ปากเสียงของ
คนท้องถิ่น
เพื่อการพัฒนาประเทศ
วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2567
หน้าแรก
อปท. นิวส์
เกี่ยวกับอปท. นิวส์
โปรไฟล์ผู้บริหาร
ข่าวสาร
ข่าวเด่น / ไฮไลท์
ความสัมพันธ์ไทย - จีน และ เศรษฐกิจเพื่อนบ้าน
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์
สังคม / บุคคล
ท้องถิ่นไทย
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
การเมือง / การปกครอง
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ธรรมาภิบาล
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
คุณภาพชีวิต
เศรษฐกิจชุมชน
เกษตรนำไทย
สื่อสาร - คมนาคม
ท่องเที่ยว
ข่าววงใน!!!
ปฏิทินข่าว
อปท.นิวส์โพล
ข่าวย้อนหลัง
วิดีโอ
ฉบับย้อนหลัง
สมัครสมาชิก
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
ย้อนกลับ
“บิ๊กป้อม” ตรวจความพร้อมรับมือฝนหนักท้ายฤดู ย้ำไม่ให้ ปชช.เดือดร้อนเพิ่มจากโควิด-19
24 ส.ค. 2564
“บิ๊กป้อม” ตรวจความพร้อมรับมือฝนหนักท้ายฤดู ย้ำไม่ให้ ปชช.เดือดร้อนเพิ่มจากโควิด-19 พร้อมพัฒนาระบบ National Thai Water เพิ่มประสิทธิภาพบริหารน้ำ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี คุมเข้มตรวจความพร้อมการดำเนินงานตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ลดผลกระทบ และย้ำไม่ซ้ำเติมประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 พร้อมนำระบบ National Thai Water มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำ ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำของ กอนช. ได้คาดว่า ในเดือนกันยายน 2564 นี้ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นเกือบทั่วไปเฉลี่ยร้อยละ 60–80 ของพื้นที่ โดยจะมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่และในบางพื้นที่จะตกหนักมาก อาจจะก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ เนื่องจากมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน รวมทั้งมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน และอาจจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้าใกล้หรือเคลื่อนตัวผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนืออีกด้วย สำหรับสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำทั่วประเทศ ขณะนี้มีปริมาณน้ำ 41,088 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 50 ของปริมาณการกักเก็บ โดยเป็นปริมาณน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,555 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ51 ของปริมาณการกักเก็บ และมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 1 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี ส่วนแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่เฝ้าระวังน้ำน้อยมีจำนวน 13 แห่ง อย่างไรก็ตามขณะนี้แหล่งน้ำทั่วประเทศยังสามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 41,000 ล้าน ลบ.ม. เลขาธิการ สทนช. กล่าวต่อว่า เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงปลายฤดูฝน และเพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำเติมประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้เน้นย้ำให้หน่วยงานทุกด้านน้ำที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝนของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง สทนช.ได้บูรณาการติดตามผลการดำเนินงานล่าสุดพบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่สามารถดำเนินการตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ การบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก ขณะนี้ได้ดำเนินเสร็จเรียบร้อยแล้ว เช่นเดียวกับการปรับปรุงเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ได้ดำเนินการไปแล้ว 36 แห่ง ขนาดกลาง 415 แห่ง และเขื่อนระบายน้ำ 42 แห่ง ส่วนการซ่อมแซมปรับปรุงอาคารชลศาสตร์และระบบระบายน้ำให้พร้อมใช้งานนั้น อาคารชลศาสตร์ได้ดำเนินการไปแล้ว 2,312 แห่ง คิดเป็น 99% และสถานีโทรมาตร 4,209 แห่งคิดเป็น 89% คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ครบทุกแห่งในเร็วๆ นี้ ในขณะที่การปรับปรุงและแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ ได้ดำเนินการไปแล้ว 400 แห่ง จากทั้งหมด 625 แห่ง คิดเป็น 44% การขุดลอกคูคลองและกำจัดผักตบชวา ขณะนี้สามารถดำเนินการได้กว่า 3.78 ล้านตัน การเตรียมความพร้อมและวางแผนเครื่องจักรเครื่องมือประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ ได้เตรียมเครื่องมือเครื่องจักรแล้ว 40,604 เครื่อง และมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานและปรับปรุงวิธีการส่งน้ำ ขณะนี้ได้มีการขุดเจาะน้ำบาดาลแล้ว 2,498 บ่อ เติมน้ำใต้ดิน 998 แห่ง พร้อมทั้งได้วางแผนที่จะลดการสูญเสียน้ำลงอย่างน้อย 5% สำหรับมาตรการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเตรียมความพร้อม ได้มีการสร้างเครือข่าย 20 กระทรวง เพื่อขยายผลการรับรู้จากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น และให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลอย่างทั่วถึง และเมื่อเร็วๆ นี้ สทนช. ได้ร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำจัดทำเว็ปไซต์ “ศูนย์ข้อมูลทรัพยากรน้ำระดับจังหวัด” http://pwrc.thaiwater.net/ ซึ่งจะมีข้อมูลสถานการณ์น้ำฝน พายุ ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ ในพื้นที่ทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศโดยคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อแจ้งเตือนประชาชนได้ล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ส่วนมาตรการสุดท้ายคือ การติดตามประเมินผลและปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย ได้มีการเชื่อมโยง 7 เครือข่ายหลัก เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล เช่น กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง โดยกระทรวงมหาดไทย ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย โดยกระทรวงกลาโหม ศูนย์เมขลา/ศูนย์นาคราช โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร/ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยกรุงเทพมหานคร และเครือข่ายจิตอาสา ภาคประชาชน ภาคเอกชน เป็นต้น “นอกจากนี้ สทนช. ยังได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลได้แสดงผลผ่านเว็บไซต์ NationalThaiWater.onwr.go.th พร้อมแอพพลิเคชั่นบนมือถือ เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับหน่วยงานและประชาชน ในการติดตามสถานการณ์น้ำ วิเคราะห์คาดการณ์สภาพภูมิอากาศและสถานการณ์น้ำ และเป็นข้อมูลสำหรับสนับสนุนการสั่งการการบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพมากขึ้นและทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น” เลขาธิการ สทนช. กล่าวในที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประเสริฐ จันทรรวงทอง เคาะท...
08 ต.ค. 2567
บีไอจีจับมือน้ำมันพืชตราอง...
15 ต.ค. 2567
เฉลิมชัย ประชุมเข้ม ติดตาม...
17 ก.ย. 2567
สทนช.หนุนอาเซียน และ MRC ล...
19 ก.ย. 2567
กรมชลฯ จับมือ ภาครัฐ/เอกชน...
20 พ.ย. 2567
ดร.เฉลิมชัย ชื่นชม 65 โครง...
12 ต.ค. 2567
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
ฉบับที่ 440 ปักษ์หลัง
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ดูทั้งหมด
พลตำรวจโท ปิยะ ต๊ะวิชัย อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (ผบช.ภ.5) กรรมการบริหารแ...
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...