ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ย้อนกลับ
กรณ์ หนุนเขตพระนครกระตุ้น ศก.สร้างรายได้ให้ชุมชน
23 ก.พ. 2565

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า พร้อมด้วย นายปรัชญา อึ้งรังสี ว่าที่ผู้สมัคร สส.เขต 1 และทีมงานพรรคกล้า เดินทางมายังพิพิธบางลำพู เข้าร่วมหารือและรับฟังความคิดเห็น กับคณะอาจารย์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร นำโดย ผศ.ดร. สิงหนาท แสงสีหนาท อาจารย์คระสถาปัตยกรรมศาสตร์ ในฐานะ ผู้อำนวยการศูนย์เชื่อมโยงอาเซียนด้านการออกแบบเมืองและสรรค์สร้าง และประธานและตัวแทนชุมชนจาก 7 ชุมชน ในเขตพระนคร เพื่อหาแนวทางพัฒนาพระนครให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม 
นายกรณ์ บอกว่า พรรคกล้ามีนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเสน่ห์ของเมืองไทย ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตพระนคร มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหลายแห่ง หากได้รับการฟื้นฟูอนุรักษ์ ของที่มีอยู่แล้วให้มีเรื่องราวของประวัติศาสตร์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อไม่ให้สูญหายไป ก็จะสามารถสร้างเศรษฐกิจในชุมชนได้ อย่างไรก็ตามการพัฒนาจะไม่เกิดประโยชน์ หากประชาชนในท้องถิ่นไม่ได้อะไร จึงเป็นที่มาที่เรามารับฟังความเห็นจากผู้นำชุมชน ตัวจริงเสียงจริงที่จะสะท้อนปัญหา และข้อเสนอแนะ เพื่อเราจะนำไปขยายผลต่อในโอกาสต่อไป
ด้านนายปรัชญา บอกว่า ส่วนตัวเกิดและโตในเขตพระนคร เห็นความงดงามของเมืองเก่า ที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมมากมาย ซึ่งพรรคกล้ามีนโยบายสนับสนุน Soft power เพื่อพลิกโฉมประเทศไทย ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญที่เราจะใช้ทุนทางวัฒนธรรม ที่มีเยอะกว่าประเทศอื่นมาก มาฟื้นฟูเศรษฐกิจบ้านเรา ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ดร.สิงหนาท ได้ยกตัวอย่างชุมชนบางลำพูว่า เป็นชุมชนเก่าที่ผู้คนหลากหลายได้ลงหลักปักฐานและขยายออกพร้อมกับการเกิดขึ้นของรัตนโกสินทร์และชีวิตที่เปลี่ยนยุคผ่านสมัยมามากกว่าสองร้อยปี นอกจากจะสามารถมองเห็นเค้าลางทางประวัติศาสตร์ผ่านถิ่นที่อยู่อาศัยในเชิงกายภาพ บางลำพูยังขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งอาหาร ‘เก่าแก่’ มีอาหารหลากหลายทั้งประเภท ทั้งที่มาเชิงวัฒนธรรม เรียงรายอยู่แทบทุกถนนของย่าน ราคาแสนย่อมเยา เป็นเอกลักษณ์สำคัญของบางลำพู ที่อยากให้คงอยู่ต่อไป
ด้านผู้นำชุมชน สะท้อนปัญหาไปในทิศทางเดียวกันว่า เมื่อบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป ชุมชนก็เปลี่ยนแปลงตาม ชุมชนดั้งเดิม ถูกแทนที่ด้วยกลุ่มทุนธุรกิจมาสร้างประโยชน์ในพื้นที่ ทำให้วัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เริ่มหายไป ยกตัวอย่างถนนข้าวสาร จากเดิมที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมติดอันดับโลก ปัจจุบัน กลายเป็นแหล่งบันเทิง ร้านเหล้าผับบาร์ผุดขึ้นมากมาย เจ้าของอาคารปล่อยเช่าเพราะได้ราคาที่ดีกว่า ชุมชนบางลำภู ก็มีกลุ่มทุนนักธุรกิจเข้ามาหาประโยชน์ เพราะเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่สามารถสร้างรายได้ได้อย่างมหาศาล เนื่องจากอยู่ในเขตเมืองเก่าที่ได้รับความนิยมจากต่างชาติ คนในชุมชนพยายามต่อสู้ เพื่อปกป้องเอกลักษณ์และวัฒนธรรมให้คงอยู่ แต่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะนโยบายรัฐบาลเองก็เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาหาประโยชน์ในชุมชนอย่างถูกกฎหมาย
“สิ่งที่ท่านนำเสนอและทางมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูอนุรักษ์ และจัดกิจกรรมต่าง ๆ นับเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่สิ่งที่อยากฝากไว้คือ ขอให้ท่านได้วางแผนเรื่องการตลาดด้วย เพราะอย่างที่คุณกรณ์บอกว่า การพัฒนาจะไม่เกิดประโยชน์เลย ถ้าคนในท้องถิ่นไม่ได้อะไร ซึ่งปัจจุบันเป็นแบบนั้น ถ้าเราไม่ดำเนินการสุดท้ายวัฒนธรรมท้องถิ่นก็คงหาย และคนในชุมชนก็จะเปลี่ยนวิถีไปด้วยเช่นกัน”
ทั้งนี้ นายกรณ์ พร้อมด้วยทีมงาน รับที่จะลงพื้นที่ เพื่อหาแนวทางขับเคลื่อนร่วมกับชุมชน ในการฟื้นฟูอนุรักษ์ เมืองเก่าอย่างมีส่วนร่วม สร้างเศรษฐกิจให้เกิดกับชุมชน เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...