ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
กรมอนามัยวางกรอบนั่งทานในร้านไม่เกิน1ชั่วโมง
01 ก.ย. 2564

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย แถลงข่าวที่กระทรวงสาธารณสุข ถึงเรื่อง มาตรการปลอดภัยสำหรับร้านอาหารและสถานประกอบการในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดงเข้ม) ภายหลังได้รับการผ่อนคลายมาตรการเริ่มวันนี้เป็นวันแรก ว่า มาตรการที่ออกมาจะเป็นส่วนกำหนดทิศทางในอีก 1 เดือนข้างหน้า คือเริ่มบังคับใช้ 1 ต.ค. 2564 ควบคู่กับ Universal Prevention (UP) การป้องกันการติดเชื้อโควิดแบบครอบจักรวาล โดยมีรายละเอียดดังนี้

มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting)

COVID Free Environment (สภาพแวดล้อม)

Clean and Safe

  • ทำความสะอาด โต๊ะ ที่นั่ง ทันทีก่อน-หลังใช้บริการ และจดทำป้ายที่แสดงถึงการทำความสะอาด
  • ทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมและห้องน้ำ ทุก 1-2 ชั่วโมง และ ดำเนินการตามหลักสุขาภิบาลของร้านอาหาร
  • จัดอุปกรณ์รับประทานอาหารเฉพาะบุคคล
  • งดจัดบริการอาหารรูปแบบผู้บริโภคบริการตนเอง
  • จัดบริการเจลแอลกอฮอล์ประจำโต๊ะ

Distancing

  • เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลและโต๊ะรับประทานอาหาร 1-2 เมตร
  • กรณี

- พื้นที่ใช้เครื่องปรับอากาศ เว้นระยะระหว่างโต๊ะ 2 เมตร

- หากพื้นที่จำกัด จัดโต๊ะเว้นระยะไม่ถึง 1 เมตร ให้ทำฉากกั้น ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการระบายอากาศ

  • จัดพื้นที่ไม่ให้แออัด ไม่นั่งตรงข้ามกัน
  • ความหนาแน่นผู้ใช้บริการ

- พื้นที่มีเครื่องปรับอากาศ ไม่เกิน 50%

- พื้นที่เปิด (อากาศถ่ายเท) ไม่เกิน 75%

  • จำกัดระยะเวลารับประทานอาหาร ไม่เกิน 1 ชั่วโมง

Ventilation

  • เปิดประตู หน้าต่าง หรือเดินระบบจ่ายอากาศสะอาด อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ก่อนเปิดและปิดระบบปรับอากาศ
  • มีการระบายอากาศและหมุนเวียนที่เหมาะสมต่อจำนวนคน
  • พื้นที่ปรับอากาศ ให้เปิดระบายอากาศในพื้นที่รับประทานอาหาร ทุก 1 ชั่วโมง
  • ห้องน้ำ ควรมีระบบระบายอากาศที่ดี หรือเปิดพัดลมระบายอากาศในห้องน้ำ ตลอดเวลาที่ให้บริการ

COVID Free Personnel (พนักงาน)

มีภูมิคุ้มกัน

  • พนักงานทุกคนฉีดวัคซีนครบโดส
  • เคยมีประวัติการติดเชื้อโควิดมาก่อน อยู่ในช่วง 1-3 เดือน

ไม่พบเชื้อโดยการคัดกรอง

  • คัดกรองความเสี่ยงพนักงานทุกวันด้วย Thai Save Thai (TST) หรือ APP อื่นๆ
  • จัดหา Antigen Test Kit (ATK) ให้พนักงาน ทำการตรวจทุก 7 วัน

UP-DMHTA

  • มีผู้รับผิดชอบ กำกับติตตาม พนักงานทุกคน
  • งดรวมกลุ่มขณะปฏิบัติงาน ระหว่างพัก
  • งดรับประทานอาหารร่วมกัน

COVID Free Customer (ลูกค้า)

  • คัดกรองความเสี่ยงก่อนเข้าร้าน ด้วย Thai Save Thai หรือ APP อื่นๆ
  • เข้าร้านที่มีเครื่องปรับอากาศ หรือในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ต้องฉีดวัคซีนครบโดส (ต้องมีเอกสารรับรองยืนยัน) หรือเคยมีประวัติการติดเชื้อมาก่อน อยู่ในช่วง 1-3 เดือน หรือ ATK เป็นลบไม่เกิน 7 วัน
  • มีการกำกับให้ปฏิบัติมาตรการ UP-DMHTA อย่างเคร่งครัด

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการและพนักงานในพื้นที่สีแดงเข้ม เปิดร้านได้ตามปกติ ไม่ต้องตรวจ ATK เป็นประจำ แต่เน้นว่าช่วงเดือน ก.ย.นี้ ให้ร้านเตรียมความพร้อมและยึดมาตรการ พนักงานไม่ต้องฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม แต่หากเร่งรัดให้ไปรับการฉีดวัคซีนภายในเดือน ก.ย. ได้ก็จะเป็นการดี และในแต่ละพื้นที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอาจจะออกข้อกำหนดที่มากกว่าได้

สำหรับคำถามว่า เด็กจะไปทานอาหารในร้านกับผู้ปกครองได้หรือไม่นั้น อธิบดีกรมอนามัย ระบุว่า ใช้บริการได้ แต่ในพื้นที่สีแดงเข้มผู้ติดเชื้อยังสูง ซึ่งในกลุ่มเด็กมีเพียงกำหนดให้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ช่วง 12-18 ปีเท่านั้น ถ้าจะพาเด็กไปรับประทานตามร้านก็ต้องประเมินความเสี่ยง สามารถปฏิบัติ ป้องกัน และร้านทำตามมาตรการที่น่าเชื่อถือหรือไม่ แต่ก็ต้องรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นกรณีมีเด็กอาจสั่งเดลิเวอรี่จะปลอดภัยกว่า

ส่วนการประเมินผลมีกลไกการติดตามร้านอาหารว่ามีการดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้

1. เจ้าของร้านอาหาร จะต้องประเมินตนเอง ประเมินตนเองผ่านระบบ Thai Stop Covid Plus ของกรมอนามัย และติดประกาศนียบัตรด้านหน้าสถานประกอบกิจการ ที่เห็นชัดเจน สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดจะต้องมีการประเมินตนเองซ้ำทุก 14 วัน โดยร้านอาหารต้องดำเนินการตามมาตรการอย่างเคร่งครัด

2. กำกับ ติดตาม และประเมินมาตรการ โดยเจ้าหน้าที่ โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแกนหลัก บูรณาการร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุข (สสจ./สสอ./รพ./รพ.สต.) และสมาคม/ชมรมผู้ประกอบการในระดับพื้นที่ในการสุ่มประเมิน และประเมินการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว

3. ข้อมูลจากประชาชนที่เข้าใช้บริการสถานประกอบกิจการ โดยสามารถประเมินสถานประกอบการผ่าน QR code จากใบประกาศของระบบ Thai Stop COVID Plus หรือร้องเรียนผ่านช่องทางอื่นๆ

นายแพทย์สุวรรณชัย ระบุต่อไปว่า ความสำเร็จในการพยายามควบคุมโควิด-19 อยู่ในระดับที่ระบบสาธารณสุขจะรองรับได้ ไม่ได้เกิดจากภาครัฐฝ่ายเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือ ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ เจ้าของร้าน พนักงาน รวมถึงลูกค้า ซึ่งร้านก็ต้องประเมินตนเอง หากพบว่าไม่ผ่านเกณฑ์ก็ต้องปรับปรุง ขณะที่ลูกค้าก็ประเมินผ่าน TST ซึ่งส่วนใหญ่ร้านจะคัดกรองแต่อาการ ซึ่งมากกว่า 80% ของผู้ป่วยโควิด-19 ไม่มีอาการแต่แพร่เชื้อได้ ทั้งนี้ ประชาชนสามารถแยกแยะได้ว่าร้านไหนทำครบถ้วน แต่สิ่งที่ต้องช่วยกันคือหากพบเห็นร้านไม่ดำเนินการตามมาตรการให้สแกนคิวอาร์โค้ดแจ้งมายังกรมอนามัย จะมีการฟีดแบ็กไปที่ท้องถิ่นไปตรวจเตือน แนะนำ และดำเนินการตามกฎหมาย

 “ฝากพี่น้องประชาชนว่า ในพื้นที่สีแดงเข้ม สถานการณ์การระบาดมีแนวโน้มที่ดี คือลดลง แต่จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันยังมากกว่าหลัก 10,000 ขึ้นไป นั่นหมายความว่าการแพร่ระบาดยังคงอยู่ในระดับสูง แต่ระบบสาธารณสุขยังรองรับได้ การที่มีมาตรการให้เปิดกิจการก็เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและลดผลกระทบของตัวผู้ประกอบการทุกระดับ ตลอดจนให้พี่น้องประชาชนสามารถออกไปใช้บริการยังกิจการที่มีการเปิด

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องร่วมมือกันกำกับให้กิจการนั้นมีความปลอดภัย กับทั้งในส่วนของร้านอาหาร ผู้ประกอบการ พนักงาน และประชาชน ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความเข้มข้นและความร่วมมือกันอย่างเอาจริงเอาจังของทุกภาคส่วน จะทำให้กิจการที่ถูกเปิดนั้น จะต้องไม่ย้อนกลับไปปิดซ้ำอีกครั้ง เพราะจะยิ่งซ้ำเติมในเรื่องผลกระทบของผู้ประกอบการมากยิ่งขึ้น ย้ำทุกคนมาตรการ UP-DMHTA ทุกคนต้องร่วมยึดถือปฏิบัติในทุกสถานที่และทุกเวลาที่พบปะผู้คน”.

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...