ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
ดุสิตโพลเผย 5 อันดับสื่อ ที่คนเชื่อมั่นในการนำเสนอข่าวสารยุคโควิด
06 มิ.ย. 2564

ดุสิตโพลเผย คนส่วนใหญ่ติดตามข่าวสารในยุคโควิดจากโซเชียลมีเดีย ชี้มีการให้ความรู้ในแง่มุมใหม่ๆ มีการวิเคราะห์เชิงลึก ขณะที่สื่อโทรทัศน์ได้รับควาเชื่อมั่นมากที่สุด

เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 4 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “ข้อมูลข่าวสารในยุคโควิด-19” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,213 คน สำรวจวันที่ 31 พ.ค. – 3 มิ.ย. 64 สรุปผลได้ดังนี้

1. การติดตามข้อมูลข่าวสารของประชาชนในยุคโควิด-19

- ขึ้นอยู่กับความสะดวก 29.43%

- ติดตามทั้งวัน 21.85%

- ติดตามทุกครึ่งวัน 18.71%

- ติดตามเป็นบางวัน 18.30%

- ทุกชั่วโมง 4.45%

2. ช่องทางในการติดตามข้อมูลข่าวสารของประชาชน คือ

- สื่อโซเชียลมีเดีย 74.81%

- โทรทัศน์ 59.49%

- สื่อบุคคล 34.13%

- เว็บไซต์/แอปพลิเคชันข่าว 29.66%

- SMS จากมือถือ 6.46%

3. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อ “ข้อมูลข่าวสาร” ที่เผยแพร่ในปัจจุบัน

อันดับ 1 ให้ความรู้ในแง่มุมใหม่ ๆ มีการวิเคราะห์เชิงลึก 52.24%

อันดับ 2 มีข่าวลือ เฟคนิวส์ ข้อมูลเกินจริง 49.09%

อันดับ 3 ข่าวเร็วมากขึ้น แชร์และส่งต่ออย่างรวดเร็ว 47.43%

อันดับ 4 มีข่าวหลายประเภทให้เลือกติดตาม 44.04%

อันดับ 5 เน้นขายข่าวดราม่า/ทำร้ายกัน/อาชญากรรม/หดหู่ 39.57%

4. “ข้อมูลข่าวสาร” ที่น่าเชื่อถือควรมีลักษณะอย่างไร

อันดับ 1 ระบุที่มา/ผู้ให้ข้อมูล มีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจน 78.32%

อันดับ 2 มาจากหน่วยงาน/องค์กรที่มีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับ 57.48%

อันดับ 3 มีหลักฐานประกอบที่ชัดเจน 54.57%

อันดับ 4 มาจากหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบดูแลโดยตรง 50.17%

อันดับ 5 มีนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิเคราะห์หรืออ้างถึง 49.16%

5. “5 อันดับ สื่อ” ที่ประชาชนเชื่อมั่นในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร

อันดับ 1 โทรทัศน์ 85.24%

อันดับ 2 นักวิชาการ/นักวิเคราะห์/นักวิจัย 69.33%

อันดับ 3 หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน 67.56%

อันดับ 4 หนังสือพิมพ์ 57.79%

อันดับ 5 เว็บไซต์ของสำนักข่าว 49.38%

6. สิ่งที่อยากฝากถึง “สื่อมวลชน” ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร

อันดับ 1 นำเสนอข่าวตามความเป็นจริง /ไม่บิดเบือน 78.71%

อันดับ 2 มีจรรยาบรรณและจิตสำนึกในการทำหน้าที่ 76.24%

อันดับ 3 นำเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อสังคม 64.36%

อันดับ 4 ไม่ชี้นำ ไม่เอนเอียง 61.55%

อันดับ 5 ตรวจสอบแหล่งที่มาของข่าว/ผู้ให้ข่าวอย่างละเอียด 61.06%

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า ประชาชนมองว่าข่าวในปัจจุบันมีการนำเสนอแง่มุมที่หลากหลายมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีข่าวปลอมมากขึ้นด้วยเช่นกัน บางครั้งข่าวปลอมหรือข่าวที่เป็นกระแสเหล่านั้นเกิดขึ้นเพราะต้องการกลบกระแสข่าวหลักอื่นๆ “ข้อมูลข่าวสาร” จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการชี้นำสังคม ประชาชนจึงมองว่า “สื่อมวลชน” นั้น ควรทำหน้าที่อย่างเหมาะสม และยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพของตนเองเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันสรรสร้างสังคมไทย

พท.ดร.อมรรัตน์ เรืองสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์นวัตกรรมและผู้ประกอบการธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า จากผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าประชาชนต้องการให้สื่อมวลชนปรับเปลี่ยนวิธีคิด ตรวจสอบข่าวก่อนนำเสนอ และมีอุดมการณ์ จรรยาบรรณอย่างสูงสุดในการทำหน้าที่สื่อมวลชน ปัจจุบันการขายข่าวเชิงพาณิชย์ยังมีอยู่มาก และอาจจะมากขึ้นด้วยจาก Hate Speech หรือ ความรุนแรงทางวาจา และ Hate Crime หรืออาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง

"การเสนอข่าวบางอย่างควรมีกระบวนการตรวจสอบ กลั่นกรองข่าวสารอย่างจริงจัง ควรหันมาทำข่าว เชิงสืบสวนสอบสวน (Investigative Reporting) หรือข่าวในลักษณะ Data Journalism หรือ Data Analytics ให้มากขึ้น"

พท.ดร.อมรรัตน์ กล่าวว่า เป็นศิลปะอย่างหนึ่งของสื่อมวลชนเช่นกันที่จะจับภาพมุมใด รายงานแบบใด เล่าเรื่องแบบไหนที่ทำให้เกิดความแตกแยกน้อยที่สุด นับวันจะเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมไทยที่ฝังเข้าไปในส่วนลึกของจิตใจ เมื่อต้นเหตุมาจากความคิดและจิตใจของเราเอง จะแก้ได้คงต้องแก้ที่ความคิดและจิตใจของทุกๆ ฝ่ายเช่นกัน

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...