ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
ดันท่าเรือกันตังเป็นท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยวอันดามัน
05 ก.ย. 2564
ตรัง หนุนปรับปรุงท่าเรือพาณิชย์กันตังเป็นท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยว ต่อยอดการพัฒนาเมืองเก่ากันตังให้เป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวฝั่งทะเลอันดามัน นายสรนนท์ จิโรจน์มนตรี นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองกันตัง จังหวัดตรัง เปิดเผยว่าขณะนี้ ทางสำนักงานเทศบาลเมืองกันตังได้ทำสัญญาเช่าอาคารท่าเทียบเรือสะพานท่าเทียบเรือต่างประเทศ รวม 3 แห่ง กับ สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ จังหวัดตรัง ดังนี้คือ 1.สะพานท่าเทียบเรือต่างประเทศ ขนาดกว้าง 15.50 เมตร ยาว 144.00เมตร 2.สะพานท่าเทียบเรือต่างประเทศขนาดกว้าง 24.50 เมตร ยาว 90.00 เมตร และ 3.สะพานท่าเทียบเรือต่างประเทศขนาดกว้าง 24.50 เมตร ยาว 90.00เมตร ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันได้มีภาคเอกชนลงทุนก่อสร้างท่าเทียบเรือต่างประเทศในเขตเทศบาลเมืองกันตังเพิ่มขึ้นอีก 2 แห่ง ประกอบกับในสถานการณ์ปัจจุบันท่าเทียบเรือต่างประเทศทั้ง 3 แห่งที่ทางสำนักงานเทศบาลเมืองกันตังเช่าไว้นั้นไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการขนถ่ายสินค้าแล้ว นายสรนนท์ เปิดเผยต่อไปว่า ดังนั้น ทางสำนักงานเทศบาลเมืองกันตังและทางสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาตรังมีความเห็นร่วมกันว่าควรปรับปรุงท่าเทียบเรือต่างประเทศแห่งหนึ่งแห่งใดในจำนวน 3 แห่ง เพื่อนำมาปรับปรุงให้เป็นสะพานท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยวของอำเภอกันตัง โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาเมืองเก่ากันตังให้เป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวฝั่งทะเลอันดามัน ทั้งนี้ก็เพราะว่าการเข้าถึงเมืองเก่ากันตังทั้งทางรถไฟและทางเครื่องบินสะดวกและรวดเร็ว "อีกประการหนึ่งในปีงบประมาณ 2565 กรมโยธาธิการและผังเมืองได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 80 ล้านบาทพัฒนาเมืองเก่ากันตังอีกด้วย ดังนั้นทางเทศบาลเมืองกันตังจึงหารือกับหลายภาคส่วน พิจารณาคัดเลือกท่าเทียบเรือต่างประเทศในจำนวน 3 แห่งนำมาปรับปรุงเป็นท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยวเพียงแห่งเดียว ซึ่งจากการประชุมหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดล่าสุดเมื่อเร็วๆนี้มีมติเห็นชอบให้นำท่าเทียบเรือต่างประเทศหมายเลข3 ขนาดพื้นที่กว้าง 24.50 เมตร ยาว 90.00 เมตร มาปรับปรุงเป็นท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยวของอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และให้สำนักงานเทศบาลเมืองกันตังหรือสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดตรังเป็นหน่วยงานเบิกจ่ายงบประมาณ โดยใช้งบประมาณของกรมเจ้าท่าในการออกแบบก่อสร้างปรับปรุงสะพานท่าเทียบเรือต่างประเทศหมายเลข 3" นายสรนนท์ กล่าว นายสรนนท์ กล่าวต่อไปว่า จากนี้ไปก็จะนำรายงานการประชุมการปรับปรุงท่าเรือพาณิชย์กันตังหมายเลข 3 นำมาปรับปรุงเป็นท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยว นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร )และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน ( กรอ.)เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจังหวัดตรัง ในโอกาสต่อไป หากดำเนินการแล้วเสร็จตนมั่นใจว่าจะสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดตรังและจังหวัดฝั่งอันดามันได้เป็นอย่างดี และจะสามารถ เปลี่ยนเมืองกันตังจากเมืองท่า สู่ เมืองท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการมองภาพในอนาคต(Scenario) การเตรียมการในอนาคต สะพานท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยวกันตัง เรามี หน่วยงานของศุลกากร หน่วยงานของตรวจคนเข้าเมือง เรามีหน่วยงานเจ้าท่าภูมิภาค เรามีอู่ซ่อมเรือ ไว้บริการนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เดินทางโดยเรือใบหรือเรือยอร์ชมาแสตมป์วีซ่าและเข้ามาท่องเที่ยวเมืองเก่ากันตังเ(Vintage town)ได้ "อีกประการหนึ่งเมืองกันตังจะเป็นจุดพักของนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกคือเกาะหลีเป๊ะ สะพานท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยวกันตังใช้เชื่อมโยงกับทะเลตรังตอนใต้และจังหวัดสตูล ส่วนสะพานท่าเทียบเรือหาดปากเมง อำเภอสิเกา จังหวัดตรังใช้เชื่อมโยงทะเลตรังเหนือและจังหวัดกระบี่ ช่วงโควิด เราต้องเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนพัฒนาบุคลากรและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ไว้รองรับในช่วงเปิดประเทศหลังวิกฤตโควิด-19ต่อไป" นายสรนนท์ กล่าว
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...