ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
ศบค.ยืนยันรายงานข้อมูลตามข้อเท็จจริง เพื่อให้ประชาชนเข้าใจสถานการณ์
10 พ.ค. 2564

 

แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ยืนยันไม่มีการปกปิดข้อมูลตัวเลขผู้ป่วย พร้อมเปิดเผยตัวเลขการตรวจคัดกรองผู้ป่วยในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลไปแล้วกว่า 200,000 คน โดยเป็นการตรวจในพื้นที่กทม.ประมาณ 100,000 คน และปริมณฑลอีก 100,000 คน ทั้งนี้มีการตรวจเชิงรุกต่อวันประมาณ 10,000 คน

ตรวจเชิงรุกเข้มข้นลงพื้นที่

แม้ที่ผ่านมาจะสามารถตรวจไปได้จำนวนไม่น้อย แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันยังจำเป็นต้องมีการเพิ่มจำนวนการตรวจให้มากขึ้น เพื่อเร่งในการควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัด ซึ่งจะปรับแผนตรวจเชิงรุก โดยเพิ่มบุคลากรลงพื้นที่เพื่อตรวจได้เร็วและมากขึ้น และทุกจังหวัดมีการคัดกรองเชิงรุกอย่างเต็มที่ปัจจุบันให้รายงานเข้ามาทั้งจำนวนคนที่ติดเชื้อและจำนวนที่ตรวจแล้วไม่ติดเชื้อด้วย

ส่วนการระบาดในพื้นที่ชุมชนที่มีความกังวล ทาง กทม.ได้เฝ้าระวังชุมชนวัดโสมนัส ชุมชนวัดญวนคลองลำปัก ปากคลองตลาด และศูนย์การค้าเขตพระนคร ซึ่งเริ่มมีผู้ติดเชื้อและระวังไม่ให้แพร่เชื้อไปยังครอบครัว โดยระดมตรวจทุกเขตในจุดที่มีความเสี่ยงและจุดที่ไม่มีความเสียงจะสุ่มตรวจด้วย ทาง ศบค.จะตั้งศูนย์พักคอยเพื่อแยกผู้ป่วยไม่ให้ไปอยู่รวมกับครอบครัว เช่นโรงเรียน วัด มีการจัดถุงยังชีพ ดูแลด้านอนามัย เพื่อคอยเข้าสู่ระบบช่วยเหลือตามอาการต่อไป

การกระจายวัคซีน

จะมีวัคซีนพร้อมฉีด 2.5 ล้านโดส กระจายไปทั่วประเทศ กทม.มีแผนระดมฉีดให้ผู้ขับขี่รถสาธารณะ (แท็กซี่) ครู พนักงานเก็บขยะ พนักงานการท่าอากาศยานดอนเมือง การท่าเรือ พนักงานการไฟฟ้า ประปา (ผู้ที่ทำงานบริการ เรือ รถ เครื่องบิน) ซึ่งสอดคล้องกับกรมควบคุมโรคที่จะฉีดให้กับบุคคลที่ทำงานด้านสาธารณะ โดยมีสถานที่ฉีดของ กทม.(ที่ไม่ใช่โรงพยาบาล) 115 แห่ง และเอกชน 14 แห่ง กระจายไปยังมหาวิทยาลัย สถานที่ฉีดที่ไม่ใช่โรงพยาบาล จะมีโรงพยาบาลพี่เลี้ยงคอยดูแล

กรณีผู้ป่วยสะสมเกิน 5 หมื่นคน ผู้ป่วยหนักเพิ่มขึ้น จะรองรับอย่างไร

ผู้ช่วยโฆษก ศบค.ระบุว่า แม้ปัจจุบันมีผู้ป่วยสะสม 50,000 ราย แต่จำนวนดังกล่าวมีตัวเลขผู้ที่หายหายป่วยแล้วราว 20,000 ราย รักษาตัวอยู่ประมาณ 29,000 ราย อยู่ใน รพ.สนาม 8,000 ราย อยู่ใน รพ.ประมาณ 20,000 ราย มีผู้ป่วยอาการหนัก 1,000 ราย ในระดับนี้ระบบสาธารณสุข จำนวนบุคลากร อุปกรณ์ ยังพอรองรับได้ แต่ถ้ามากกว่านี้จะเริ่มมีปัญหาผู้ป่วยจะเริ่มรอเตียงมากขึ้น ขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์และต้องลดจำนวนผู้สัมผัสเสี่ยงสูงให้ได้ ถ้าเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ขอให้กักตัว เพราะจากตัวเลขจะมีการติดต่อภายในครอบครัว เพื่อนสนิท และการเดินทางไปยังสถานที่แออัด รวมถึงการขอความร่วมมือหน่วยงานราชการให้ปฏิบัติงานที่บ้าน ลดการเดินทาง ลดการสัมผัส

เปิด โรงพยาบาลที่ เมืองทองธานีรองรับผู้ป่วย

จากข้อมูลขณะนี้พบว่า จากตัวเลขผู้ป่วย 100 คน จะอาการหนัก 4 คน และ 1-2 คนต้องการเครื่องช่วยหายใจ ปัจจุบันมีผู้ป่วยอาการหนัก 739 ราย เพราะฉะนั้น 1 วันจะต้องใช้เตียงสำหรับผู้ป่วยหนัก 25 เตียง ปัจจุบันได้เปิดโรงพยาบาลบุษราคัม ที่อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี รองรับผู้ที่มีอาการและผู้ที่มีอาการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยรับผู้ป่วยจาก กทม.ปริมณฑลและโรงเรียนแพทย์ แต่จะมีความแตกต่างจากโรงพยาบาลสนาม จะรักษาผู้ป่วยที่มีรายละเอียดมากขึ้น มีบุคลากรการแพทย์เพิ่มเติมช่วยพลิกตัวผู้ป่วย การให้ออกซิเจน ซึ่งจะสามารถรับผู้ป่วยได้ในสัปดาห์นี้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...