ประกอบการผู้เลี้ยงสุกรเองก็กังวลว่า แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่การระบาดของโรค PRRS แต่อาจเป็นโรค ASF ซึ่งมีอาการของโรคใกล้เคียงกันมาก โดยเป็นที่เข้าใจกันดีว่า หากหมูเป็นโรค ASF แล้วไม่มีวัคซีนรักษา ต้องฆ่าหรือกำจัดทิ้งอย่างเดียว ที่สำคัญหากยอมรับว่าเป็นโรค ASF แล้วจะกระทบการส่งออกหมูและผลิตภัณฑ์ “เป็นเรื่องที่ฟาร์มขนาดใหญ่และผู้ส่งออกกังวลมาก กลัวจะส่งออกไม่ได้
ทั้งนี้ เชื่อกันว่า การระบาดของโรคดังกล่าวได้ขยายวงกว้างไปถึง 50 จังหวัดทั่วประเทศแล้ว โดยเฉพาะการแพร่ระบาดเข้าไปในพื้นที่เลี้ยงหมูในจังหวัดราชบุรี ซึ่งถือเป็นเมืองหลวงของผู้เลี้ยงสุกร มีปริมาณการเลี้ยงสุกรกว่า 2 ล้านตัวต่อปี ทั้งที่ อ.ปากท่อ และ อ.โพธาราม โดยการระบาดน่าจะมาจากการสั่งซื้อลูกสุกรจากต่างพื้นที่เข้าไปเลี้ยง ล่าสุดพบว่าเชื้อไวรัสได้กลายพันธุ์จากเดิมทำให้หมูมีอัตราการตาย “ช้าลง” กว่าช่วงแรกที่พบการระบาดในจังหวัดเชียงรายเมื่อกว่า 1 ปีที่ผ่านมา ที่หมูตายช้าลงทำให้เจ้าของฟาร์มรีบเทขายหมูมีชีวิตออกไปนอกพื้นที่ กลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้โรคระบาดลุกลามอย่างรวดเร็ว ทั้ง ๆ ที่กรมปศุสัตว์มีประกาศเฝ้าระวัง การเคลื่อนย้ายหมูข้ามเขตต้องมีใบรับรองการตรวจโรคชัดเจนและตั้งด่านตรวจ แต่ก็ยังลักลอบนำสุกรที่มีโรคเคลื่อนย้ายออกไปต่อเนื่องในทุกภาค ทำให้โรคได้ลุกลามเข้าสู่ฟาร์มระดับกลางและระดับใหญ่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งฟาร์มระบบเปิดและระบบปิด หลายฟาร์มในพื้นที่ที่ยังไม่เกิดโรต่างเร่งเทขายสุกรออกมา เพราะเกรงจะควบคุมโรคไม่อยู่ เสี่ยงสูงโรคระบาด 50 จังหวัด
อย่างไรก็ตาม กรมปศุสัตว์ได้สั่งการให้ปศุสัตว์จังหวัดลงพื้นที่เก็บข้อมูล (เจาะเลือด-swab) อย่างละเอียด รายงานการประเมินความเสี่ยงของโรคระบาดที่สำคัญในไก่และสุกรในระดับตำบลและระดับอำเภอ โดยเฉพาะอัตราการตาย พร้อมประเมินระดับความเสี่ยงต่ำ เสี่ยงปานกลาง เสี่ยงสูง และเสี่ยงสูงมาก