ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
สภาฯ เสียงเอกฉันท์ ผ่านวาระ 1 ร่างกฎหมายป้องกันซ้อมทรมาน-อุ้มหาย
16 ก.ย. 2564

ผ่านฉลุย!  สภาผ่านร่างกฎหมาย ป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมานและอุ้มหาย วาระ 1 โดยไม่มีผู้คัดค้าน ใช้ "ร่างรัฐบาล" เป็นหลัก กำหนดเวลาแปรญัตติ 7 วัน

16 ก.ย. 2564 สภาผู้แทนราษฎรผ่านร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมานและบังคับสูญหาย พ.ศ. … ด้วยเสียง 363 เสียง จากผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 365 เสียง ไม่มีผู้ไม่เห็นด้วย มีผู้งดออกเสียง 1 รายและไม่ลงคะแนนเสียง 1 ราย ซึ่งเป็นการผ่านร่างกฎหมายในวาระ 1 ของร่างกฎหมายที่มีประวัติการผลักดันในประเทศไทยอย่างยาวนาน

โดยวานนี้ (15 ก.ย.2564)  ระหว่างอภิปรายร่างกฎหมายดังกล่าว นายรังสิมันต์ โรม กล่าวแสดงคารวะถึงเหยื่อบังคับสูญหาย คือ อิทธิพล สุขแป้น, วุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ, สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์, ชัชชาญ บุปผาวัลย์,ไกรเดช ลือเลิศ, ชูชีพ ชีวะสุทธิ์, สยาม ธีรวุฒิ, กฤษณะ ทัพไทย และเด่น คำแหล้ เป็นต้น

ขณะที่ พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ทายาทหะยีสุหลง เหยื่อการบังคับสูญหายเล่าผลกระทบของญาติและผลกระทบทางจิตของผู้ถูกซ้อมทรมานและผู้เกี่ยวข้อง กล่าวถึงความจำเป็นที่ต้องเลือกร่างของ กมธ. ที่เสนอโดยนายสิระ เจนจาคะ เนื่องจาก ความคุ้มครองที่กว้างกว่า กรรมาธิการที่จะพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ประกอบด้วยนักสิทธิมนุษยชน เช่น สมบัติ บุญงามอนงค์, พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ, สมชาย หอมละออ และอังคณา นีละไพจิต ภรรยาสมชาย นีละไพจิต ซึ่งถูกบังคับสูญหาย  นอกจากอังคณาแล้ว ผู้ได้รับผลกระทบจากการบังคับสูญหายคนอื่นที่อยู้ในกมธ. นี้ ได้แก่ แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ทายาทหะยีสุหลง ผู้นำมุสลิมซึ่งถูกบังคับสูญหาย

กรรมาธิการรายอื่นๆ ได้แก่  วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ, ว่าที่ร้อยตรีธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์, จรวยพร พงศาวสีกุล, สุทัศน์ เงินหมื่น, ธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา, นายชวลิต วิชยสุทธิ์, ทศพร เสรีรักษ์, ประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ, เอกชัย ไชยนุวัติ, กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ, วีระกร คำประกอบ, สิระ เจนจาคะ, อาดิลัน อาลีอิสเฮาะ, สมบัติ อำนาคะ, กองตรี อาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ, ศุภชัย ใจสมุทร, พลโท กฤษณะ บวรรัตนารักษ์, รังสิมันต์ โรม, ศิริภา อินทวิเชียร และ สัมพันธ์ แป้นพัฒน์

ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มีการเสนอ 4 ร่างด้วยกัน ได้แก่  1. ร่างของกระทรวงยุติธรรม 2. ร่างกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน 3. ร่างพรรคประชาชาติ 4. ร่างพรรคประชาธิปัตย์

หลังลงคะแนนเสียงรับร่างทั้งหมดในวาระ 1 ประธานหารือว่า ร่างใดจะเป็นร่างหลัก อรรถกร ส.ส.พลังประชารัฐ เสนอใช้ร่างรัฐบาลเป็นหลัก ก่อนณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.พรรคก้าวไกล เสนอใช้ร่างกรรมาธิการการกฎหมาย ต่อมามีการเจรจากัน และตกลงใช้ร่างรัฐบาลเป็นร่างหลัก โดยณัฐวุฒิ บัวประทุม เชื่อว่าสามารถแก้ไขนำรายละเอียดอื่นเข้าไปได้ สภามีมติกำหนดระยะเวลาแปรญัตติ 7 วัน

ประเทศไทยมีพันธะผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้สาบสูญ ซึ่งผูกพันให้ต้องออกฎหมายออกมารองรับ นำมาสู่การร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมานและบังคับสูญหาย ฉบับแรกในสมัยสนช. ก่อนที่จะเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติและไม่มีความเคลื่อนไหว

หลังการเลือกตั้งปี 2561 ภาคประชาสังคมได้ยื่นร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง ผ่านทางกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เป็นที่มาของร่างกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ต่อมาพรรคประชาธิปัตย์และพรรคประชาชาติได้ยื่นร่างของพรรคตนเพิ่มเข้ามา จวบจนปลายปี 2563 กระทรวงยุติธรรมจึงชงร่างกฎหมายตัวเดียวกันนี้ผ่านทาง ครม.และส่งมายังรัฐสภา กระทั่งถูกบรรจุในวาระด่วน 8 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา และได้รับการพิจารณาในวาระแรก 15 กันยายน 2564

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...