ปากเสียงของ
คนท้องถิ่น
เพื่อการพัฒนาประเทศ
วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2567
หน้าแรก
อปท. นิวส์
เกี่ยวกับอปท. นิวส์
โปรไฟล์ผู้บริหาร
ข่าวสาร
ข่าวเด่น / ไฮไลท์
ความสัมพันธ์ไทย - จีน และ เศรษฐกิจเพื่อนบ้าน
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์
สังคม / บุคคล
ท้องถิ่นไทย
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
การเมือง / การปกครอง
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ธรรมาภิบาล
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
คุณภาพชีวิต
เศรษฐกิจชุมชน
เกษตรนำไทย
สื่อสาร - คมนาคม
ท่องเที่ยว
ข่าววงใน!!!
ปฏิทินข่าว
อปท.นิวส์โพล
ข่าวย้อนหลัง
วิดีโอ
ฉบับย้อนหลัง
สมัครสมาชิก
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
ย้อนกลับ
สทนช.ซ้อมแผนจัดการน้ำ ป้องกันน้ำท่วมเพชรบุรี
31 ส.ค. 2564
สทนช.ซ้อมแผนจัดการน้ำ - แก้สิ่งกีดขวางทางน้ำ ป้องกันน้ำท่วมเพชรบุรี หากเกิดพายุจรช่วง ก.ย.นี้ สทนช.ลงพื้นที่ จ.เพชรบุรี ตามข้อสั่งการ “พลเอก ประวิตร” ซ้อมแผนสกัดท่วมซ้ำรอย ตรวจความพร้อมโครงการบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่างระบายน้ำออกทะเล ย้ำหน่วยเกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำก่อนฝนหนักช่วงเดือน ก.ย.นี้ ชี้สถานการณ์น้ำเขื่อนแก่งกระจาน-ปราณบุรียังพร้อมรับฝนได้ พร้อมเร่งแผนป้องพื้นที่ท่วมซ้ำซากรอบ 25 ปี ตามแผนหลักการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ หรือ กอนช. ได้มอบหมายให้ ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการเตรียมความพร้อมรับมือน้ำหลากในพื้นที่ จ.เพชรบุรี บริเวณคลองระบายน้ำ D9 ตำบลท่าคอย อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเพชรบุรี เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก โดยเฉพาะ จ.เพชรบุรี ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมหนักในช่วงปี 2559 – 2561 ซึ่งรัฐบาลได้สนับสนุนแผนงานโครงการแก้ไขปัญหาในพื้นที่เร่งด่วน ภายใต้โครงการบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ใช้แนวทางระบายน้ำออกทะเลอ่าวไทยให้เร็วที่สุด ซึ่งในฤดูฝนปี 2563 ที่ผ่านมาตัวเมืองเพชรบุรีไม่ได้รับกระทบจากน้ำท่วมแต่อย่างใด โดยกรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำผ่านคลองระบายน้ำ D9 ที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของโครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่างฯ ช่วยตัดมวลน้ำส่วนหนึ่งจากคลองชลประทานสาย 3 และหน่วงน้ำหน้าเขื่อนเพชร เมื่อน้ำถูกผันลัดเข้าสู่คลองระบายน้ำ D9 จะไหลลงทะเลอ่าวไทย ระยะทางน้ำประมาณ 20 กิโลเมตร ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการซักซ้อม 10 มาตรการรับมือสถานการณ์ฝนตกหนัก หรือหากมีพายุจรเข้ามาในพื้นที่ ทั้งแผนบริหารการน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ ซึ่งปัจจุบันพบว่าแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่งในลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบฯ ยังสามารถรองรับน้ำฝนได้อีกมาก ได้แก่ เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ปัจจุบันมีปริมาณน้ำเก็บกักรวม 434 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็น 61% ของความจุ ส่วนเขื่อนปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปริมาณน้ำ 208 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 53% ของความจุ เร่งแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำ รวมถึงเตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ และสร้างความเข้าใจกลุ่มผู้ใช้น้ำ ผู้นำท้องถิ่น เพื่อแจ้งเตือน เฝ้าระวัง สถานการณ์น้ำล่วงหน้า ที่จะช่วยลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) จะติดตามประเมินสถานการณ์ฝนในพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบฯ เพื่อประสานแจ้งหน่วยงานระดับพื้นที่อย่างใกล้ชิดด้วย ซึ่งคาดว่าในเดือนกันยายนจะมีปริมาณฝนตกเพิ่มมากขึ้นได้เช่นกัน ขณะเดียวกัน สทนช.จะเร่งรัดแผนงานโครงการปรับปรุงคลองระบายน้ำ D1 และคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา RMC1 พร้อมอาคารประกอบ ซึ่งช่วยเพิ่มการระบายน้ำลงสู่อ่าวไทยรวมทั้งสิ้น 550 ลบ.ม./วินาที นอกเหนือจากการใช้คลอง D9 เพียงเส้นทางเดียวที่อาจมีข้อจำกัดที่อาจระบายน้ำไม่ทันเมื่อมีปริมาณน้ำมาก ซึ่งกรมชลประทานมีแผนดำเนินการในปี 2566-2569 เบื้องต้นอยู่ในช่วงของการสำรวจออกแบบ ถ้าดำเนินการคลอง D1 ได้ ก็จะแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากของจังหวัดเพชรบุรีได้อย่างยั่งยืน รวมถึงงานเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของเขื่อนแก่งกระจาน และเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ประจันต์ ซึ่งสอดคล้องกับผลโครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่อย่างยั่งยืน อาทิ ต้องเพิ่มช่องทางระบายน้ำเพื่อผันน้ำจากแม่น้ำเพชรบุรีลงสู่ทะเล ปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพิ่มความจุและปรับปรุงอาคารระบายน้ำล้นเขื่อนแก่งกระจาน ติดตั้งสถานีอัตโนมัติวัดน้ำฝนและน้ำท่าในพื้นที่ต้นน้ำ ใช้มาตรการผังเมือง เป็นต้น “จากผลการศึกษาพบว่าแผนงาน/โครงการในแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี มีทั้งสิ้น 2,428 โครงการ แบ่งเป็น เป็นแผนงาน/โครงการที่ดำเนินการแล้วระหว่างปี 2561-2564 รวม 685 โครงการ เก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้น 142 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ได้รับประโยชน์ 61,275 ไร่ ยังคงเหลือที่จะต้องดำเนินการในระยะถัดไประหว่างปี 2565-2580 อีก 1,743 โครงการ เก็บกักน้ำเพิ่มขึ้น 455 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 360,000 ไร่ โดยมีเป้าหมายสำคัญ อาทิ การพัฒนาด้านการจัดการน้ำอุปโภค-บริโภค เพิ่มพื้นที่ชลประทานและพื้นที่เกษตรน้ำฝน อนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำ รวมถึงการพัฒนาด้านการจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย และป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจที่รอบปีการเกิดซ้ำ 25 ปีด้วยเช่นกัน”ดร.สมเกียรติ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
DCCE ร่วมกับ ทช. และ UNDP ...
22 ต.ค. 2567
ปักธงชัย! ยอดสมัครพุ่งกว่า...
25 ก.ย. 2567
“รัฐมนตรีเฉลิมชัย”ลุยแก้โล...
07 ต.ค. 2567
ทส.เร่งหาจุดพักขยะน้ำท่วม ...
22 ก.ย. 2567
กฟผ. 2 เขื่อนใหญ่ พบสื่อมว...
26 ต.ค. 2567
กปภ. เผยผลสำเร็จโครงการ C...
22 ต.ค. 2567
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
ฉบับที่ 440 ปักษ์หลัง
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ดูทั้งหมด
พลตำรวจโท ปิยะ ต๊ะวิชัย อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (ผบช.ภ.5) กรรมการบริหารแ...
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...