ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์ ย้อนกลับ
จบอย่างไร...คดีพระธัมมชโย...แห่งวัดพระธรรมกาย
16 ม.ค. 2560

- ความเห็นต่าง ในคดีความของพระเทพญาณมหามุนีหรือหลวงพ่อพระธัมมชโยแห่งวัดพระธรรมกายอำเภอคลองหลวงจังหวัดปทุมธานี   นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเพราะทางเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีหน้าที่ในการดำเนินการในคดีนี้ก็อ้างว่าเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ แต่หน้าที่ที่ปฏิบัติมันไปกระทบสิทธิ์ของบุคคลและความศรัทธาของคณะศิษย์หลวงพ่อพระธัมมชโยท่าน จึงเป็นเรื่องไม่ง่ายนักต่อการดำเนินคดีในเรื่องนี้

-แล้วทางออกจะเป็นอย่างไร  หากในมุมมองผู้ที่มีความศรัทธาในวัดปฏิบัติหรือของหลวงพ่อพระธัมมชโยก็จะเห็นว่า หลวงพ่อได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมเพราะมีศรัทธาและเชื่อว่าหลวงพ่อท่านเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมาตลอดชีวิตได้สร้างคุณโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและประเทศชาติโดยส่วนรวมมาตลอด  ไม่มีทางที่ท่านจะกระทำผิดตามที่มีการร้องทุกข์กล่าวโทษนับเป็น 100 คดีความ แทบจะไม่มีความดีอะไรหลงเหลืออยู่เลย

 - ในฝากฝ่ายที่ร้องทุกข์กล่าวโทษท่านก็จะเห็นว่าท่านได้ทำผิดตามที่มีผู้ร้องเรียนกล่าวหา โดยมีพยานเอกสารมากมายที่สนับสนุนความเชื่อของพวกตน   เพราะหากท่านบริสุทธิ์จริงไม่ได้กระทำผิดท่านก็ต้องออกมาต่อสู้คดีความไม่ต้องหลบหนีอย่างเช่นในปัจจุบันสิ

- นอกจากความเห็นที่แตกต่างของกลุ่มบุคคลทั้งสองฝ่ายแล้วดังกล่าวแล้ว ยังมีฝ่ายกลาง ๆ ที่รอดูความคืบหน้าในคดีนี้ว่า ที่สุดแล้วจุดจบของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร  หลวงพ่อพระธัมมชโย จะยอมมอบตัวต่อสู้คดีไหม หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)ที่สนธิกำลังกันจะบุกเข้าไปจับกุมหลวงพ่อท่านได้หรือไม่ กระแสข่าวแต่ละวันน่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง นี่คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ประเทศที่ได้ชื่อว่า

              “เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลกในยุคปัจจุบัน”

ในส่วนของวัดที่เป็นจุดกำเนิดของความขัดแย้ง คือวัดพระธรรมกาย ในภาพที่ผู้คนในสังคมมองเห็นคือหากพูดถึงวัดพระธรรมกายคือ  เป็นวัดที่มีสิ่งปลูกสร้างศาสนสถานในรูปแบบที่แตกต่างจากวัดทั่วไป  อลังการ มีผู้คนเข้าไปปฎิบัติธรรม  สวมใส่ชุดขาว  เป็นจำนวนมากในทุกวันอาทิตย์หรือเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนา  รูปแบบของผู้ไปปฏิบัติธรรมณวัดแห่งนี้คือต้องนุ่งขาว มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย

       การบริหารกิจการในวัดไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารจัดการภาครัฐ หรือมากกว่าด้วยซ้ำ มีการจัดตั้งเป็นองค์กรเครือข่ายเป็นกัลยาณมิตร  ปัจจุบันวัดธรรมกายผู้ที่เคารพศรัทธาเป็นหลักล้าน คนขึ้นไป และได้ขยายศูนย์หรือสาขาไปในประเทศต่างๆมากกว่า 100 แห่งในทุกทวีปทั่วโลก

 ดังนั้นวัดพระธรรมกายจึงเป็นวัดธรรมดา แต่ไม่ใช่ธรรมดาอย่างแน่นอนการขยายกิจการดังกล่าวเป็นจะมีผลดีผลเสียอย่างไรหรือไม่นั้นไม่ทราบ บางท่านก็มองว่า การสอนคนให้เป็นระเบียบวินัย ยึดมั่นในหลักการทางพระพุทธศาสนาคือ การให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา  จัดระเบียบของสังคม สอนให้มาทำสมาธิ มันผิดตรงไหน และที่ผ่านมาก็ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนเสียหายให้แก่สังคมประเทศชาติแต่อย่างใด

แต่บางท่านก็มองว่า การสอนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวทางของวัดพระธรรมกาย เป็นอันตรายต่อหลักการและความมั่นคงของพระพุทธศาสนา

แต่ถ้าเอาหลักการทางกฎหมายมาจับ วัดพระธรรมกายเป็นวัดที่ อยู่ภายใต้การปกครองของคณะสงฆ์ไทยหรือกฏหมายไทยได้รับการจัดตั้งให้เป็นวัดที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายเจ้าอาวาสรูปแรก คือหลวงพ่อพระธัมมชโยหรือปัจจุบันพระเทพญาณมหามุนีปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสกิตติมศักดิ์ส่วนเจ้าอาวาสที่ถูกต้องตามกฎหมายในขณะนี้ยังไม่ปรากฏข้อมูลที่แน่ชัด

         - เมื่อวัดพระธรรมกาย เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมายและเจ้าอาวาสก็อยู่ภายใต้การปกครองคณะสงฆ์ซึ่งมีการบังคับบัญชาตามลำดับชั้นคือเจ้าอาวาสวัดพระธรรมการรวมทั้งพระภิกษุสามเณรภายในวัดก็ต้องก็ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของ

      -เจ้าคณะตำบลเจ้าคณะอำเภอเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค เจ้าคณะหนและที่สุดคือมหาเถรสมาคม    ซึ่งเป็นองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ไทย มีสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เป็นประมุขสูงสุดฝ่ายสงฆ์

    -แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันดูเสมือนว่า หน่วยงานทางคณะสงฆ์ ไม่ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาที่เกิดความขัดแย้งระหว่างหลวงพ่อพระธัมมชโยกับหน่วงานของรัฐคือพนักงานสอบสวนหรือพนักงานตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แต่อย่างใด

         - สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เป็นเพราะคดีที่หลวงพ่อพระธัมมชโย ถูกกล่าวหาอยู่ในขณะนี้เป็นเรื่องของการกระทำผิดทางอาญา  เป็นความผิดทางกฎหมายของฝ่ายบ้านเมือง  ท่านมิได้ถูกกล่าวหาว่าล่วงละเมิดพระธรรมวินัยหรือกระทำผิดตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2505 แต่อย่างใด

จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของฝ่ายบ้านเมืองที่จะเข้ามาบริหารจัดการตามอำนาจหน้าที่ทางคณะสงฆ์จึงไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง

-เพราะกฎหมายของบ้านเมืองเป็นกฎหมายของแผ่นดินทุกคนที่เป็นคนไทยต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ของบ้านเมืองอย่างเสมอภาพเหมือนกันหมดไม่ว่าบุคคลนั้นอยู่ในเพศภาวะใดรวมถึงพระภิกษุสามเณรก็ไม่ได้รับการยกเว้น

หากพบการกระทำผิดมีผู้กล่าวหาก็ต้องเข้าสู่กระบวนการทางกฏหมายบ้านเมืองเช่นเดียวกัน 

ดังนั้น เรื่องของหลวงพ่อพระธัมมชโย จึงเป็นเรื่องของฝ่ายบ้านเมืองที่จะต้องบริหารจัดการให้เป็นตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมาย

     -ปัจจุบัน หลวงพ่อพระธัมมชโย  ถูกออกหมายจับในคดีที่สำคัญ ๆ 3 คดีคือ

      “ฟอกเงิน รับของโจร และบุรกรุกป่าสงวน”

      และนอกจากนี้ยังมีคดีที่งอกงามในแต่ละวันรวมแล้วไม่น้อยกว่า 100 คดี

แม้จะมีคดีข้อกล่าวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หลวงพ่อท่านก็ไม่ไดหวั่นไหว และไม่ได้ไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก และไม่ได้มอบตัวตามหมายจับแต่อย่างใด กิจกรรมภายในวัดยังดำเนินการได้ตามปกติและมากกว่าปกติด้วยซ้ำ

         ในส่วนของเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายเจ้าของคดี คือ (DSI) ก็ได้ดำเนินการตามหน้าที่ คือ

 1. มีการออกหมายเรียกเพื่อให้มาพบพนักงานสอบสวน

2. เมื่อท่านไม่มาก็ร้องขอต่อศาลเพื่อออกหมายจับ

 3. เมื่อจับไม่ได้ออกหมายค้น เพื่อหาพยานหลักฐานต่าง ๆ  ซึ่งเป็นวิธีการทางกฎหมาย

เพื่อให้ได้ตัวผู้ต้องหามาส่งฟ้องศาลต่อไป หากยังไม่ได้ตัวผู้ต้องหาก็ไม่สามารถที่จะฟ้อง ศาลได้ ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นข้อโต้แย้งกันอยู่ของทีมงานทั้งสองฝ่าย ว่ากระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ไม่ขอบด้วยขั้นตอนและวิธีปฏิบัติตามกฎหมายข้อเท็จจริงเป็นประการใดทั้งสองฝ่ายย่อมทราบดี

เมื่อจับกุมตัวท่านไม่ได้การพยายามจับให้ได้ด้วยวิธีการใดก็ตามก็อาจจะมีการต่อต้านของชาวศิษย์วัดพระธรรมกาย การพยายามที่จะตัดน้ำตัดไฟ ตัดการติดต่อสื่อสารต่าง ๆ ตามที่เป็นข่าวอาจจะเกิดขึ้นได้ ที่วัดพระธรรมกาย เมื่อนั้นการกระทบกระทั้งกันอาจจะนำมาซึ่งความสูญเสียและเป็นรอยด่างในวงการพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

   ทั้งนี้ เพราะความเชื่อศรัทธาของแต่ละฝ่ายยากที่จะจูนเข้าหากันได้ต่างมุมอง แต่ความเสียหายคือวงการสงฆ์และพระพุทธศาสนา ยากที่จะปฏิเสธ เพราะ

    -ฝ่ายหนึ่ง   เชื่อและศรัทธาในความบริสุทธิ์ของหลวงพ่อที่พวกเขาเคารพ ต้องรักษาหลงพ่อด้วยชีวิต

    -ฝ่ายที่สอง ต้องรักษาความศักสิทธิ์ ของกฎหมาย เป็นตายอย่างไรก็ต้องรักษากฎเพราะหน้าที่

     อย่างไรก็ตามปัญหานี้ “ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ท่านให้สัมภาษณ์ถึงการดำเนินการกับพระเทพญาณมหามุนี หรือหลวงพ่อพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ว่า

       -ได้สั่งการเจ้าหน้าที่ตำรวจไปแล้วว่าจากนี้เป็นต้นไปกรุณาพูดหรือให้ข่าวเรื่องนี้ให้น้อยที่สุด ต่อจากนี้ก็เป็นเรื่องของการดำเนินคดีซึ่งก็เป็นขั้นตอนตามปกติทั่วไป เมื่อมีหมายศาล หมายเรียก หมายค้น หมายจับ ก็ต้องดำเนินการไปตามกติกา ตนไม่จำเป็นต้องย้ำหรือสั่งการอะไรเพิ่มเติม เป็นมาตรการต่าง ๆ ที่ทางฝ่ายกฎหมาย และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ ศาลต่าง ๆ เป็นผู้ดำเนินการให้เกิดความเป็นธรรม"ผมในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ขอยืนยันว่าการตัดสินอะไรผิดหรือถูกเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมเราจะใช้ความรู้สึกในการตัดสินอย่างเดียวไม่ได้ ทั้งนี้ก็จำเป็นต้องแสดงความบริสุทธ์ใจออกมาให้ได้อยากขอร้องเท่านั้นเอง แต่มาตรการต่าง ๆ ตามกฎหมายผู้ที่เกี่ยวข้องก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอน สิ่งที่เราไม่ต้องการให้เกิดขึ้นคือความขัดแย้ง ซึ่งผมเองก็เข้าใจถึงพุทธศาสนิกชนต่าง ๆ ผู้หลักผู้ใหญ่ คนเฒ่าคนแก่ ความเชื่อต่าง ๆ แต่กฎหมายก็คือกฎหมาย สิ่งใดก็ตามที่ละเมิดกฎหมายก็ต้องดำเนินการ และอยากฝากสื่อและสังคมด้วยว่ามันไม่เกิดประโยชน์อะไรจากการประโคมข่าว เพราะยิ่งประโคมข่าวก็ยิ่งเกิดความขัดแย้ง ส่งผลแนวโน้มให้การแก้ปัญหายุ่งยากบานปลายไปเรื่อย ๆ ก็ต้องให้เวลาเดี๋ยวเจ้าหน้าที่เขาก็ดำเนินการเอง ผมให้แนวทางไปแล้วสำหรับการดำเนินการตามกฎหมาย" นี่คือหลักการที่ผู้นำท่านได้ให้แนวทาง ทุกคนต้องทำตามหน้าที่ หน้าที่กฎหมายให้อำนาจไว้

       - เราเชื่อว่าและหวังว่า  ปัญหาเรื่องนี้น่าจะมีทางออก และจะไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด  ปัญหากฎหมายบ้างครั้งก็จบด้วยวิธีทางการเมืองครับ.

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...