เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 31)
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป เป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 นั้น
โดยที่ได้มีการออกข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 29) ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 แต่ต่อมา ศาลแพ่งได้มีคําสั่งให้ระงับการบังคับใช้ข้อกําหนดดังกล่าวเป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคําสั่ง เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) (ศบค.) เห็นว่า แม้จะเป็นคําสั่งคุ้มครองชั่วคราวตามคําขอในเหตุฉุกเฉินซึ่งศาล ยังไม่ได้กําหนดวันนัดเพื่อส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องให้คู่ความเพราะอยู่ระหว่างการแพร่ระบาด ของโรคซึ่งทวีความรุนแรงขึ้น และคู่ความอาจยื่นคําขอให้ศาลยกเลิกคําสั่งนั้นได้ตามมาตรา 267 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
แต่เมื่อปรากฏว่าในทางปฏิบัติยังไม่ได้บังคับใช้ ข้อกําหนดนั้นแก่กรณีใดและเจ้าหน้าที่อาจนํามาตรการทางกฎหมายอื่นมาบังคับใช้ได้ตามที่ศาลกล่าวถึง อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกําหนดให้ยกเลิกข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 29) ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2564 เป็นต้นไป ลงชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม