ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
อุบลฯติดเชื้องอมแงม/ตายอีก1เร่งป้องกันด่วน
31 ก.ค. 2564

นายเกริกชัย ผ่องแผ้ว รองผู้ว่าฯ อุบลราชธานี เปิดเผยว่า จังหวัดอุบลราชธานี มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เพิ่มมากถึง 414 ราย โดยติดเชื้อจาก กทม.และต่างจังหวัด 394 ราย แยกเป็นตรวจพบเชื้อกลับมารักษา 121 ราย มาตรวจที่โรงพยาบาลอุบลราชธานี 273 ราย ติดเชื้อในพื้นที่ 20 ราย  แยกเป็น อ.เมืองอุบลราชธานี 11 ราย อ.วารินชำราบ 6 ราย อ.เดชอุดม 2 ราย และ อ.นาตาล 1 ราย 

นอกจากนี้ ยังมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 1 ราย เป็นชายอายุ 40 ปี อยู่ ต.สว่าง อ.กุดข้าวปุ้น ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เบาหวาน โรคอ้วน ตรวจพบเชื้อที่ จ.นครปฐม เริ่มป่วยวันที่ 17 ก.ค.64 ไข้ ไอ หอบ เหนื่อย ขอกลับมาที่ จ.อุบลราชธานี มาถึงโรงพยาบาลกุดข้าวปุ้นเมื่อวันที่ 29 ก.ค.64 มีอาการปอดอักเสบ ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ ส่งต่อรักษาตัวที่ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อ.เมืองอุบลราชธานี ในวันเดียวกัน  และเสียชีวิตวันที่ 31 ก.ค.64 ทำให้มียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 5,240 ราย ยอดเสียชีวิตสะสม 26 ราย รักษาหายสะสม 1,966 ราย กำลังรักษา 3,248 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 15 ราย

ด้านนพ.สุวิทย์ โรจนศักดิ์โสธร นพ.สสจ.อุบลราชธานี ได้ออกมาเตือนประชาชนชาวอุบลราชธานี ว่าขณะนี้พบติดเชื้อในพื้นที่เพิ่มขึ้น และหลายรายยังหาที่มาที่ไปไม่เจอ ทั้งนี้มีผู้ป่วยเข้ารักษาตัวใน รพ. แล้วพบภายหลังว่าติดเชื้อ และมีผู้ที่เดินทางจากต่างจังหวัดเข้ามาแล้วไม่กักตัว ไปร่วมกิจกรรมที่มีคนหมู่มาก หรือตั้งวงร่วมกินข้าว ดื่มสุรา และหลายรายที่ติดเชื้อ มีอาชีพรับส่งสินค้า เดินทางไปมาหลายสถานที่ ทั้งในและนอกจังหวัด วิเคราะห์ดูแล้ว น่าจะมีเชื้อกระจายไปหลายพื้นที่ ในจังหวัดอุบลราชธานี รอเพียงการค้นพบผู้ติดเชื้อ

“หากเป็นไปได้ ต้องช่วยบอกกล่าวกัน และให้ระลึกเสมอว่าคนรอบๆตัวเราอาจติดเชื้อไม่แสดงอาการ แต่แพร่เชื้อได้ พื้นผิวสัมผัสรอบๆ ตัวเรา มีเชื้อตกหล่นอยู่ สามารถติดเชื้อได้ ให้งดไปที่มีคนหมู่มาก สวมหน้ากากตลอดเวลา งดการกินข้าวร่วมกัน ล้างมือบ่อยๆ ทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งของต่างๆ อย่านำมือมาสัมผัสใบหน้า หากมีอาการคล้ายไข้หวัดให้กักตัว แยกห่างจากครอบครัว รีบตรวจหาเชื้อทันที” สสจ.อุบลฯกล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...