ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
เอ็นไอเอดันเชียงใหม่สู่ศูนย์กลางนวัตกรรมของภาคเหนือ เพิ่มโอกาสให้คนในภูมิภาคเข้าถึงเศรษฐกิจ - คุณภาพชีวิตบนฐานนวัตกรรม
13 ก.ย. 2564
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดตัวสำนักงานภูมิภาคแห่งแรกในภาคเหนือ ภายใต้ชื่อ ‘NIA Northern Regional Connect’ ตั้งอยู่ที่อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ดำเนินงานครอบคลุม 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน และ 3 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง รวม 11 จังหวัด ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อม (System Integrator) ระหว่างหน่วยงานท้องถิ่น เช่น เทศบาล มหาวิทยาลัย อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเอกชน และชุมชน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนนวัตกรรมในระดับภูมิภาค โดย NIA วางแผนพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่และภูมิภาค ภายใต้กลไก 3 ด้าน ได้แก่ การสนับสนุนด้านการเงิน (Finance) การสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายภูมิภาค (Network) และการบริหารจัดการข้อมูลอัจฉริยะ (Intelligent) พร้อมเดินหน้าต่อยอดผลักดันเชียงใหม่สู่ “จังหวัดศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาคภาคเหนือ” ตั้งเป้าภายใน 5 ปี จะเกิดการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งสิ้น 263 ล้านบาท และก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดของภาคเหนือ (GPP) เพิ่มขึ้น 0.042% และเกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้น 0.0011% รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ประธานกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า หนึ่งในภารกิจของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ อว. คือมุ่งเน้นการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า ด้วยการผลักดันให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของคน และการนำเอาองค์ความรู้แบบบูรณาการศาสตร์ ผนวกกับงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ และที่สำคัญต้องเน้นการพัฒนาให้ครอบคลุมพื้นที่ในระดับภูมิภาค ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานเครือข่ายในหลากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษาและภาคเอกชน เพื่อช่วยกันพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในพื้นที่ภูมิภาคให้เติบโตและสามารถสร้างนวัตกรรมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของประเทศ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศได้ ทั้งนี้ อว. ได้มอบหมายให้ NIA เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในประเทศ ซึ่ง NIA ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการยกระดับนวัตกรรม และกระจายโอกาสการพัฒนานวัตกรรมในระดับภูมิภาค จึงดำเนินการจัดตั้งสำนักงานภาคเหนือ สำหรับเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาระบบนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนไทยในภาคเหนือ โดยจะเป็นสำนักงานส่วนหน้าที่ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน หรือกลไกการสนับสนุนทางด้านนวัตกรรมในพื้นที่ รวมทั้งเป็นพื้นที่ให้ภาคีเครือข่ายนวัตกรรมได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ หรือจัดกิจกรรมทางนวัตกรรม และจะดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้า เพื่อร่วมเป็นข้อต่อสำคัญในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของ อว. ให้กับพื้นที่ต่อไป ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า หนึ่งในปัญหาหลักสำคัญของการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมของไทยคือ การกระจุกตัวของการพัฒนาอยู่เฉพาะในเมืองหลวง เด็กจบใหม่จำนวนมากต้องย้ายถิ่นฐานมาทำงานที่กรุงเทพฯ แทนที่จะได้อยู่พัฒนาบ้านเกิดของตน ดังนั้น การจัดตั้งสำนักงานภาคเหนือ หรือ NIA Northern Regional Connect จึงเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรม และสร้างโอกาสการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงเป็นการสร้างอัตลักษณ์ของย่านเมือง หรือระเบียงนวัตกรรม ให้มีความโดดเด่นก่อให้เกิดกิจกรรม และการลงทุนทางด้านนวัตกรรมต่อไป สำนักงานภาคเหนือ ถือเป็นสำนักงานภูมิภาคแห่งแรกของ NIA ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองอันดับสองรองจากกรุงเทพฯ ที่มีความพร้อมสู่การเป็นเมืองนวัตกรรม เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรมหลากหลาย มีสถาบันการศึกษาชั้นนำในภูมิภาคที่สามารถเป็นแหล่งผลิตนวัตกรได้ และมีสภาพแวดล้อมที่พร้อมต่อการเป็นบ้านหลังใหม่ของดิจิทัลโนแมดและสตาร์ทอัพจากทั่วโลก โดยสำนักงานจะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างกลไกด้านนวัตกรรมกับผู้ประกอบการภาคเอกชน เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสร้างกิจกรรมทางด้านนวัตกรรมในพื้นที่ สำนักงานภาคเหนือตั้งอยู่ภายในอาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ดำเนินงานครอบคลุม 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน และ 3 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง รวมเป็น 11 จังหวัด และวางเป้าหมายว่าในปี 2569 จะมีศูนย์กลางในการพัฒนานวัตกรรมเพิ่มขึ้นอีกใน 4 จังหวัด ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อจังหวัดโดยรอบทั้ง 11 จังหวัดนี้ เกิดย่านนวัตกรรมในภูมิภาคขึ้นอีก 2 แห่ง เกิดการจ้างงานในพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 3,000 อัตรา มีการเข้าถึงนวัตกรรมทางด้านสังคมของตัวแทนชุมชนไม่น้อยกว่า 400 คน เกิดการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งสิ้น 263 ล้านบาท ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดของภาคเหนือ (GPP) เพิ่มขึ้น 0.042% และเกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้น 0.0011% ดร.พันธุ์อาจ อธิบายต่อว่า อย่างไรก็ตามการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม และยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมในส่วนภูมิภาคยังมีประเด็นท้าทายอยู่ 7 ประเด็นสำคัญ ที่ต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่ ·        การเพิ่มวิสาหกิจฐานนวัตกรรม(Innovation-based Enterprise, IBE) ที่เพียงพอต่อการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง “ระบบนวัตกรรม” ·        การเพิ่มจำนวนนวัตกร (Innovator) ในระบบนวัตกรรมของไทยมีความเก่ง (Competency) และ ความเชี่ยวชาญ (Expertise) ในการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ·        การใช้ประโยชน์ โครงสร้างพื้นฐาน ทางนวัตกรรมและการเข้าถึงบริการทางนวัตกรรมในทุกภาคส่วน ·        การสร้างโอกาสทางนวัตกรรมในระบบภูมิภาค ·        การทำให้ กฏ ระเบียบ และ นโยบาย เป็นเรื่องง่ายกับกระบวนการทางนวัตกรรม ·        การเป็นชาตินวัตกรรมที่ “คนไทย” และ “นานาชาติ” ยอมรับ ·        การทำให้ระบบนวัตกรรมไทย “ตอบสนอง” ต่อการเปลี่ยนแปลงโลก (Transformation Innovation System) ซึ่ง NIA ได้มีการวางแผนแนวทางพัฒนาผ่านกลไก 3 ด้าน ได้แก่ การสนับสนุนด้านการเงิน การสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายภูมิภาค และการบริหารจัดการข้อมูลอัจฉริยะ ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรนวัตกรรมในพื้นที่ (Northern Innovation Thailand Alliance) เพื่อผลักดันเชียงใหม่ให้เป็นเมืองนวัตกรรมตัวอย่างของไทยและภูมิภาค ต่อไป
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...