ปากเสียงของ
คนท้องถิ่น
เพื่อการพัฒนาประเทศ
วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2567
หน้าแรก
อปท. นิวส์
เกี่ยวกับอปท. นิวส์
โปรไฟล์ผู้บริหาร
ข่าวสาร
ข่าวเด่น / ไฮไลท์
ความสัมพันธ์ไทย - จีน และ เศรษฐกิจเพื่อนบ้าน
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์
สังคม / บุคคล
ท้องถิ่นไทย
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
การเมือง / การปกครอง
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ธรรมาภิบาล
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
คุณภาพชีวิต
เศรษฐกิจชุมชน
เกษตรนำไทย
สื่อสาร - คมนาคม
ท่องเที่ยว
ข่าววงใน!!!
ปฏิทินข่าว
อปท.นิวส์โพล
ข่าวย้อนหลัง
วิดีโอ
ฉบับย้อนหลัง
สมัครสมาชิก
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อเรา
ร่วมงานกับเรา
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม
ย้อนกลับ
บิ๊กป้อม จี้ กอนช.กางแผนป้องกันท่วมใหญ่อุบลฯ
13 ก.ย. 2564
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และแนวทางการบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำชีและแม่น้ำมูล บริเวณสะพานเสรีประชำธิปไตย (M7) อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โดยมีผู้แทนกรมชลประทานเสนอแนวทางการป้องกันปัญหาน้ำท่วมและการดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูฝน ว่า ในการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ กอนช. เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้กำชับกระทรวงและหน่วยงานด้านน้ำที่เกี่ยวข้องบูรณาการการวางแผนป้องกันน้ำหลาก น้ำท่วมในช่วงปลายฤดูฝนนี้อย่างเคร่งครัด รวมถึงเน้นย้ำการเตรียมพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือประจำจุดเสี่ยงน้ำท่วมล่วงหน้า โดยเฉพาะ จ.อุบลราชธานีที่เคยเกิดน้ำท่วมหนักเมื่อปี’62 จากอิทธิพลของพายุโพดุลและพายุคาจิกิ ซึ่งแม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณการเกิดพายุในบริเวณดังกล่าว แต่จากสถานการณ์ฝนตกเพิ่มขึ้นหลายพื้นที่จากอิทธิพลของพายุ “โกนเซิน”ก็ประมาทไม่ได้ เนื่องจาก จ.อุบลฯ เป็นจุดที่มวลน้ำจากแม่น้ำชีและแม่น้ำมูลไหลมารวมกัน จึงได้เน้นย้ำหน่วยงานเกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางที่ สทนช.ได้เสนอแนะให้มีการการเฝ้าระวังพื้นที่ที่มีการไหลย้อนของแม่น้ำมูลตามลำน้ำสาขาฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก การติดตามข้อมูลฝน นอกเหนือจากสถานีในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ควรครอบคลุมพื้นที่ต้นน้ำที่ไหลลงมูลล่างและในพื้นที่มูลล่าง และเฝ้าระวังในกรณีร่องมรสุมในพื้นที่หลายวันและพื้นที่ฝนตกเป็นพื้นที่กว้างขวาง และในกรณีพายุพัดผ่าน รวมทั้งคาดการณ์ระดับน้ำ เพื่อใช้ในการเตือนภัย การเตรียมความพร้อม การอพยพ ประชาชนด้วย จากการติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำมูลตอนล่าง จ.อุบลราชธานี ซึ่งมีเขื่อนสิรินธร ปริมาณน้ำ 1,303 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 66 ขณะที่สถานี M7 ปัจจุบันมีระดับน้ำยังอยู่ในระดับปกติ 3.36 ม.รทก. (ตลิ่ง 7.0 ม.) ในภาพรวมถือว่าสถานการณ์ยังปกติ ยังมีพื้นที่ที่สามารถรองรับปริมาณน้ำในฤดูฝนนี้ได้อีกมาก ซึ่งกรมชลประทานได้วางแผนเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ก่อนน้ำมา แผนเชิญเหตุในภาวะฉุกเฉิน และมาตรการฟื้นฟูหลังน้ำลด ตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนน้อยที่สุด รวมทั้งเตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือและกำลังคนที่พร้อมจะเข้าไปให้การช่วยเหลือบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำให้กับพี่น้องประชาชนอย่างเต็มศักยภาพ รวมถึงทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่บริหารจัดการน้ำและจัดจราจรน้ำชี-มูลฤดูฝน ปี 2564 ไว้ 2 กรณี ได้แก่ 1.กรณีหากเกิดน้ำหลากในพื้นที่ลุ่มน้ำยัง (ตอนล่าง) เขื่อนยโสธร จะช่วยเร่งระบายน้ำเพิ่มเป็น 1.5-2 เท่าของปริมาณน้ำที่ไหลผ่านสถานีวัดน้ำท่าแม่น้ำชี อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด และสถานีวัดน้ำแม่น้ำยัง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด รวมกัน ณ ช่วงเวลาน้ำหลาก โดยไม่ให้มีผลกระทบกับพื้นที่ท้ายเขื่อนยโสธร-ธาตุน้อย-ลำน้ำมูล หากเกิดกรณีที่แม่น้ำชีตอนล่าง และแม่น้ำมูลน้ำ มีปริมาณน้ำมาก เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำปาวและเขื่อนในแม่น้ำชีทั้ง 4 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนชนบท, เขื่อนมหาสารคาม, เขื่อนวังยาง, เขื่อนร้อยเอ็ด จะลดการระบายน้ำและหน่วงชะลอน้ำ เพื่อช่วยแม่น้ำชีตอนล่างและแม่น้ำมูล ตามศักยภาพสูงสุดที่จะหน่วงชะลอน้ำได้ หากเป็นกรณีที่ 2 น้ำน้อย เขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนลำปาวจะระบายน้ำช่วยสนับสนุนพื้นที่ชีตอนล่าง ซึ่งเขื่อนอุบลรัตน์ มีแผนการระบายน้ำฤดูฝน ปี 2564 รวม 1,812 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันเขื่อนอุบลรัตน์ระบายน้ำวันละ 10.05 ล้าน ลบ.ม. เพื่อสนับสนุนพื้นที่การเกษตรในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวายและเติมน้ำในแม่น้ำชีตอนกลาง-ตอนล่าง “สทนช.ได้เสนอแนวทางการบริหารจัดการน้ำหลากในเขตผังน้ำมูลซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จปลายเดือนนี้ เพื่อให้หน่วยงานเกี่ยวข้องนำไปขับเคลื่อนสู่การปัญหาเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้อย่างยั่งยืน อาทิ การประเมินระยะเวลาการเดินทางของน้ำตามลำน้ำเพื่อคาดการณ์ และเตือนภัยระดับและปริมาณน้ำ การผันน้ำออกจากลำน้ำหลักไปยังลำน้ำข้างเคียง เมื่อปริมาณน้ำหลากมากกว่าความสามารถในการระบายน้ำด้านท้ายน้ำหลากเมื่อน้ำเดินทางมาถึงแม่น้ำมูลสายหลัก รวมถึงการผันน้ำเข้าไปยังพื้นที่น้ำนองที่มีอยู่ 2 ฝั่งของลำน้ำมูลสายหลัก หรือก่อสร้างแนวผันน้ำเพิ่มเติมในบริเวณชุมชนที่สำคัญบริเวณแม่น้ำมูลตอนล่าง เพื่อเพิ่มเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำ พัฒนาพื้นที่ลุ่มต่ำ (แก้มลิงธรรมชาติ) เป็นพื้นที่น้ำนอง เพื่อบริหารจัดการร่วมกับเขื่อนระบายน้ำในแม่น้ำมูลได้ เป็นต้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พีระพันธุ์ ผลิตต้นแบบโซลาร...
21 พ.ย. 2567
กรมชลฯ บูรณาการหน่วยงานในพ...
13 ก.ย. 2567
SPRC โชว์โครงการ เติมพลังร...
05 ต.ค. 2567
TPIPL and TPIPP ได้รับกา...
01 พ.ย. 2567
GC จับมือทุกภาคส่วน ร่วมผล...
18 ต.ค. 2567
กรมชลฯ จับมือ ภาครัฐ/เอกชน...
20 พ.ย. 2567
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
ฉบับที่ 440 ปักษ์หลัง
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก
ดูทั้งหมด
พลตำรวจโท ปิยะ ต๊ะวิชัย อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (ผบช.ภ.5) กรรมการบริหารแ...
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...