ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
กอนช. ติดตามน้ำท่วมใต้ต่อเนื่อง
23 พ.ย. 2564

นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะเลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานด้านอำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงภาคใต้ ครั้งที่ 1/2564 และผ่านระบบการประชุมทางไกล (VDO Conference) ร่วมกับนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีผู้แทนจากกรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. กรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมทรัพยากรน้ำ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมประชาสัมพันธ์ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมตาปี ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี ว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี        ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) มีความเป็นห่วงประชาชนที่กำลังประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากในพื้นที่ภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ 11 จังหวัด  ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้วทุกจังหวัด ประกอบกับ ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่ภาคใต้ กอนช. ได้คาดการณ์ช่วงวันที่ 23 พ.ย. 64 เป็นต้นไป บริเวณความกดอากาศสูงระลอกใหม่จะแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นพร้อมกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ส่งผลให้ภาคใต้จะมีฝนตกเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร          สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส และจะมีฝนตะหนักอีกระลอกในช่วงระหว่างวันที่ 28 พ.ย. – ต้นเดือน ธ.ค. 64 ซึ่งจะมีฝนตกหนักมากในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส     ซึ่งขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการเร่งระบายน้ำท่วมขังและเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือสถานการณ์น้ำหลาก รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและบรรรเทาผลกระทบต่อประชาชน ผ่านการบูรณาการโดยศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าฯ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดศูนย์ฯ เมื่อวันที่ 17 พ.ย.64 ที่ผ่านมา เพื่อร่วมกับทุกภาคส่วนบริหารจัดการน้ำแบบครบวงจร ทั้งการติดตาม การเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ การวิเคราะห์ประเมิน การคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ การแจ้งเตือน การประสานงาน และการประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่

“ถือเป็นการประชุมครั้งแรกของคณะทำงานศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าฯ เพื่อร่วมวิเคราะห์ติดตามสถานการณ์น้ำและอุทกภัย โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณากรอบการดำเนินงานของศูนย์ฯ  ซึ่งมีผู้แทนหน่วยงานมาปฏิบัติงานเป็นประจำทุกวัน ในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ติดตามสถานการณ์มวลน้ำสูงสุด และชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงล่วงหน้า รวมถึงรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานเครือข่ายและภาคประชาชน ที่ส่งข้อมูลผ่านกลุ่มไลน์ Openchat ของศูนย์ฯ เพื่อประชุมวิเคราะห์สรุปรายงานสถานการณ์น้ำประจำวัน ในช่วงเวลา 09.30 น. หากกรณีวิกฤตระดับ 1 เมื่อมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรง รวมทั้งในพื้นที่มีน้ำท่วมขังเดิมอยู่แล้วที่อาจส่งผลให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น จะเพิ่มการประชุมอีก 1 ช่วงคือ เวลา 17.00 น. และในกรณีวิกฤตระดับ 2 คือ กรณีมีพายุหรือหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง จะมีการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อติดตามปริมาณฝนตกสะสม อ่างเก็บน้ำที่มีความเสี่ยง สถานการณ์น้ำท่า สถานการณ์น้ำท่วมและพื้นที่ประสบภัย การให้ความช่วยเหลือ และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงและการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ พร้อมจัดทำแผนที่เสี่ยงและแผนที่ประสบภัย เพื่อชี้เป้าพื้นที่ให้ความช่วยเหลือได้อย่างตรงจุด”รองเลขาธิการ สทนช. กล่าว

นอกจากนี้ จะมีการลงพื้นที่ติดตามประเมินพื้นที่เสี่ยงและติดตามพื้นที่ประสบอุทกภัยด้วย และประชาสัมพันธ์แจ้งเตือน ผ่านกลไกของคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด เพื่อแจ้งไปยังอำเภอ ท้องถิ่น เครือข่าย และประชาชน พร้อมกระจายข้อมูลข่าวสารผ่านทางประชาสัมพันธ์จังหวัด สื่อโซเซียลมีเดีย กลุ่มไลน์ Openchat ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่ภาคใต้ ให้ข้อมูลข่าวสารสามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างทั่วถึง ลดผลกระทบต่อประชาชนให้เหลือน้อยที่สุด

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...