ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
พม.เตือนขึ้นทะเบียนรับเบี้ยยังชีพ1-30พ.ย.58 ผู้สูงอายุ-คนพิการ- ผู้ป่วยเอดส์
10 พ.ย. 2558

          กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้แจ้งเตือนถึงผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยโรคเอดส์หรือภูมิคุ้มกันบกพร่องรีบไปขึ้นทะเบียนเพื่อรับเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ โดยมี

          หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, คนพิการ, ผู้ป่วยเอดส์หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุ ที่ต้องไปขึ้นทะเบียนนั้นจะต้องมีคุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ได้แก่ ต้องมีสัญชาติไทย  และต้องมีอายุ 59 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป (ในกรณีที่ทะเบียนราษฎร์ระบุเฉพาะปีเกิด ให้ถือว่าบุคคลนั้นเกิดวันที่ 1 มกราคมของปีนั้น เช่น เกิด พ.ศ. 2497 ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคม 2497  

          ประการที่สองขอรับเบี้ยตามที่อยู่ในทะเบียนบ้าน และประการสุดท้าย ไม่เป็นผู้ที่ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเทศบาล อบต. ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือเทศบาล อบต.จัดให้เป็นประจำ ยกเว้นผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ตามระเบียบ

          สำหรับเอกสารหลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงตัว ประกอบด้วย สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด  สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด  และ สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก(ออมทรัพย์) จำนวน 1 ชุด

         อย่างไรก็ดี หากผู้สูงอายุไม่สามารถยื่นขอขึ้นทะเบียนด้วยตนเองได้ ทางราชการได้อนุญาตให้สามารถยื่นเอกสารแทนผู้สูงอายุได้ และหากผู้สูงอายุมีความประสงค์โอนเงินเข้าบัญชีผู้อื่น ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ ตัวจริงพร้อมสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ อย่างละ 1 ชุด

          ดังนั้นผู้สูงอายุสามารถไปขึ้นทะเบียนเพื่อรับเบี้ยยังชีพได้ตามสถานที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน หากอยู่ในกรุงเทพติดต่อได้ที่สำนักงานเขตทุกแห่ง ส่วนต่างจังหวัดสามารถไปขึ้นทะเบียนและรับเบี้ยยังชีพได้ตามเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ทั่วประเทศ และที่เมืองพัทยา ในที่1-30พฤศจิกายน2558 นี้ อนึ่งผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนไว้ ตั้งแต่วันที่ 1- 30 พฤศจิกายน ของทุกปี จะได้รับเงินเบี้ยยังชีพ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ของปีถัดไป (ไม่มีการจ่ายย้อนหลัง)

และ ในกรณีผู้สูงอายุที่มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุย้ายทะเบียนบ้านให้เทศบาล หรือ อบต.ที่เคยจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดิมยังคงจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตนกว่าจะสิ้นสุดปีงบประมาณนั้น คือเดือนกันยายน หากมีความประสงค์จะรับเบี้ยยังชีพกับเทศบาล หรือ อบต. แห่งใหม่ ต้องไปจดทะเบียนเพื่อขอรับเบี้ยยังชีพที่เทศบาลหรือ อบต.แห่งใหม่ ภายในวันที่ 1 -30 พฤศจิกายนของทุกปี และเริ่มรับเงินที่ใหม่ในเดือนตุลาคม ของปีถัดไป

ผู้สูงอายุแต่ละคนจะได้รับเงินเท่าไหร่??
ปัจจุบันได้จ่ายแบบขั้นบันได ดังนี้
อายุ 60 -69 ปี จะได้รับ 600 บาท
อายุ 70 -79 ปี จะได้รับ 700 บาท
อายุ 80 -89 ปี จะได้รับ 800 บาท
อายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...