ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
"ประวิตร" กำชับให้เร่งผลักดันแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี
03 ก.ย. 2564

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า จากการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 1 ที่มี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  (Video Conference) ได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งงานตามภารกิจ 6 ด้านมีความคืบหน้าเกินร้อยละ 60 แล้ว คือ น้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ พัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร สระน้ำในไร่นา โดยเฉพาะแหล่งน้ำชุมชนคืบหน้าแล้วถึงร้อยละ 91 รวมทั้ง ยังพบมีหลายแผนงานมีความคืบหน้าค่อนข้างต่ำกว่าเป้าหมายในระยะ 5 ปีแรก เช่น การพัฒนาขยายเขตให้บริการประปาเมือง พื้นที่เศรษฐกิจ และแหล่งท่องเที่ยว และการจัดหาแหล่งน้ำสำรองหรือน้ำต้นทุน อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน ระบบป้องกันชุมชนเมืองและเขื่อนป้องกันตลิ่ง รองนายกรัฐมนตรีจึงได้กำชับให้เร่งรัดงานให้แล้วเสร็จตามแผนที่กำหนด เพื่อเสนอ กนช. พิจารณาต่อไป จากนั้นจะส่งรายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบทุกสิ้นปีงบประมาณ พร้อมทั้ง ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายงานผลสัมฤทธิ์ของโครงการด้านแหล่งน้ำตามตัวชี้วัดของแผนแม่บทน้ำให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ก่อน โดย สทนช. จะนำเข้าข้อมูลสู่ระบบติดตามประเมินผลด้านน้ำของประเทศไทย หรือ Thai Water Assessment (TWA) แล้วให้หน่วยงานรายงานผลในระบบเพื่อติดตามประเมินผลแบบ Real time ต่อไป

เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวย้ำว่า ที่ประชุมยังได้ติดตามความก้าวหน้าแผนหลักการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง เพื่อกำหนดขอบเขตเป้าหมายการพัฒนาของโครงการพัฒนาใช้น้ำภายในประเทศร่วมกับการพัฒนาใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขง โดยมีพื้นที่ชลประทานเป้าหมาย 39 ล้านไร่ แบ่งเป็น การพัฒนาน้ำภายในประเทศร่วมกับการใช้น้ำโขง 34 ล้านไร่ และพัฒนาน้ำภายในประเทศ 5 ล้านไร่ มีการพัฒนา 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาใช้น้ำสาขาของแม่น้ำโขง ด้วยการสร้างประตูระบายน้ำในลำน้ำสาขาช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง // ระยะที่ 2 การพัฒนาใช้น้ำโขงสู่ลุ่มน้ำข้างเคียงบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งในลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่างและลุ่มน้ำข้างเคียง // ระยะที่ 3 การพัฒนาใช้น้ำโขงโดยแรงโน้มถ่วงสู่พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (โครงการโขงเลย ชี มูล) เพื่อเสริมฝนทิ้งช่วง เติมน้ำให้อ่างเก็บน้ำเดิมที่มีปัญหา ลำน้ำ สระน้ำ หนอง บึง ให้มีน้ำทั้งปีและเป็นน้ำต้นทุนในฤดูแล้ง และสุดท้าย ระยะที่ 4 พัฒนาการใช้แม่น้ำโขงร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน (ไทย-สปป.ลาว) โดยพัฒนาโครงการเขื่อนพลังงานไฟฟ้าปากชม จ.เลย และเขื่อนพลังงานไฟฟ้าบ้านกุ่ม จ.อุบลราชธานี

ทั้งนี้ สทนช.จะนำแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกลุ่มลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาพิจารณาร่วมด้วย โดยมติที่ประชุมเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นและเสนอคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดให้เป็นไปตามแผนหลักการพัฒนา ส่วนเป้าหมายพัฒนาที่ 4 ให้ สทนช. ในฐานะคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย (TNMC) ศึกษาความเหมาะสมโครงการร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน  และเจรจาทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกัน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...