ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
คมนาคม เร่งศึกษาแผน MR–Map
25 ก.พ. 2565

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการประชุมขับเคลื่อนการศึกษาแผนพัฒนาโครงข่าย MR-Map ผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) ด้วยระบบ Zoom Cloud Meetings หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าผลการดำเนินงานศึกษาจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR–Map) ของกรมทางหลวง (ทล.) โดยปัจจุบัน ทล. ได้จัดทำร่างแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-Map) แล้วเสร็จ 10 เส้นทาง โดยมีปรับแนวเส้นทางบางช่วงทำให้มีระยะทางรวมประมาณ 7,003 กิโลเมตร โดยมีเส้นทางที่พัฒนาเป็นมอเตอร์เวย์ร่วมกับระบบรางมีระยะทางทั้งหมด 4,321 กิโลเมตร แบ่งเป็นแนวเหนือ-ใต้ 3 เส้นทาง แนวตะวันออก-ตะวันตก 6 เส้นทาง
สำหรับผลการดำเนินงานในโครงการนำร่องฯ จำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง MR2 กรุงเทพฯ/ชลบุรี (แหลมฉบัง)-หนองคาย (ด่านหนองคาย) ช่วงนครราชสีมา – แหลมฉบัง เส้นทาง MR5 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์)-อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6) ช่วงนครราชสีมา – อุบลราชธานี และเส้นทาง MR8 ชุมพร-ระนอง โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบเส้นทางเบื้องต้น และได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็น โดยผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการพัฒนาโครงการโดยบูรณาการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง แต่ยังมีข้อกังวลในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ (1) โครงข่ายแนวเส้นทางควรหลีกเลี่ยงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและพื้นที่ชุมชนเมืองให้มากที่สุด โดยควรพิจารณาให้รอบคอบเรื่องการเวนคืนพื้นที่พร้อมกันทั้งมอเตอร์เวย์และระบบราง และความเป็นไปทางกฎหมายร่วมด้วย และการจัดลำดับความสำคัญของแผนแม่บท เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนและประชาชน และ (2) ประเด็นการออกแบบแนวเส้นทาง โดยในการออกแบบมอเตอร์เวย์ควรมีถนนบริการและจุดกลับรถในพื้นที่ที่ผ่านชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวกสบายในการเข้า - ออกพื้นที่ ควรมีการออกแบบเป็นทางยกระดับในพื้นที่ที่ต้องผ่านชุมชนหรือพื้นที่ที่เป็นที่ราบลุ่มต่ำ และสิ่งสำคัญในการออกแบบ จะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อพื้นที่ระบายน้ำ/พื้นที่น้ำท่วม อีกทั้งขอให้พิจารณาการใช้เขตทางให้เหมาะสมทั้งมอเตอร์เวย์และทางรถไฟ
อย่างไรก็ตาม นายศักดิ์สยาม ได้มีข้อสั่งการเน้นย้ำการใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า ลดผลกระทบกับประชาชน และเส้นทางที่ออกแบบจะต้องสั้นและตัดตรง ซึ่งจะต้องพิจารณาการใช้โครงสร้างอุโมงค์และสะพานบกเพื่อทำให้เส้นทางมีความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย โดยพิจารณาผลกระทบด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้รอบด้าน โดยโครงการที่จะเป็นนำร่องที่จะต้องพิจารณาความพร้อมถึงในขั้นการออกแบบในระดับ Definitive Design เพื่อที่จะสามารถกำหนดกรอบวงเงินการลงทุน ที่ให้จะสามารถดำเนินการหาผู้รับจ้างเพื่อผลักดันโครงการให้เป็นรูปธรรมรวมถึงการทำการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ประกอบด้วย การสร้างความรับรู้ของประชาชน รวมถึงการทำ Roadshow ของโครงการทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยเฉพาะเส้นทาง MR8 (ชุมพร-ระนอง) เพื่อดึงดูดความสนใจของนักลงทุนต่อไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...