ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
คฟปย.รวมกลุ่ม ร้องรัฐทบทวนค่า Ft ใหม่
30 มี.ค. 2565

นายกิตติชัย ใสสะอาด ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สร.กฟภ.) เปิดเผยว่า ภายในเดือนมี.ค.นี้ ทางเครือไฟฟ้า ประปา และยา จะยื่นหนังสือ ต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้มีการทบทวนการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft)เนื่องจากจะเกิดผลกระทบโดยตรงต่อประชาชน และควรไปลดสัดส่วนอัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนลง


จึงได้รวมตัวของสหภาพแรงงานเป็นเครือข่ายไฟฟ้าประปาและยา เพื่อชาติประชาชน (คฟปย.) อันประกอบไปด้วยสหภาพแรงงานที่เป็นองค์กร ด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของชาติ ได้แก่1. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.)
2. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สร.กฟภ.)
3. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง (สภฟ.)
4. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการประปานครหลวง (สร.กปน.)
5. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการประปาส่วนภูมิภาค (สร.กปภ.)
6. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (สร.อภ.)
ทั้งนี้คฟปย. ได้มีการประชุมเสวนาถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลต่อภาวะการครองชีพ ของพี่น้องประชาชน การต่อสู้กับโรคโควิด 19 โดยรัฐบาลมีนโยบาย ปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) การปล่อยให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ ขายน้ำประปาในเขตภาคตะวันออก และการจัดหายา เวชภัณฑ์ ที่ใช้ในการรักษาโรคโควิด 19 อันจะทำให้พี่น้องประชาชนเดือดร้อนมากยิ่งขึ้น
นางสาวสุวัฒนา ชาลีงาม ตัวแทนจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) กล่าวว่า  จากต้นทุนค่าไฟฟ้าสูงขึ้น แต่มีการปรับค่าเอฟทียังไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ทำให้ กฟผ. ต้องแบกรับภาระตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อไม่ให้ประชาชนต้องจ่ายค่าไฟสูงขึ้นตามความเป็นจริงในสถานการณ์ปัจจุบัน  ทำให้ต้องกู้เงิน จำนวน 2 หมื่นล้านบาท เพื่อแก้รับภาระดังกล่าวจนเกิดปัญหาสภาพคล่อง นอกจากนี้ คาดว่าภายในปลายปีนี้ กฟผ. จะต้องกู้เงินเพิ่มอีกประมาณ 3 หมื่นล้านบาท เพื่อชดเชยสภาพคล่องและนำมาแบกรับภาระค่าไฟที่จะมีการปรับขึ้นในงวดต่อไป ซึ่งจะกลายเป็นการสร้างปัญหาการลงทุน การบริหารจัดการของ กฟผ. เป็นอย่างมาก
“เราเห็นว่า กกพ. ในฐานะหน่วยงานเรกูเรเตอร์ที่กำกับดูแลค่าไฟไม่แตะหน่วยงานที่ดูแลต้นทุนเชื้อเพลิง  หรือไม่แตะภาคเอกชนที่ผลิตไฟฟ้าเลย  ซึ่งจริงๆ แล้วจะต้องลงไปดูทั้งระบบ ทั้งภาคเอกชนที่มีสัดส่วนการผลิตปริมาณไฟฟ้าประมาณ 69% จะช่วยให้ค่าไฟถูกลงได้อย่างไร แต่กลายเป็นว่า กฟผ.  ที่มีการผลิตไฟฟ้าอยู่ประมาณ 31% ต้องกลับมาแบกรับภาระที่เกิดขึ้น รวมถึงรัฐบาลจะต้องมาดูความมั่นคงด้านพลังงานที่ภาครัฐควรจะมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าเกินกว่า 51% ด้วย”


ทั้งนี้ผลสรุปของการเสวนา ของ คฟปย. ที่ได้ขอเสนอต่อรัฐบาล ดังนี้1. รัฐบาลต้องทบทวนนโยบายการขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) โดยเฉพาะเอกชนผู้ผลิต ต้องมีส่วนร่วม และเพิ่ม
สัดส่วนการผลิตกระแสไฟฟ้า ของภาครัฐตามรัฐธรรมนูญ
2. รัฐบาลต้องคงไว้ซึ่งรัฐวิสาหกิจด้านสาธารณูปโภค รัฐจะต้องดูแลต้นทุนต่างๆ เช่น การเรียกเก็บ ค่าเช่าพื้นที่ใน
การวางท่อประธานหรือท่อจ่ายน้ า อย่างเช่น พื้นที่ของกรมทางหลวงและกรมธนารักษ์(วงเงินงบประมาณ 2 พันล้านบาท)
ในเขตพื้นที่ภูมิภาค ในเรื่องน้ าประปา ที่ปล่อยให้เอกชนเข้ามาดำเนินการในพื้นที่เศรษฐกิจ เช่น ภาคตะวันออก จังหวัดปทุมธานี รัฐบาลต้องใช้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการก ากับดูแล และกำหนดราคาที่เป็นธรรมต่อประชาชนผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
3 รัฐบาลต้องมีนโยบายสนับสนุนให้องค์การเภสัชกรรม ผลิตยา วัคซีนและเวชภัณฑ์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกมีคุณภาพและราคาถูก อย่างเพียงพอ
4 รัฐบาลต้องไม่ขายรัฐวิสาหกิจ อันเป็นสมบัติของชาติและต้องไม่ทำให้รัฐวิสาหกิจอ่อนแอ จนไม่สามารถดำเนินกิจการได้เพื่อคงไว้ซึ่งกิจการของรัฐที่ต้องมีไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน เพราะรัฐบาลต้องใช้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแล รับผิดชอบในขอบเขตที่เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบาย การพัฒนาและส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนความมั่นคงของประเทศ
"หลังจากที่มีการยื่นเรื่องไปแล้ว จะติดตามความคืบหน้าภายใน15วัน นับจากวันที่มีการส่งหนังสือให้ทางรัฐบาล ตามข้อเสนอไปดังกล่าวแล้ว หากไม่มีการตอบรับข้อเสนอใด ทางเครือขายทั้ง3การไฟฟ้าจะบุกเข้าทำเนียบ เพื่อทวงการทบทวนข้อเสนอทั้ง4ข้อต่อไป"

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...