สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรี โดยสำนักงานปศุสัตว์อำเภอลงพื้นที่ปฏิบัติหน้าที่ควบคุม ป้องกันโรคระบาดสัตว์ ปศุสัตว์อำเภอบ้านแหลมร่วมกับอาสาปศุสัตว์ ดำเนินการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin Disease : LSD) ให้กับเกษตรกร หมู่ที่ 1 ต.ท่าแร้ง จำนวน 6 ราย โค จำนวน 50 ตัว ม. 3 ตำบลท่าแร้ง จำนวน 3 ราย โค จำนวน 50 ตัว รวม 9 ราย สัตว์ได้รับการฉีดวัคซีนจำนวน 100 ตัว ปศุสัตว์อำเภอชะอำลงพื้นที่ดำเนินการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin Disease : LSD) ให้กับเกษตรกรเจ้าของสัตว์ ม.4 ต.ดอนขุนห้วย สัตว์ได้รับการฉีดวัคซีน จำนวน 200 ตัว ปศุสัตว์อำเภอเขาย้อยลงพื้นที่ดำเนินการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin Disease : LSD) ให้กับเกษตรกรเจ้าของสัตว์ ม.2 ตำบลหนองชุมพล สัตว์ได้รับการฉีดวัคซีนจำนวน 50 ตัว ปศุสัตว์อำเภอเมืองเพชรบุรี ลงพื้นที่เพื่อติดตาม ประชาสัมพันธ์ และให้คำแนะนำวิธีการดูแล ป้องกัน การกำจัดแมลงที่เป็นพาหะ เพื่อควบคุมโรคลัมปี สกิน ในพื้นที่อำเภอเมืองเพชรบุรี เกษตรกรจำนวน 2 ราย โค 18 ตัว และจากการติดตามให้คำแนะนะพบโคหายเป็นปกติ ในพื้นที่หมู่.5 ต.นาพันสาม อ.เมืองเพชรบุรี โคร่วมฝูง จำนวน 8 ตัว และในพื้นที่หมู่.9 ต.ดอนยาง อ.เมืองเพชรบุรี โคร่วมฝูง จำนวน 10 ตัว สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหนองหญ้าปล้องร่วมกับอาสาปศุสัตว์ ลงพื้นที่ดำเนินการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin Disease : LSD) ให้กับเกษตรกร หมู่ที่ 6 ต.หนองหญ้าปล้องจำนวน 5 ราย โคจำนวน 50 ตัว
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้บันทึกข้อมูลเจ้าของสัตว์ ข้อมูลทะเบียนฟาร์ม รายละเอียดการได้รับการฉีดวัคซีน โรคลัมปี สกิน ตามแบบรายงานการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคระบาดสัตว์ (แบบ กคร.4) แนะนำเจ้าของสัตว์ ติดตามอาการผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนถ้าพบให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอทันที พร้อมทั้งแนะนำให้เกษตรกรกำจัดและป้องกันแมลงดูดเลือดภายในฟาร์ม ระยะสร้างภูมิในช่วง 10 วัน ถึง 3 สัปดาห์ สถานการณ์โรคลัมปี สกิน จังหวัดเพชรบุรี วันที่ 4 ตุลาคม 2564 พบโคป่วยใน 8 อำเภอ 83 ตำบล 374 หมู่บ้าน 77 อปท.จำนวนเกษตรกร 1,170 ราย โคเนื้อป่วย 5,408 ตัว โคนมป่วย 266 ตัว รวม 5,674 ตัว อัตราป่วย (attack rate 16.71%) ตาย 782 ตัว (2.30%) อัตราป่วยตาย (case fatality rate) 13.78%