รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ประธานกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า NIA เล็งเห็นถึงความสำคัญของการยกระดับนวัตกรรมและกระจายโอกาสการพัฒนานวัตกรรมในระดับภูมิภาค จึงจัดตั้งสำนักงานภูมิภาคแห่งแรกในภาคเหนือ ภายใต้ชื่อ NIA Northern Regional Connect ตั้งอยู่ที่อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาระบบนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนไทยในภาคเหนือ โดยจะเป็นสำนักงานส่วนหน้าที่ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน หรือกลไกการสนับสนุนทางด้านนวัตกรรมในพื้นที่ รวมทั้งเป็นพื้นที่ให้ภาคีเครือข่ายนวัตกรรมได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ จัดกิจกรรมทางนวัตกรรมและจะดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าเพื่อร่วมเป็นข้อต่อสำคัญในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของ อว. ให้กับพื้นที่ต่อไป
นายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า สำนักงานภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงานครอบคลุม 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน และ 3 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง รวม 11 จังหวัด พร้อมวางเป้าหมายในปี 2569 จะมีศูนย์กลางในการพัฒนานวัตกรรมเพิ่มขึ้นอีกใน 4 จังหวัด ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อจังหวัดโดยรอบทั้ง 11 จังหวัด เกิดย่านนวัตกรรมในภูมิภาคขึ้นอีก 2 แห่ง เกิดการจ้างงานในพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 3,000 อัตรา มีการเข้าถึงนวัตกรรมทางด้านสังคมของตัวแทนชุมชนไม่น้อยกว่า 400 คน เกิดการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 263 ล้านบาท ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดของภาคเหนือ (GPP) เพิ่มขึ้น 0.042% และเกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้น 0.0011%
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมและยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมในส่วนภูมิภาค ยังมีประเด็นท้าทาย 7 ประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ ทั้งการเพิ่มวิสาหกิจฐานนวัตกรรม (Innovation-based Enterprise, IBE) ที่เพียงพอต่อการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง “ระบบนวัตกรรม” การเพิ่มจำนวนนวัตกร (Innovator) ในระบบนวัตกรรมของไทยมีความเก่ง (Competency) และความเชี่ยวชาญ (Expertise) ในการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง การใช้ประโยชน์ โครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรมและการเข้าถึงบริการทางนวัตกรรมในทุกภาคส่วน การสร้างโอกาสทางนวัตกรรมในระบบภูมิภาค การทำให้ กฏ ระเบียบ และนโยบาย เป็นเรื่องง่ายกับกระบวนการทางนวัตกรรม การเป็นชาตินวัตกรรมที่ “คนไทย” และ “นานาชาติ” ยอมรับ และการทำให้ระบบนวัตกรรมไทย “ตอบสนอง” ต่อการเปลี่ยนแปลงโลก
NIA ได้วางแผนแนวทางพัฒนาผ่านกลไก 3 ด้าน ได้แก่ การสนับสนุนด้านการเงิน การสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายภูมิภาค และการบริหารจัดการข้อมูลอัจฉริยะ ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรนวัตกรรมในพื้นที่ (Northern Innovation Thailand Alliance) เพื่อผลักดันเชียงใหม่ให้เป็นเมืองนวัตกรรมตัวอย่างของไทยและภูมิภาคต่อไปภูเก็ตประกอบการตัดสินใจ จากนั้นจึงจะเป็นเรื่องนโยบาย ซึ่งเมื่อถึงเวลาเราจะได้ประกาศต่อไป