นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค สวทช. เปิดผลวิจัย ฉีดแอสตร้าเซนเนก้า + mRNA ภูมิคุ้มกันสูงกว่าฉีด แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ส่วนผลวิจัย การฉีดซิโนแวค จากทีม ม.มหิดล ยืนยันว่าไม่สามารถยับยั้งสายพันธุ์เดลตาได้
วันที่ 13 ก.ค. 2564 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค สวทช. โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก วิเคราะห์การฉีดวัคซีนต่างชนิดใน 2 เข็ม โดยอ้างอิงผลวิจัย ตีพิมพ์ผ่านวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ การฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า แล้วตามด้วยวัคซีนเทคโนโลยี mRNA กระตุ้นภูมิได้สูงกว่า การฉีด แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็มอย่างมากและยังสามารถรับมือกับสายพันธุ์เบต้าได้ด้วย
“ตอนนี้ผลการทดลองที่บอกว่าวัคซีน mRNA เมื่อนำมาใช้เป็นเข็ม 2 ต่อจาก แอสตร้าเซนเนก้า คงไม่ค่อยตื่นเต้นกันแล้ว เพราะหลายๆ ประเทศในยุโรปเริ่มทะยอยส่งผลการทดลองกันออกมา เมื่อวาน วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ ได้ลงผลงานจากสวีเดนบุคลากรทางการแพทย์ที่นั่นฉีดแอสตร้าเซนเนก้า แล้วฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพิ่มด้วย โมเดอร์นา ผลที่ได้ออกมาก็เป็นไปตามคาด ภูมิที่ได้สูงขึ้นมากกว่าแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็มชัดเจน แต่ทางทีมวิจัยบอกว่า ผลข้างเคียงจากการฉีดเข็มกระตุ้นมีมากกว่าแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม แต่ก็ไม่ได้มากจนน่ากังวล”
ดร.อนันต์ ยังกล่าวอีกว่า ยืนยันว่าการฉีดวัคซีนไขว้ชนิดรู้มานานแล้วและมีประสิทธิภาพสูง จุดที่น่าสนใจของข้อมูลชุดนี้คือ แอสตร้าเซนเนก้า เข็มที่สอง หลังจากฉีดไปแล้ว การกระตุ้นภูมิคุ้มกันดูเหมือนจะได้ไม่มาก ค่าแอนติบอดีสูงจากก่อนกระตุ้นมาประมาณแค่ 5 เท่า ขณะที่หลังกระตุ้นด้วย โมเดอร์นา พบว่าดีดสูงถึง 115-125 เท่า ซึ่งดูเหมือนจะล้อกับผลระดับภูมิคุ้มกันร่างกาย ที่ได้รับการฉีดวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า + โมเดอร์นา ดีดตัวสูงขึ้นเช่นกัน ระดับที่สูงขึ้นนั้นมากเกินพอที่จะรับมือกับสายพันธุ์โหดๆ อย่างเบต้าได้ขณะที่ระดับของ แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็มยังคงต้องรอดูต่อไป
“ด้วยกลไกอะไรที่วัคซีนสลับรูปแบบกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดียังไม่มีใครฟันธงไปได้แน่ชัด แต่ เรารู้กันมานานแล้วว่าทำได้ และ มีประสิทธิภาพสูงครับ” ดร.อนันต์ กล่าว
ที่มา : https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMc2110716
• ผลวิจัยจากมหิดล ยืนยัน ‘ซิโนแวค’ ยับยั้งสายพันธุ์เดลต้าไม่ได้
ประเด็นนี้ ดร.อนันต์ กล่าวว่า ผลการศึกษาวิจัยจากทีมวิจัย ม.มหิดล ได้ทำการเปรียบเทียบความสามารถของซีรั่มในผู้ได้รับวัคซีน ซิโนแวค กับคนที่หายป่วยจากปีที่แล้ว และปีนี้ ในการยับยั้งการติดเชื้อของไว้รัสที่แยกได้จากผู้ป่วยในประเทศไทย ซึ่งภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน ซิโนแวค ไม่เหลือเพียงพอจะยับยั้งไวรัสสายพันธุ์เดลตาได้
ในที่สุดก็ได้เห็นผลวิจัยจากทีมประเทศไทยเองที่แสดงว่า ภูมิคุ้มกันจาก Sinovac มีเท่าไหร่ต่อไวรัสสายพันธุ์ต่างๆโดยเฉพาะเดลต้า เป็นการศึกษาจากทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ทำการเปรียบเทียบความสามารถของซีรั่มในผู้ได้รับวัคซีน Sinovac เปรียบเทียบกับคนที่หายป่วยจากปีที่แล้ว และ ปีนี้ ในการยับยั้งการติดเชื้อของไวรัสตัวจริงที่แยกได้จากผู้ป่วยในประเทศไทย
ข้อมูลในการศึกษานี้บอกว่า ภูมิจาก Sinovac ไม่น่าเหลือพอที่จะยับยั้งเดลต้าได้...ดูเหมือนจะแย่กว่าสายพันธุ์เบต้าของแอฟริกาใต้ซะอีก รายละเอียดดูได้ตาม ที่มา : https://www.facebook.com/100000897943637/posts/4586154154757804/?d=n