมตัวจะเกษียณสามารถนำความรู้ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ต่อยอดในการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้และเลี้ยงดูตนเองหลังเกษียณ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยการพิจารณากฎหมายของกระทรวงแรงงานทุกฉบับไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกัน และแก้ไขปรับปรุงสาระสำคัญให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ด้านแรงงานที่เป็นปัจจุบัน แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานเพื่อมุ่งสู่เทียร์ 1 โดยกำชับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด รวมทั้ง ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้นายจ้างใช้แรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย ไม่ใช้แรงงานเด็กหรือแรงงานบังคับ ยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ โดยให้การดูแล คุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนาด้านอาชีพ โดยการปรับปรุงวัตถุประสงค์และรายละเอียดของกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำงานที่บ้านให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบในทุกกลุ่มอาชีพ ดูแลและคุ้มครองแรงงานกลุ่มเปราะบาง (ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม) ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาด้านการประกอบอาชีพ หางานที่เหมาะสมให้ทำ และสร้างหลักประกันทางสังคม 4) ด้านการสร้างหลักประกันทางสังคม ตรวจโควิด-19 เชิงรุก เพื่อผู้ประกันตน ตามโครงการแรงงาน...เราสู้ด้วยกัน บูรณาการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย โดยกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด และ สปสช. ดำเนินการตรวจโควิด-19 ใน 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ชลบุรี เชียงใหม่ และสมุทรปราการ ซึ่งจะดำเนินการจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะคลี่คลาย เร่งจ่ายเงินทดแทนกรณีว่างงานจากผลกระทบโควิด-19 เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับเงินเยียวยาสำหรับนำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวันในช่วงที่การแพร่ระบาดยังไม่คลี่คลาย ปล่อยเงินกู้ให้กับผู้ประกอบการในการรักษาการจ้างงานในวงเงิน 30,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ให้คงสภาพการจ้างงาน จัดตั้งสถาบันการแพทย์เพื่อผู้ใช้แรงงาน เป็นโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานประกันสังคม เพื่อให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม และ 5) ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อบริการด้านแรงงาน ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลด้านแรงงานให้มีประสิทธิภาพ โดยการสร้าง Big Data ด้านแรงงานให้ครอบคลุมทุกภารกิจและสามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาระบบให้บริการแก่แรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศ โดยพัฒนาระบบ Line official account ชื่อ ‘น้องสิทธิ’ เพื่อเป็นช่องทางติดต่อสื่อสาร สอบถามสิทธิประโยชน์ต่างๆ สามารถดาวน์โหลดคู่มือสิทธิประโยชน์และข้อมูลพื้นฐานในประเทศที่ไปทำงาน เช่น ค่าจ้างขั้นต่ำ ชั่วโมงการทำงาน วันหยุด เป็นต้น “ผมขอให้กำลังใจพี่น้องผู้ใช้แรงงานก้าวข้ามวิกฤติโควิด-19 ไปด้วยกัน เราจะมุ่งขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและดูแลแรงงานดุจคนในครอบครัว เพื่อพัฒนาแรงงานให้มีศักยภาพสูง มีความมั่นคง สามารถดำรงชีพได้อย่างยั่งยืนต่อไป” นายสุชาติ กล่าวในท้ายสุด
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...