ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
ยธ. เสนอ สธ. ปลดล็อคกฎหมายใช้พืชกระท่อมผสมอาหาร-ทำผลิตภัณฑ์สมุนไพร
09 ก.ย. 2564

ยธ.เสนอ สธ.เร่งปลดล็อค กฎหมายพืชกระท่อมใช้ผสมอาหาร-ทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรจำหน่าย "สมศักดิ์"ชี้ข้อจำกัด กฎหมายขัดการค้าวิถีชาวบ้าน

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ปัจจุบันพืชกระท่อมจะพ้นจากบัญชียาเสพติดประเภท 5 แล้ว สามารถนำมาใช้ในวิถีชีวิตท้องถิ่น ทั้งการเคี้ยวใบ การปลูก การครอบครองและการขายใบสดที่ไม่ได้ปรุงหรือทำเป็นอาหารทำได้อย่างเสรีไม่ผิดกฎหมาย แต่การนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่ระบุสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการต่างๆ จะต้องขออนุญาตกระทรวงสาธารณสุขตามพ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร 2562 ส่วนการนำไปประกอบอาหารหรือเป็นส่วนผสมในอาหารเพื่อจำหน่ายนั้น ยังมีตามผิดตามกฎหมายพ.ร.บ.อาหาร 2522 เนื่องจากกฎหมายยังไม่ปลดล็อคให้นำพืชกระท่อมไปทำอาหารหรือผสมในอาหารเพื่อจำหน่ายได้ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424 ) 2564 ออกตามความใน พ.ร.บ.อาหาร 2522 เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ซึ่งกำหนดให้อาหารที่ปรุงจากพืชกระท่อมเป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย หรือแม้กระทั่งน้ำต้มกระท่อมที่ไม่ได้ผสมกับสิ่งใดเลยก็เป็นสิ่งที่ห้ามผลิตเพื่อจำหน่ายตามประกาศฉบับนี้ หากการฝ่าฝืน ผลิต และขาย อาหาร ที่ พ.ร.บ. อาหาร ห้าม มีโทษตามมาตรา 50 จำคุก 6 เดือน - 2 ปี ปรับ 5,000 - 20,000 บาท

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังมีข้อจำกัดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหาร และเครื่องสำอาง ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ จากพืชกระท่อมได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์ จากพืชกระท่อมเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหาร และเครื่องสำอาง เนื่องจากถือเป็นอุปสรรคการค้าขายแบบชาวบ้าน อย่างไรก็ตามในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.พืชกระท่อม พ.ศ. .... คณะกรรมาธิการฯ ซึ่งตนเป็น ประธานฯได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าว และได้เสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อส่งให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาแล้ว

"ในช่วงที่ประกาศยังไม่ถูกแก้ไข หากผู้ประกอบการต้องการพัฒนาต่อยอดเพื่อสกัดหรือแปรรูปพืชกระท่อมโดยใช้ประโยชน์จากสารสำคัญในใบกระท่อมเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือยาแผนโบราณ ที่มีสรรพคุณในการบำบัดหรือบรรเทาอาการต่างๆ นั้น สามารถขอคำแนะนำกองควบคุมผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...