ปากเสียงของ
คนท้องถิ่น
เพื่อการพัฒนาประเทศ
วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2567
หน้าแรก
อปท. นิวส์
เกี่ยวกับอปท. นิวส์
โปรไฟล์ผู้บริหาร
ข่าวสาร
ข่าวเด่น / ไฮไลท์
ความสัมพันธ์ไทย - จีน และ เศรษฐกิจเพื่อนบ้าน
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์
สังคม / บุคคล
ท้องถิ่นไทย
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
การเมือง / การปกครอง
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ธรรมาภิบาล
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
คุณภาพชีวิต
เศรษฐกิจชุมชน
เกษตรนำไทย
สื่อสาร - คมนาคม
ท่องเที่ยว
ข่าววงใน!!!
ปฏิทินข่าว
อปท.นิวส์โพล
ข่าวย้อนหลัง
วิดีโอ
ฉบับย้อนหลัง
สมัครสมาชิก
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
ย้อนกลับ
สทนช. หาแนวทางแก้ท่วม-แล้ง ลุ่มน้ำชีล่าง-มูลล่าง
14 ส.ค. 2564
สทนช. หาแนวทางแก้ท่วม-แล้ง ลุ่มน้ำชีล่าง-มูลล่าง ชูความสำคัญของการรับฟังเสียงประชาชนในพื้นที่ สทนช. เร่งศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาในลุ่มน้ำชีล่าง-เซบาย-เซบก และลุ่มน้ำมูลตอนล่าง หลังที่ผ่านมาประสบปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง ในเกณฑ์สูง พร้อมชูความสำคัญของการรับฟังเสียงความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ เพื่อตอบความต้องการได้ตรงโจทย์และเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง คาดศึกษาแล้วเสร็จภายในปี 64 นี้ ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ สทนช. หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำในลุ่มน้ำชีล่าง-เซบาย-เซบก และลุ่มน้ำมูลตอนล่าง ที่เป็นพื้นที่ที่ประสบกับปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งอยู่ในเกณฑ์สูง สทนช. จึงได้ดำเนินโครงการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการ เพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง พื้นที่ลุ่มน้ำชีล่าง-เซบาย-เซบก และลุ่มน้ำมูลตอนล่าง เพื่อจัดทำแผนบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งในเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบ โดยจากการสำรวจข้อมูลในลุ่มน้ำชีล่าง-มูลตอนล่าง ตั้งแต่บริเวณแม่น้ำชีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำมูลบริเวณรอยต่อของ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ อ.เมืองอุบลราชธานี และ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี พบว่า มีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง รวม 4,514,407 ไร่ คิดเป็นกว่า 51% ของพื้นที่โครงการทั้งหมด สาเหตุเกิดจากมีปริมาณฝนต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ขาดแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่เพราะข้อจำกัดด้านสภาพภูมิประเทศ ในขณะเดียวกัน ในฤดูฝนก็มีพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม 2,126,532 ไร่ หรือราว 24% ของพื้นที่โครงการ โดยปัญหา น้ำท่วมในลำน้ำชี มักเกิดบริเวณริมน้ำเนื่องจากแม่น้ำมีลักษณะแคบ ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำชี โดยเฉพาะด้านท้ายน้ำเป็นประจำเกือบทุกปี ส่วนในลำน้ำมูลทางตอนปลายของแม่น้ำ มักเกิดน้ำท่วมบ่อยครั้งบริเวณริมฝั่งแม่น้ำมูล ในพื้นที่ อ.เมืองอุบลราชธานี และ อ.วารินชำราบ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลทั้งจากแม่น้ำชี แม่น้ำมูล รวมทั้งลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูล นอกจากนี้ ยังได้รับผลกระทบจากสภาพเกาะแก่งธรรมชาติในลำน้ำมูล บริเวณท้าย อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ด้วย การศึกษามีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย (Area Based) และพื้นที่ข้างเคียงที่มีผลเกี่ยวเนื่อง จำนวน 395 ตำบล 50 อำเภอ ใน 5 จังหวัด ได้แก่ จ.ยโสธร ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี รวม 8,947,439 ไร่ มีประชากร 2,862,755 คน มีพื้นที่เกษตร 6,703,380 ไร่ ซึ่งในการดำเนินการศึกษา จะมีการวิเคราะห์สภาพพื้นที่ปัญหาในรายละเอียด เพื่อพิจารณาแผนหลักอย่างบูรณาการ และแนวทางการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ รวมทั้งโครงการที่สามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่สำคัญได้ โดยมุ่งเน้นไปที่การบูรณาการข้อมูลและแผนการดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ และการเพิ่มเติมแผนงานโครงการที่มีความเหมาะสม เพื่อลดและขจัดการทับซ้อนกันของการทำงานและการใช้งบประมาณในการแก้ไขปัญหา อันจะนำไปสู่การบริหารงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด พร้อมกันนี้ ในกระบวนการดำเนินงาน ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการมีส่วนร่วมในภาคประชาชนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะสะท้อนความต้องการที่แท้จริง และนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยคาดว่าการศึกษาทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในปี 2564 นี้ “พื้นที่ลุ่มน้ำชีล่าง-เซบาย-เซบก และลุ่มน้ำมูลตอนล่าง นอกจากจะจัดเป็นพื้นที่ที่มีสภาพปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งอยู่ในเกณฑ์สูงแล้ว ยังนับว่าเป็นพื้นที่ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง จึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินการหามาตรการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยจากการศึกษาและจัดความสำคัญแผนงานโครงการอย่างรอบด้านโดยพิจารณาเปรียบเทียบศักยภาพในการดำเนินโครงการในหลายทางเลือก พบว่า แนวทางการผันน้ำชี-เซบาย-เซบก-ห้วยตุงลุง-แม่น้ำโขง เพื่อตัดยอดน้ำในลุ่มน้ำชีตอนล่างก่อนไหลลงไปบรรจบกับน้ำที่มาจากแม่น้ำมูลตอนบนและไหลผ่าน อ.เมืองอุบลราชธานี และ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เป็นแผนงานที่มีความเหมาะสมมากที่สุดในการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่เป้าหมาย (Area Based) ลุ่มน้ำชีตอนล่าง-เซบาย-เซบก และลุ่มน้ำมูลตอนล่าง ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนในเส้นทางแนวผันน้ำขนาดความกว้างของคลอง และปริมาณน้ำที่ผัน ซึ่งยังอยู่ในกระบวนการศึกษาและต้องวิเคราะห์โครงการอีกหลายขั้นตอน ที่สำคัญคือต้องมีการนำเสนอข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่โครงการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อนำข้อเสนอแนะและความคิดเห็นต่าง ๆ มาปรับใช้ในการศึกษาอย่างตรงไปตรงมา โดยตามแผนการดำเนินงานจะมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 5 ครั้ง ขณะนี้ได้ดำเนินการจัดไปแล้ว 3 ครั้ง ครั้งล่าสุดจัดเมื่อวันที่ 4-6 ส.ค. ที่ผ่านมา และสำหรับอีก 2 ครั้งที่เหลือ มีแผนดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปี 2564 นี้ อย่างไรก็ตาม แนวทางการดำเนินโครงการที่ได้ประชุมรับฟังความคิดเห็นจำเป็นจะต้องพิจารณาความเหมาะสมในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในปัจจุบันด้วย ทั้งนี้ จะมีการรวบรวมความคิดเห็นที่ได้รับจากภาคประชาชน นำไปเป็นประโยชน์สำหรับการปรับปรุงพัฒนาเพื่อสรุปเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสม และตอบสนองความต้องการอย่างแท้จริง ทั้งในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง ไปจนถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งมิติวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำที่ดี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและประเทศชาติต่อไปในอนาคต” เลขาธิการ สทนช. กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
10 ปี ห้องเรียนเคมีดาว ขับ...
22 พ.ย. 2567
ส.อ.ท.กระทุ้งรัฐ จี้ตั้ง ก...
05 ต.ค. 2567
สถานการณ์ฝนเริ่มคลี่คลาย ...
30 ก.ย. 2567
กรมอุทยานแห่งชาติฯ โชว์ผลง...
02 ต.ค. 2567
รมว.นฤมลฯ ย้ำชป.วางแผนรับม...
15 พ.ย. 2567
อมตะ ยู ผนึกกำลัง อีสท์ วอ...
06 พ.ย. 2567
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
ฉบับที่ 440 ปักษ์หลัง
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ดูทั้งหมด
พลตำรวจโท ปิยะ ต๊ะวิชัย อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (ผบช.ภ.5) กรรมการบริหารแ...
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...