2.ด้านพลังงานเสริมสร้างเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนการลงทุนโครงการประกอบกิจการปิโตรเลียม ซึ่งคาดว่าจะสร้างรายได้ให้ประเทศมูลค่ากว่า 44,300 ล้านบาท กำหนดโครงสร้างราคาน้ำมันและสัดส่วนการผสมเชื้อเพลิงชีวภาพให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมและเกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายในระดับที่เหมาะสม ส่งเสริมการลงทุนปิโตรเคมี ระยะ 4 ในพื้นที่เขตนโยบายพัฒนาพื้นที่พิเศษ(อีอีซี)กำหนดทิศทางการขยายการลงทุนปิโตรเคมีกระตุ้นเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด เพื่อให้เกิดเม็ดเงินลงทุนในปี 2565-2569 กว่า 2-3 แสนล้านบาท ส่งเสริมลงทุนต่อเนื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานมูลค่ากว่า 143,000 ล้านบาท
ขณะเดียวกันส่งเสริมการลงทุน EV Charging Station และยานยนต์ไฟฟ้า และเร่งพัฒนาระบบไฟฟ้าเพื่อรองรับการขยายตัวการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต ขยายผลการลงทุนพลังงานสะอาดทุกรูปแบบ ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนผ่านกองทุนอนุรักษ์ฯปี 2565 วงเงินกว่า 1,800 ล้านบาท
และ 3.ด้านพลังงานลดความเหลื่อมล้ำและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เดินหน้ากระจายเม็ดเงินลงทุนสู่ชุมชน 76 จังหวัด ทั่วประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีพลังงานลดต้นทุนการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน พัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน พร้อมขับเคลื่อนโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อระยะที่ 1 พร้อมเตรียมการขยายผลโรงไฟฟ้าชุมชนระยะที่ 2
นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวถึงผลการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานในรอบปี 2564 ว่า ตลอดปี 2564กระทรวงพลังงาน ได้เดินหน้าสร้างความมั่นคงทางพลังงาน เป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจ คู่ขนานกับการช่วยเหลือสังคม บรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานในสังกัด รัฐวิสาหกิจและบริษัทในเครือ โดยจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติ มุ่งลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050
การปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย ภายในปี 2564 – 2568 ให้สะท้อนต้นทุนในการให้บริการของกิจการไฟฟ้าอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทั้งผู้รับใบอนุญาตและผู้ใช้ไฟฟ้าทุกกลุ่ม ขณะเดียวกันได้ผลักดันให้เกิดเม็ดเงินลงทุนในระบบเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 205,000 ล้านบาท อาทิ และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลและบริษัทในเครือมูลค่ากว่า 169,000 ล้านบาท การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและพัฒนาพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมูลค่ากว่า 1,800 ล้านบาท ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานตามนโยบายรัฐบาลจำนวน 25,777 อัตรา รวมถึงสร้างรายได้จากการประกอบกิจการปิโตรเลียม รวมมูลค่า 34,200 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานช่วงสถานการณ์โควิด-19 ครอบคลุมทั้งประชาชนและภาคธุรกิจ รวมมูลค่า 97,113 ล้านบาท เช่น การลดค่าไฟฟ้าครัวเรือนและกิจการขนาดเล็กกว่า 62 ล้านราย การตรึงค่าเอฟที ตลอดปี 2564 การตรึงราคาขายปลีกแอลพีจี การรักษาระดับราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า เตรียมหารือกับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)) ถึงแผนการลงทุนปิโตรเคมีระยะที่ 4 ซึ่งจะอยู่ในพื้นที่อีอีซี โดยเบื้องต้นต้องการส่งเสริมการลงทุนในกิจการไบโอพลาสกติก รีไซเคิล เพื่อตอบรับนโยบาย BCG Model ของรัฐบาล โดยจะต้องหารือในรายละเอียดว่าควรจะมีการลงทุนอะไรบ้างที่เหมาะสม