กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศวันนี้ (21 มิ.ย.64) ว่า ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ แล้วช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมามีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.น่าน 24 มิลลิเมตร // นครราชสีมา 35 มิลลิเมตร // กรุงเทพมหานคร 62 มิลลิเมตร // เพชรบุรี 30 มิลลิเมตร // ระยอง 79 มิลลิเมตร และสุราษฎร์ธานี 85 มิลลิเมตร โดยแม่น้ำสายหลัก ภาคตะวันออกมีน้ำน้อยถึงปกติและแนวโน้มเพิ่มขึ้น , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางมีน้ำน้อยถึงปกติและแนวโน้มทรงตัว , ภาคใต้และภาคเหนือมีน้ำน้อยถึงปกติและแนวโน้มลดลง ส่วนแม่น้ำโขงน้ำน้อยถึงปกติและมีแนวโน้มลดลง ภาพรวมปริมาณน้ำแหล่งน้ำทุกขนาด 37,055 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 45 และแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 32,435 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 45 ขณะที่มีปริมาณน้ำไหลเข้าแหล่งน้ำ 88.56 ล้านลูกบาศก์เมตร แล้วมีน้ำระบายออก 108.18 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนจุดเฝ้าระวังน้ำน้อยยังคงอยู่ในพื้นที่ 8 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก 1 แห่ง บริเวณอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล พร้อมคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก-ดินถล่มช่วง 2-3 วันนี้ ต้องเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก และตราด
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำพบช่วงนี้มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยถึงปานกลางและจะมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนสถานการณ์น้ำในแม่น้ำบางพื้นที่ยังคงมีปริมาณน้ำน้อยกว่าเกณฑ์ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำสอดคล้องกับสถานการณ์ จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับแผนการระบายน้ำ คือ เขื่อนท่าทุ่งนาเเละเขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี ปรับเพิ่มการระบายน้ำจากอัตรารวมเฉลี่ยวันละ 18 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นอัตรารวมเฉลี่ยวันละ 24 ล้านลูกบาศก์เมตร ช่วงวันที่ 21 - 25 มิถุนายน // เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ ปรับเพิ่มแผนการระบายน้ำ ช่วงวันที่ 21 - 27 มิถุนายน จากอัตราวันละ 14 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นอัตราวันละ 16 ล้านลูกบาศก์เมตร
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ยังเน้นย้ำให้หน่วยงานบริหารจัดการณ์น้ำให้เหมาะสมกับสถานณ์ ด้วยการปรับเพิ่มการระบายน้ำไม่เกินร้อยละ 10 ของแผน เพื่อควบคุมไม่ให้มีการจัดสรรน้ำเกินแผนเมื่อสิ้นสุดช่วงการส่งน้ำ พร้อมขอความร่วมมือผู้ใช้น้ำทุกกิจกรรมบริเวณต้นน้ำ - กลางน้ำ อย่าดักเก็บกักน้ำเกินความต้องการใช้น้ำจะส่งผลกระทบให้ผู้ใช้น้ำบริเวณปลายน้ำเกิดภาวะขาดแคลนน้ำได้