กรณีเฟซบุ๊กชื่อ sara.sourour ที่เผยแพร่ข้อมูล และใช้โลโก้ธนาคาร ไปเสนอเงินกู้ให้กับผู้ที่เดือดร้อนนั้น ทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ชี้แจงเรื่องดังกล่าวว่า ธ.ก.ส. ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเฟซบุ๊กดังกล่าว ซึ่งเฟซบุ๊กของธนาคารมี “ธกส BAAC Thailand” และ “ธกสบริการด้วยใจ” ที่ใช้เป็นช่องทางในการสอบถามข้อมูล และรับข้อร้องเรียนของจากลูกค้า
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ธนาคาร ธ.ก.ส. เปิดให้ลงทะเบียนสินเชื่อฉุกเฉินผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัวพนักงาน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กระทรวงการคลัง พบว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ
กรณีเฟซบุ๊ก ชื่อ sara.sourour ใช้โลโก้ธนาคาร และกล่าวถึงขั้นตอนการลงทะเบียนสินเชื่อฉุกเฉินผ่านทาง line fb sara.sourour ซึ่งเสนอเงินกู้ให้กับผู้ที่เดือดร้อนนั้น ทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ชี้แจงเรื่องดังกล่าวว่า ธ.ก.ส. ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเฟซบุ๊กดังกล่าว ซึ่งเฟซบุ๊กของธนาคารมี “ธกส BAAC Thailand” และ “ธกสบริการด้วยใจ” เพื่อเป็นช่องทางในการสอบถามข้อมูล และรับข้อร้องเรียนของจากลูกค้า ส่วนการขอใช้บริการสินเชื่อกู้ภัยโควิด-19 สำหรับเกษตรกร ลูกจ้างภาคเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และเพื่อป้องกันการเป็นหนี้นอกระบบ วงเงินรวม 10,000 ล้าน อัตราดอกเบี้ย 0.35 ต่อเดือนปลอดชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยใน 6 เดือนแรก วงเงินกู้ต่อรายไม่เกิน 10,000 บาท ไม่ต้องใช้หลักประกัน ระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 3 ปี โดยแจ้งความประสงค์ทาง LINE Official BAAC Family จนถึง 31 ธันวาคม 2564
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กระทรวงการคลัง สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.baac.or.th หรือโทร. 0-2555-0555
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ธ.ก.ส. ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเฟซบุ๊กดังกล่าว ซึ่งเฟซบุ๊กของธนาคารมี “ธกส BAAC Thailand” และ “ธกสบริการด้วยใจ” เพื่อเป็นช่องทางในการสอบถามข้อมูล และรับข้อร้องเรียนของจากลูกค้า