ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
รมว.คลังแจง พ.ร.ก. กู้เงิน 5 แสนล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาโควิด-19 และฟื้นฟูเศรษฐกิจ
28 พ.ค. 2564

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ชี้แจงเกี่ยวกับ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ.2564 (พ.ร.ก.กู้เงินช่วยโควิด-19 ฉบับที่ 2) กรอบวงเงิน 5 แสนล้านบาท โดยเน้นการใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ 3 แผนงาน แต่กรณีที่จำเป็นสามารถปรับกรอบวงเงินภายใต้ 3 แผนงานได้ เพื่อให้ได้ตามวัตถุประสงค์และเพื่อเข้าไปเสริมกับ พ.ร.ก.กู้เงินช่วยโควิด-19 ฉบับที่ 1 เมื่อปี 2563 จำนวน 1.9 ล้านล้านบาท (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2563)

 

        แผนงานการใช้วงเงินกู้ตาม พ.ร.ก. กู้เงินช่วยโควิด-19 ฉบับที่ 2 มีดังนี้

 

        1. แผนงานเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรอบวงเงิน 30,000 ล้านบาท เพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

 

        2. เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย ให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 วงเงิน 300,000 ล้านบาท

 

        3. เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 วงเงิน 170,000 ล้านบาท

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่า จากสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่แพร่กระจายและรุนแรง รัฐบาลจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเตรียมงบประมาณเพิ่มเติม หรือเสริมเข้าไปกับ พ.ร.ก. กู้เงินช่วยโควิด-19 ฉบับที่ 1 เพื่อรองรับผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ เนื่องจากแหล่งเงินงบประมาณที่นำมาใช้แก้ปัญหามีจำกัดและไม่เพียงพอจากการระบาดระลอกใหม่นี้

ทั้งนี้ กรอบวงเงิน พ.ร.ก. กู้เงินช่วยโควิด-19 ฉบับที่ 2 อีก จำนวน 5 แสนล้านบาทนี้จะช่วยทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2564 และปี 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก 1.5% จากที่ประมาณการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวอยู่ในช่วง 1.5-2.5% ต่างจากปีที่แล้ว ซึ่งได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะติดลบที่-8% แต่เมื่อมีมาตรการต่างๆ มาช่วยเหลือภาคธุรกิจ เช่น เงินกู้ Soft Loan ทำให้เศรษฐกิจไทย ติดลบน้อยลงจาก-8% เป็น-6% ซึ่งในปีนี้ และปีหน้า เมื่อมีเงินก้อนนี้มาใช้ในการดำเนินการต่าง ๆ ก็จะน่าจะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ดีขึ้น

 อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าการกู้เงินครั้งนี้รัฐบาลมีการดำเนินการอย่างระมัดระวังไม่ให้เกินกรอบเพดานหนี้สาธารณะที่กำหนดไว้ โดยคาดการณ์ว่าเมื่อกู้เต็มวงเงินในเดือนกันยายน 2564 หนี้สาธารณะต่อจีดีพีจะอยู่ที่ 58.56% ต่อจีดีพี ซึ่งในปี 2563 รัฐบาลได้ออก พ.ร.ก.กู้เงิน ไปแล้ว 1.9 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น การเยียวยาฟื้นฟูและด้านสาธารณสุขจำนวน 1 ล้านล้านบาท และอีก 9 แสนล้านบาทเข้ามาช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ

ทั้งนี้ พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว มีผลตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค. 2564 โดยใจความสำคัญเพื่อประโยชน์ ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่ยุติลง โดยให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศ หรือออกตราสารหนี้ในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย มีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 500,000 ล้านบาท โดยต้องลงนาม ในสัญญากู้เงิน หรือออกตราสารหนี้ ภายในวันที่ 30 กันยายน 2564

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...