ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
ก.ดีอีเอสชี้ปี 64 ข่าวปลอมพุ่งแนะวิธีสังเกต
05 ธ.ค. 2564

นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กล่าวว่า จากการวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ข่าวปลอมตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา (1 ม.ค. - 30 พ.ย. 64) พบว่า หมวดหมู่นโยบายมีแนวโน้มจำนวนการพูดถึงที่สูงที่สุดเฉลี่ย 46,885 ต่อวัน คิดเป็น 51.03% ของภาพรวมจำนวนข่าวที่เข้าเกณฑ์ต้องดำเนินการตรวจสอบ โดยพบข่าวปลอมสูงในช่วงรัฐบาลมีการออกนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อเยียวยาให้กับประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19  จึงทำให้มีการบิดเบือนข้อมูลนโยบายนั้นๆ เกิดขึ้น 

 

          รองลงมาเป็น หมวดหมู่สุขภาพมีแนวโน้มจำนวนการพูดถึงเฉลี่ย 21,534 ต่อวัน คิดเป็น 23.44% ช่วงเวลาที่มีการแพร่กระจายข่าวปลอม/ข่าวบิดเบือนในหมวดหมู่นี้จำนวนมาก สอดคล้องกับช่วงที่มีการแพร่ระบาดโควิด-19 ในวงกว้าง และจำนวนค่อยๆ ลดลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายปีนี้

 

         หมวดหมู่เศรษฐกิจมีแนวโน้มจำนวนการพูดถึงเฉลี่ย 13,922 ต่อวัน คิดเป็น 15.15% โดยพบข่าวปลอมสูงในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้าอุปโภคและบริโภค อย่างไรก็ตาม หากมองในภาพรวมของข่าวในหมวดหมู่นี้เรื่องส่วนใหญ่จะมีการพูดถึงจะเป็นสถานการณ์เศรษฐกิจทั่วไป แต่ไม่พบประเด็นที่เข้าข่ายเป็นข่าวปลอม 

 

          หมวดหมู่ภัยพิบัติ มีแนวโน้มจำนวนการพูดถึงเฉลี่ย 9,537 ต่อวัน คิดเป็น 10.38% โดยพบข่าวปลอมสูงในบางช่วง เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นข่าวการคาดการณ์สถานการณ์ทั่วไป แต่จะพบได้มากขึ้นหากพื้นที่โดยรอบประเทศเกิดภัยพิบัติ 

 

          นางสาวอัจฉรินทร์ กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ข่าวปลอมในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา (1-30 พ.ย. 64) ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้รวบรวมสถิติ 10 อันดับข่าวที่มีคนสนใจมากที่สุด ดังนี้ 1.ถ่ายคลิปจักรยานยนต์ทำผิดกฎหมายส่งตำรวจ ลุ้นรับเงินรางวัลสูงสุด 2 หมื่นบาท 2.ยกเลิกบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิต ขอคืนค่าธรรมเนียมรายปีจากธนาคารได้ 3. ขึ้นทางด่วนฟรี ทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์ จนถึงปี 2578 4. รางจืด สามารถช่วยเลิกยาบ้าได้แบบไม่ทรมาน ไม่ลงแดง  5.ครม. อนุมัติการสร้างบ้านเช่า 1 แสนหลัง สำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ คนโสด และครอบครัวใหม่ จ่ายขั้นต่ำ1,500 บาท/เดือน และ 6.เรื่อง สธ. เตรียมออกมาตรการไปที่สาธารณะ ต้องแสดงหลักฐานฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างน้อย 1 เข็ม โดยทั้ง 6 อันดับแรกเป็นข่าวจริง

 

          7.โรคงูสวัด หากขึ้นวนรอบตัวจะทำให้เสียชีวิต (ข่าวปลอม) 8.ลาป่วยไม่ถึง 3 วัน ไม่ต้องแสดงใบรับรองแพทย์ต่อนายจ้าง (ข่าวบิดเบือน) 9. ครม. อนุมัติร่างกฎกระทรวง ป้ายทะเบียนรถพิเศษ ใส่ข้อความ หรือชื่อคน คู่กับเลขได้ไม่เกิน 4 หลัก  และ 10. กระทรวงแรงงาน เปิดรับแรงงานไทยไปทำงานเกาหลี ประเภทกิจการเกษตร/ปศุสัตว์ ซึ่งทั้งสองอันดับหลังนี้เป็นข่าวจริง

 

           ด้านภาพรวมผลการดำเนินงานของศูนย์ฯ ตลอดเดือน พ.ย. 64 จากการรับแจ้งเบาะแส และติดตามการสนทนาบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับข่าวปลอม พบข้อความข่าวที่ต้องคัดกรองทั้งหมดกว่า 49 ล้านข้อความ มีข้อความข่าวที่เข้าเกณฑ์ดำเนินการตรวจสอบ 914 ข้อความ โดยหลังจากคัดกรองพบข้อความข่าวที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ480 เรื่อง

 

           ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลฯ และศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ยังคงให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอมอย่างต่อเนื่อง โดยในวันที่ 17 ธ.ค. นี้ จะมีการจัดกิจกรรมดังกล่าวที่ จ.น่าน สำหรับพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นนักศึกษา วัยทำงาน ผู้สูงอายุ หน่วยงานต่างจังหวัดและภาคประชาชน

 

          “สำหรับในปีงบฯ 65 เราหวังผลกับกลุ่มเป้าหมายภาคประชาชน เพื่อช่วยต่อยอดขยายผลสร้างการรับรู้ วิธีสังเกตข่าวปลอม ช่องทางการแจ้งเบาะแส และขับเคลื่อนการตรวจสอบเฝ้าระวังการเผยแพร่ข้อมูลเนื้อหาและข่าวสารที่เผยแพร่อยู่ในอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะข้อมูลที่บิดเบือนและปัญหาข่าวปลอม อันจะช่วยภาครัฐสามารถชี้แจงทำความเข้าใจ และเผยแพร่ความถูกต้องให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดความมั่นคง และประชาชนเกิดความเชื่อมั่นต่อการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและสารสนเทศได้” นางสาวอัจฉรินทร์กล่าว

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...