ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
นักวิชาการชี้ 3 แนวทาง คำวินิจฉัยศาล รธน.
10 พ.ย. 2564

นักวิชาการวิเคราะห์ 3 แนวทางคำวินิจฉัยของศาล รธน. กรณีคำร้องแกนนำชุมนุมปราศรัยล้มล้างการปกครองหรือไม่

วันที่ 10 พ.ย. 2564 นายสติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า กล่าวถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัย ที่นายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่า การกระทำของกลุ่มแกนนำแนวร่วม “ม็อบราษฎร” ได้แก่ นายอานนท์ นำภา นายภาณุพงศ์ จาดนอก (ไมค์) น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (รุ้ง) นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ (เพนกวิ้น) น.สจุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ (อั๋ว) น.ส.สิริพัชระ จึงธีรพานิช นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และ น.ส.อาทิตยา พรพรม รวม 8 ราย ในการชุมนุมปราศรัยเพื่อเสนอข้อเรียกร้อง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง หรือไม่ ว่า คำวินิจฉัยอาจออกมาได้ 3 แนวทาง คือ

1. เข้าข่ายรับคำร้อง แนวทางนี้เคยมีคดีเทียบเคียงกับการยุบพรรคไทยรักษาชาติ ที่เสนอแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีประเด็นที่ไปแตะต้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และตีความกว้างจึงมีความผิดเข้าข่าย อย่างไรก็ตามเนื้อหาการปราศรัยของแกนนำผู้ชุมนุม หากตีความแบบกว้างอาจเข้าข่ายได้ เพราะแตะกับสถาบัน

2. ไม่เข้าข่ายตามผู้ร้อง แนวทางนี้อาจเกิดขึ้นได้ เพราะหากเทียบเคียงกับกรณีคดีที่เกี่ยวข้องกับ ม.112 ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จะมีวิธีคิดอีกแบบหนึ่งในกระบวนการยุติธรรม หากไม่อยากให้ขยายความจะจบกันแค่นี้ ซึ่งต้องแยกคำว่า ระบอบการปกครองกับการล้มล้างการปกครอง และต้องแยกระหว่างการปกครองกับตัวสถาบัน ถ้าไม่อยากให้เรื่องนี้เป็นเรื่องทางการเมืองขยายต่อ เพราะจะยิ่งทำให้มีคนสนใจ นำแต่ละคำไปถอดรหัส

3. เหมือนไม่รับแต่มีเงื่อนไขบางอย่างที่ให้กระบวนการถูกร้องไม่ควรทำต่อไป เป็นทางออกยุติ แต่มีเงื่อนไขว่า ยุติแล้วจบกัน แต่มีเรื่องทำต่ออาจจะเชื่อมกับแนวทางที่สองเป็นตัวอ้างอิงดำเนินคดีอาญากับพฤติกรรมผู้ถูกร้อง

"ส่วนตัวมองว่า คำวินิจฉัยมีความเป็นไปได้สูงว่า จะออกมาในแนวทางที่ 3 เพราะแนวทางที่ 1 อาจเกิดผลกระทบบานปลาย ส่วนแนวทาง 2 ไม่อยากเป็นเรื่องบานปลาย แต่จะเป็นมาตรฐานเรื่องอื่น อาจยุ่งมากขึ้น ส่วนแบบที่ 3 มีทั้งแนวทางที่ 1 และ 2 ปนกัน แต่เรื่องรับผิดชอบต่อไปเป็นของคนมีหน้าที่โดยตรงรับไม้ต่อ" นายสติธร กล่าว

นายสติธร กล่าวว่า หากศาลรับคำร้องอนาคตของแกนนำทั้ง 8 คน จะเคลื่อนไหวไม่ได้เต็มที่ เพราะศาลจะเชิญมาให้ถ้อยคำ แต่ปัจจุบันก็เคลื่อนไหวไม่ค่อยได้อยู่แล้ว เพราะมีคดีอยู่หลายเรื่อง ขณะที่พรรคการเมืองที่รับข้อเสนอของแกนนำหรือเห็นด้วยกับการปฏิรูปสถาบัน มีโอกาสถูกแตะได้เหมือนกัน เพราะมีนักร้องที่ตามเรื่องนี้

ส่วนเรื่องนี้จะมีผลต่อการชุมนุมและทิศทางการเมืองไทยอย่างไร นายสติธร เห็นว่า ถ้าออกมาในแนวทางที่ 3 อาจจะไม่ถึงขั้นระเบิดอารมณ์คน แต่ถ้าออกมาในแนวทางที่ 1 แน่นอนว่า จะกระตุกอารมณ์และปลายทางอาจจะร้อนแรงลุกเป็นไฟได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เชิญชวนให้ประชาชนร่วมกันจับตาการวินิจฉัยดังกล่าว  พร้อมนัดรวมตัวกันนั่งฟังคำวินิจฉัย ณ อาคาร เอ ประตูสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เวลา 13.00 น.

ก่อนหน้านี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้ออกคำสั่งกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยรองรับการอ่านคำวินิจฉัย โดยระบุเหตุผลว่า เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณที่ทำการศาล คุ้มครองประโยชน์สาธารณะ และเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดบุคคลให้เฉพาะผู้ร้อง ผู้ถูกร้อง ผู้รับมอบอำนาจ หรือผู้รับมอบฉันทะ หรือผู้ที่ศาลอนุญาต รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เท่านั้นอยู่ในห้องพิจารณาคดี เพื่อรับฟังการอ่านคำวินิจฉัยของศาล และให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจัดให้มีช่องทางการรับฟังการอ่านคำวินิจฉัยของศาลเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและสื่อมวลชน และออกประกาศศาลรัฐธรรมนูญกำหนดอาณาบริเวณสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญรวมถึงพื้นที่อาคารเอ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ แจ้งวัฒนะ และบริเวณโดยรอบเป็นสถานที่ปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในวันที่ 10 พ.ย. 64 เวลา 00.01 น.ถึงเวลา 23.59 น.

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...