ปากเสียงของ
คนท้องถิ่น
เพื่อการพัฒนาประเทศ
วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2567
หน้าแรก
อปท. นิวส์
เกี่ยวกับอปท. นิวส์
โปรไฟล์ผู้บริหาร
ข่าวสาร
ข่าวเด่น / ไฮไลท์
ความสัมพันธ์ไทย - จีน และ เศรษฐกิจเพื่อนบ้าน
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์
สังคม / บุคคล
ท้องถิ่นไทย
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
การเมือง / การปกครอง
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ธรรมาภิบาล
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
คุณภาพชีวิต
เศรษฐกิจชุมชน
เกษตรนำไทย
สื่อสาร - คมนาคม
ท่องเที่ยว
ข่าววงใน!!!
ปฏิทินข่าว
อปท.นิวส์โพล
ข่าวย้อนหลัง
วิดีโอ
ฉบับย้อนหลัง
สมัครสมาชิก
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
ย้อนกลับ
สทนช.ระดมแนวคิดแก้ปัญหาน้ำเค็ม-น้ำท่วม-น้ำแล้ง 4 ลุ่มน้ำติดอ่าวไทย
11 พ.ค. 2564
สทนช. เร่งระดมแนวคิดจากหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญทุกด้าน วิเคราะห์หาจุดสมดุลระหว่างลุ่มน้ำ หาทางออกการแก้ปัญหาน้ำเค็ม-น้ำท่วม-น้ำแล้งใน 4 ลุ่มน้ำติดอ่าวไทยในระยะเร่งด่วนอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมเดินหน้าศึกษาการแก้ไขในระยะยาวอย่างยั่งยืน คาดพร้อมดำเนินการในปี 2565 ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำแนวทางการแก้ไขปัญหาการรุกตัวของน้ำเค็ม น้ำท่วมและน้ำแล้งในลุ่มน้ำติดอ่าวไทย โดยคณะอนุกรรมการฯ จากหน่วยงาน ผู้ทรงคุณวุฒิและภาคประชาชนที่ได้รับการแต่งตั้งจาก พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้เริ่มมีการประชุมหารือพร้อมลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์กันมาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ว่า จากโรดแมปการทำงานของคณะอนุกรรมการฯ ที่ต้องดำเนินการกำหนดกรอบแนวทางและขอบเขตในการศึกษาการแก้ไขปัญหาการรุกตัวน้ำเค็ม น้ำท่วม น้ำแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง (ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำท่าจีน ลุ่มน้ำบางปะกงตอนล่าง และลุ่มน้ำแม่กลองตอนล่าง) ให้แล้วเสร็จในระยะเวลา 90 วัน หรือภายในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ หลังจากนั้นต้องนำกรอบแนวทางการศึกษาที่ได้สรุปรายงานต่อ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐนตรี ประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ให้ความเห็นชอบต่อไปนั้น สทนช. ได้เร่งระดมแนวคิดจากผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ผู้แทนกลุ่มผู้ใช้น้ำในคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดในลุ่มน้ำที่ติดอ่าวไทย รวมทั้งได้เชิญอีก 4 หน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการรุกตัวของน้ำเค็ม ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม องค์การจัดการน้ำเสีย และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นสถานการณ์น้ำเสียและคุณภาพน้ำ และข้อห่วงกังวลด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม คุณภาพน้ำ และระบบนิเวศจากแนวคิดก่อสร้างประตูระบายน้ำปิดปากแม่น้ำ 4 สาย เพื่อให้การจัดทำแนวทางการแก้ไขปัญหามีความครอบคลุมในทุกมิติมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ จากการรวบรวม วิเคราะห์ และกลั่นกรองข้อมูลสถานการณ์ แนวทางการแก้ไขปัญหาจากทุกหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่ได้เสนอ รวมถึงการติดตามผลการดำเนินการตามมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2563/64 ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 63 ในช่วงฤดูแล้ง ปี 2563/64 นำมาทบทวนปรับปรุงแนวทางมาตรการแก้ไขปัญหาการรุกตัวของน้ำเค็ม น้ำท่วม และน้ำแล้งในลุ่มน้ำติดอ่าวไทยระยะเร่งด่วนในมิติของภาพรวม 3 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านอุปสงค์ (Demand) ปัจจุบันความต้องการใช้น้ำ (Demand) มีปริมาณที่สูงกว่าปริมาณน้ำต้นทุน (Supply) ในลำน้ำ โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มมากจากอดีต เนื่องจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และอุปโภคบริโภค จึงจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายในการสร้างสมดุลระหว่างความต้องการใช้น้ำและปริมาณน้ำต้นทุนในลุ่มน้ำ โดยการควบคุมการจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผนโดยเฉพาะภาคการเกษตร รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำของทุกภาคส่วนและลดต้นทุนการใช้น้ำในอนาคต 2)ด้านอุปทาน (Supply) ปริมาณน้ำต้นทุนมีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มสูงขึ้น สาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะเอลนีโญ (El Nino) ส่งผลให้ฝนตกปริมาณน้อยลงและแปรปรวนมาก ทำให้ปริมาณน้ำท่าและน้ำไหลลงเขื่อนลงลด เกิดการสูญเสียน้ำในระบบส่งทำให้ปริมาณน้ำที่ส่งได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนาน้ำต้นทุนไม่เพียงพอต่อความต้องการที่สูงเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายในการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนของแต่ละลุ่มน้ำ โดยการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพระบบส่งน้ำทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และอุปโภคบริโภคเชื่อมโยงแหล่งน้ำ จัดหาแหล่งน้ำสำรองทั้งผิวดินและใต้ดิน และพัฒนาแหล่งน้ำพื้นที่ต้นน้ำให้สามารถเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนได้เต็มศักยภาพ และ 3)ด้านบริหารจัดการ (Management) กลไกในการบริหารจัดการน้ำให้เกิดความสมดุลยังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ เนื่องจากปัจจุบันยังขาดกฎหมายลำดับรอง ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 และมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการควบคุมให้การจัดสรรน้ำเป็นไปตามแผน นอกจากนี้ ระบบการตรวจวัด ติดตาม พยากรณ์สถานการณ์ความเค็มยังไม่สามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ ระบบฐานข้อมูลยังไม่ได้บูรณาการร่วมกันอย่างเป็นระบบ รวมถึงองค์ความรู้และข้อมูลเชิงวิชาการยังไม่เพียงพอที่จะวางแผนและกำหนดมาตรการในระยะยาว จึงจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายในการกำหนดแนวทาง มาตรการ องค์กร กลไก ฐานข้อมูล ระบบคาดการณ์ และผลการศึกษาวิจัยสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำที่เกิดความสมดุลระหว่างความต้องการและปริมาณน้ำต้นทุน “สทนช.จะนำแนวทางและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาจากหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน ไปวิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อประกอบการพิจารณาทางเลือกในการแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนที่มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยข้อสรุปกรอบแนวทางการแก้ไขปัญหาและรายละเอียดดังกล่าว จะนำเสนอคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดที่อยู่บริเวณชายขอบของทั้ง 4 แม่น้ำสายหลัก เพื่อให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เชื่อมโยงกับบริบทของทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องที่ลงรายละเอียดเชิงลึกในระดับพื้นที่ เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์หาจุดสมดุลระหว่างลุ่มน้ำได้อย่างครอบคลุมในมิติของภาพรวมและรายลุ่มน้ำ ทั้งนี้ คาดว่าปี 2565 จะสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป” เลขาธิการ สทนช. กล่าวในตอนท้าย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
MEA ลงนามบันทึกข้อตกลง ร่ว...
27 ก.ย. 2567
รัฐมนตรีเกษตรฯ ลุยตรวจน้ำท...
09 ก.ย. 2567
สทนช.หนุนอาเซียน และ MRC ล...
19 ก.ย. 2567
เขื่อนป่าสักฯ มีน้ำเพิ่มขึ...
30 ก.ย. 2567
“ไฟฟ้าสีเขียว เพื่อธุรกิจส...
22 พ.ย. 2567
ทส. ลุยน้ำท่วม ช่วยเหลือผู...
27 ส.ค. 2567
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
ฉบับที่ 440 ปักษ์หลัง
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ดูทั้งหมด
พลตำรวจโท ปิยะ ต๊ะวิชัย อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (ผบช.ภ.5) กรรมการบริหารแ...
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...