ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
ตลาดแรงงานไทยในอิสราเอลสดใส งานเกษตรมากสุด
09 พ.ย. 2558

          พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าภายหลังให้การต้อนรับ H.E. Mr. Simon Roded (นายชิมอน โรเดด) เอกอัครราชทูตรัฐอิสราเอลประจำประเทศไทย ซึ่งเข้าเยี่ยมคารวะและหารือถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยและอิสราเอลที่มีมาอย่างช้านาน ทั้งในระดับรัฐบาล และระดับกองทัพ

ที่สำคัญความร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงานของไทยและอิสราเอล ในการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่อิสราเอล มีแนวโน้มที่สดใสมากขึ้นด้วย ปัจจุบันมีแรงงานไทยไปทำงานอยู่ประมาณ 30,000 คน เป็นแรงงานที่ไปทำงานตามโครงการของ IOM ประมาณ 20,000 คน อีกทั้งยังได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยดีตลอดมา

          H.E. Mr. Simon Roded เปิดเผยว่า สองประเทศได้มีความร่วมมือด้านแรงงานในการส่งแรงงานไปทำงาน ซึ่งทางอิสราเอลได้ปฏิบัติและดำเนินการตามข้อตกลง (Agreement) จัดสวัสดิการและให้การคุ้มครองแรงงานที่เข้าไปทำงานในอิสราเอล รวมถึงยังให้ความสำคัญกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของแรงงานไทยในลักษณะการไหลตาย หรือ Sudden Unexplained Nocturnal Death Death (SUND-ไหลตาย) or Sleeping Death ด้วย

          พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า มั่นใจว่าทางอิสราเอลได้ดูแลแรงงานไทยที่ไปทำงานเป็นอย่างดี ส่วนเรื่องของปัญหาการเสียชีวิตของแรงงานไทยหรือไหลตายนั้น ทั้งสองฝ่ายจะเพิ่มความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง โดยกระทรวงแรงงาน ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพสำหรับแรงงานไทยไปทำงานในต่างประเทศร่วมกันดูแลแรงงานไทย

          นอกจากนี้ยังมีการเตรียมความพร้อม โดยตรวจสุขภาพแรงงานก่อนจะเดินทางไปทำงานที่อิสราเอล เช่น ตรวจคลื่นหัวใจ (EKG) ของผู้ที่จะเดินทางไปทำงาน เป็นต้น ซึ่งทางอิสราเอลจะจัดคณะแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญหารือร่วมกับแพทย์ฝ่ายไทย เพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานไทยเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ (ไหลตาย) ขณะทำงานในอิสราเอลด้วย ทั้งนี้ยังได้ฝากให้เอกอัครราชทูตรัฐอิสราเอลช่วยดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ของแรงงานไทยในอิสราเอล ฝ่ายไทยก็จะเพิ่มการเตรียมความพร้อมให้แก่แรงงานไทยก่อนเดินทางไปทำงาน เพื่อให้แรงงานทุกคนมีความสุขและความเป็นอยู่ที่ดี สามารถทำงานหารายได้ส่งกลับมาเลี้ยงดูครอบครัวได้สำเร็จตามที่ตั้งใจ

          จากข้อมูลของฝ่ายแรงงาน ณ สถานเอกอัครราชทูตกรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล  แรงงานไทยได้เริ่มเข้าไปทำงานในอิสราเอลตั้งแต่ปี  2523   งานที่ทำในระยะแรกได้แก่ พ่อครัว  แม่ครัว  และช่างฝีมือต่างๆ อาทิ ช่างเชื่อม  ช่างแอร์  ช่างซ่อมรถยนต์    ในปี 2527  จำนวนแรงงานไทยได้เพิ่มขึ้นเป็นพันคน   โดยเข้าไปทำงานในรูปอาสาสมัครตามคิบบุตส์  และโมชาฟ  

          ในปี 2537  หลังจากปิดพรมแดนอิสราเอลกับเขตยึดครองเพื่อป้องกันปัญหาการก่อการร้ายจากกลุ่มปาเลสไตน์หัวรุนแรง  ทางการอิสราเอลได้อนุญาตให้มีการนำเข้าแรงงานต่างชาติแทนคนงานปาเลสไตน์ในภาคก่อสร้าง  และภาคเกษตร คนไทยจึงเริ่มเข้าไปทำงานในอิสราเอลมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจำนวนเกือบ 26,000 คนในปัจจุบัน โดยทำงานในชุมชนอิสราเอลที่เรียกว่า Kibbutz  จำนวน 267 แห่ง และในชุมชนอิสราเอลที่เรียกว่า Moshav จำนวน 448  แห่งทั่วประเทศ 

          โมชาฟ  คือหมู่บ้านสหกรณ์การเกษตร ปกครองตนเองภายในชุมชนแบบประชาธิปไตยมีสมาชิกแต่ละแห่งประมาณ  60-200  ครอบครัว แต่ละครอบครัวสามารถมีที่ดินเพื่อทำการเกษตรของตนเอง มีบ้านของตนเอง มีเครื่องมือทำการเกษตรของตนเอง โดยโมชาฟรับผิดชอบด้านการตลาด และจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ให้สมาชิกในราคาถูก รวมทั้งจัดการให้สมาชิกทุกคนได้ใช้น้ำและที่ดินเท่าเทียมกัน

          คิบบุตส์  คือชุมชนที่มีลักษณะคล้ายคอมมูน ซึ่งสมาชิกเป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกัน และได้รับการแบ่งปันผลกำไรตามผลงานที่ทำได้ในแต่ละปีแรงงานไทยในอิสราเอลส่วนใหญ่ทำงานในฐานะคนงานภาคเกษตร  โดยสามารถยึดตลาดแรงงานภาคเกษตรได้เกือบทั้งหมด  อัตราการเรียกรับค่าบริการสำหรับแรงงานไทยไปทำงานภาคเกษตรในประเทศอิสราเอลอยู่ระหว่าง   60,350 - 350,000  บาท  (ประมาณ 1,700 – 10,000 เหรียญสหรัฐ) ซึ่งค่าบริการและค่าใช้จ่ายที่เก็บจากคนหางานนี้ บริษัทจัดหางานในประเทศไทยต้องจ่ายให้บริษัทจัดหางานอิสราเอลสำหรับค่าการตลาด ค่าดูแลคนงานตลอดสัญญาจ้าง  ค่าบัตรโดยสารเครื่องบินเที่ยวกลับ  ค่าประกันสุขภาพสำหรับ 2 ปีแรก  และจ่ายให้นายจ้างอีกจำนวนหนึ่งด้วย แต่การจ่ายเงินของคนหางานให้กับบริษัทจัดหางานในประเทศไทยมักไม่มีหลักฐานการรับเงินตามจำนวนที่จ่ายจริง  สำหรับกรณีที่คนหางานจ่าย 60,750 บาท นั้น ไม่มีการจ่ายให้นายจ้างแต่อย่างใด  และไม่รวมค่าบัตรโดยสารเครื่องบินขากลับ  

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...