ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
คณะผู้แทนภาครัฐระดับสูงเวียดนามเยือนไทยศึกษานโยบาย Thailand 4.0 พร้อมแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าการลงทุนร่วมกัน
28 ม.ค. 2560

        เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากคณะกรรมการเศรษฐกิจส่วนกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามได้เข้าพบนายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยเพื่อศึกษาแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องโมเดลประเทศไทย 4.0(Thailand 4.0) และนโยบายการค้าของไทย

 

         โดยภายหลังจากการหารือ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เปิดเผยว่า ทั้งสองฝ่ายได้นำเสนอข้อมูลและแลกเปลี่ยนความเห็นกันในหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องนโยบาย Thailand 4.0 และนโยบายด้านการค้าของไทย โดยฝ่ายไทยได้นำเสนอข้อมูลนโยบาย Thailand 4.0 ว่าเป็นพัฒนาการในการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ เศรษฐกิจใหม่” ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap)กับดักความเหลื่อมล้ำ (Inequality Trap) และกับดักความไม่สมดุล (Imbalance Trap) โดยมุ่งเน้น 5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 1. ธุรกิจอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ 2. ธุรกิจสุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ 3. ธุรกิจอุปกรณ์อัจฉริยะและหุ่นยนต์       4. ธุรกิจดิจิทัล และ 5. ธุรกิจสร้างสรรค์และบริการมูลค่าสูง อีกทั้งยังได้นำเสนอนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ที่มุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศจากภายใน เชื่อมโยงเศรษฐกิจท้องถิ่นกับเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและโลก ซึ่งให้ความสำคัญกับทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียมด้วยหลักการการพัฒนาที่ยั่งยืน และกรอบยุทธศาสตร์กระทรวงพาณิชย์ 20 ปี ที่จะมุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไปพร้อมๆ กับการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของภาครัฐ และไทยตระหนักถึงศักยภาพของภูมิภาค CLMVT ซึ่งผู้แทนคณะเวียดนามฯ ก็ได้เห็นพ้องกับศักยภาพของภูมิภาค CLMVT ด้วยเช่นเดียวกัน โดยเห็นว่าไทยและเวียดนามควรขยายความร่วมมือระหว่างกันให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น

 

           ทั้งนี้ผู้แทนคณะเวียดนามฯ ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับแผนการพัฒนาประเทศเวียดนาม โดยมีแผนพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปี ข้างหน้าซึ่งมีเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และมุ่งเน้นประเด็นสำคัญในการพัฒนา ได้แก่ 1. การพัฒนาเชิงสถาบัน (Institute) 2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และ            3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)

 

          ในโอกาสนี้ทั้งสองฝ่ายยังได้ร่วมกันหารือในประเด็นความร่วมมือระหว่างกัน โดยไทยและเวียดนามเห็นว่า     ทั้งสองประเทศสามารถพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันได้ในหลายมิติ หรือในธุรกิจที่มีความชำนาญ เช่น ข้าว ยาง และอาหารทะเลแปรรูป เป็นต้น เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการร่วมกันให้สอดคล้องกับความต้องการตลาดทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

 

          สำหรับประเด็นอื่นๆ นั้น ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งสองฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างกว้างขวางในหลายประเด็น เช่น นโยบายของไทยในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) นโยบายเรื่องหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) และสถานการณ์เศรษฐกิจโลกซึ่งยังคงมีความผันผวน เป็นต้น ซึ่งในประเด็นต่างๆ เหล่านี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ คณะเวียดนามฯ ได้สอบถามประเด็นบทบาทของภาครัฐในการดูแล/ปกป้องสินค้าในประเทศที่ยังขาดศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก การกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจของไทย การกำหนดราคาสินค้าจำเป็นสำหรับประชาชน และการจัดการดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง เนื่องจากขณะนี้เวียดนามอยู่ระหว่างการวางนโยบายเพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่กลไกตลาด (market driven) จึงต้องการเรียนรู้จากประสบการณ์ของไทยเพื่อนำมาปรับใช้กับประเทศเวียดนามต่อไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...