ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ย้อนกลับ
กทม. จัดเทศกิจ 2,000 คนรับงานลอยกระทง
17 พ.ย. 2564

นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักเทศกิจ และหัวหน้าฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต ครั้งที่ 2/2565 เพื่อมอบนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่เทศกิจ โดยมี นายณรงค์ เรืองศรี รองปลัดกรุงเทพมหานคร นายสมศักดิ์ ชาติสุขศิริเดช ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายศุภกฤต บุญขันธ์ ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ ผู้บริหารสำนักเทศกิจ และหัวหน้าฝ่ายเทศกิจ 50 สำนักงานเขต ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง)

สำนักเทศกิจได้จัดเตรียมแผนดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความปลอดภัยในเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2564 ในวันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2564 เพื่อดูแลความปลอดภัยให้แก่ประชาชนที่มาเที่ยวงานตามจุดที่กรุงเทพมหานครกำหนดการจัดงานและตามท่าเรือต่างๆ ที่มีการจัดงาน

โดยจัดกำลังเจ้าหน้าที่เทศกิจ 2,000 นาย พร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตและเรือตรวจการณ์ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในการดูแลความปลอดภัยสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 8 แห่ง ประกอบด้วย

1.สะพานพระราม 7

2.สะพานกรุงธน (ซังฮี้)

3.สะพานพระราม 8

4.สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

5.สะพานพระพุทธยอดฟ้า

6.สะพานพระปกเกล้า

7.สะพานตากสิน

8.สะพานกรุงเทพ

และท่าเทียบเรือริมแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 29 แห่ง ประกอบด้วย 1.ท่าวัดสร้อยทอง 2.ท่าบางโพ 3.ท่าเขียวไข่กา 4.ท่ากรมชลประทานสามเสน 5.ท่าพายัพ 6.ท่าวัดเทพากร 7.ท่าวัดเทพนารี 8.ท่าสะพานกรุงธน (ซังฮี้) 9.ท่าเทเวศร์ 10.ท่าสะพานพระราม 8 11.ท่าพระอาทิตย์ (บางลำพู) 12.ท่าสะพานปิ่นเกล้า 13.ท่ารถไฟ 14.ท่าวังหลัง (ศิริราช) 15.ท่ามหาราช 16.ท่าช้าง 17.ท่าเตียน 18.ท่าราชินี 19.ท่าสะพานพุทธ 20.ท่าราชวงศ์ 21.ท่ากรมเจ้าท่า 22.ท่าสี่พระยา 23.ท่าวัดม่วงแค 24.ท่าโอเรียนเต็ล 25.ท่าสาทร 26.ท่าวัดเศวตฉัตรวรวิหาร 27.ท่าวัดวรจรรยาวาส 28.ท่าวัดราชสิงขร และ 29.ท่าราษฎร์บูรณะ (ท่าบิ๊กซี)

สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับซากรถยนต์ จากการสำรวจซากยานยนต์ที่ถูกจอดทิ้งไว้ในที่สาธารณะมีจำนวน 1,072 คัน (ข้อมูล ณ วันที่ 16 พ.ย. 64) เคลื่อนย้ายแล้ว 1,065 คัน เคลื่อนย้ายโดยเจ้าของ 932 คัน สำนักงานเขตเคลื่อนย้าย 133 คัน คงเหลือซากยานยนต์ที่รอเคลื่อนย้าย 5 คัน ส่วนการดำเนินการโครงการกวดขันรถยนต์ รถจักรยานยนต์ จอดหรือขับขี่บนทางเท้า ตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค. 61 - 8 พ.ย. 64 สามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้ 40,009 ราย ดำเนินการว่ากล่าวตักเตือน 3,830 ราย ดำเนินคดี 37,376 ราย อยู่ระหว่างดำเนินคดี 1,803 ราย เปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 43,775,300 บาท โดยระหว่างวันที่ 1-8 พ.ย. 64 ฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขตสามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้ 56 ราย แยกเป็นประชาชนทั่วไป 52 ราย วินจักรยานยนต์ 4 ราย ปรับเป็นเงิน 49,000 บาท

ด้านการดำเนินการกรณีป้ายโฆษณาที่ติดตั้งในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2561 - 8 พฤศจิกายน 2564 ฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต จัดเก็บได้ 221,048 ป้าย แจ้งความดำเนินคดี 51 ราย จับ-ปรับ 5,430 คดี ปรับเป็นเงิน 15,197,700 บาท โดยระหว่างวันที่ 1-8 พฤศจิกายน 2564 ฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขตจัดเก็บได้ 644 ป้าย จับปรับ 10 คดี ปรับเป็นเงิน 21,000 บาท ส่วนการอำนวยความสะดวกและบริการประชาชนตามโครงการเทศกิจ School Care สำนักงานเขตได้จัดทำแผนปฏิบัติการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรบริเวณหน้าโรงเรียน สถานศึกษาและจุดวิกฤติจราจรในพื้นที่เขต พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการจราจรในช่วงเวลาเร่งด่วน ช่วงเช้า เวลา 07.00-08.39 น. และช่วงบ่าย เวลา 15.00-16.30 น. โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (Covid-19) อย่างเคร่งครัด

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กำชับให้ทุกสำนักงานเขตตรวจสอบกวดขันสถานประกอบการให้เป็นไปตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 45) อย่างเคร่งครัด รวมทั้งกวดขันการฝ่าฝืนจอดรถหรือขับขี่บนทางเท้าอย่างจริงจังต่อเนื่อง

สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเทศกาลลอยกระทง ได้เน้นย้ำเจ้าหน้าที่ทุกนายปฏิบัติหน้าที่ตามจุดที่ได้รับมอบหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของประชาชน พร้อมทั้งกวดขันเรื่องฝุ่นละออง โดยสำรวจไซต์งานก่อสร้างในพื้นที่ ให้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันฝุ่นละออง PM2.5 ส่วนนโยบายการจัดระเบียบเมือง อาทิ ป้ายโฆษณาที่ติดตั้งในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต การจัดระเบียบผู้ค้า รวมถึงความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยด้านอื่นๆ ให้ดำเนินการตรวจสอบกวดขันอย่างต่อเนื่องเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของกรุงเทพมหานครต่อไป.

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...